ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อ

ผู้แต่ง

  • เทอดศักดิ์ เดชคง, พ.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • พาสนา คุณาธิวัฒน์, ศศ.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ธิดารัตน์ ทิพโชติ, ส.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • ภพธร วุฒิหาร, ว.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, ความเที่ยงตรง, แบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาค่าความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อ

วิธีการ : ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจแบบเร่งด่วนในพื้นที่เจาะจง พ.ศ. 2564 ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 3,060 คน ศึกษาคุณสมบัติของแบบประเมินพลังใจฉบับ 6 ข้อ เพื่อหาค่าอำนาจจำแนกซ้ำโดยการทดสอบสถิติ t-test ระหว่างกลุ่มคะแนนสูงและคะแนนต่ำ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน จากนั้นคัดเลือกข้อคำถาม 3 ข้อที่เป็นตัวแทนองค์ประกอบพลังใจ 3 ด้าน (พลังอึด พลังฮึด และพลังสู้) โดยพิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และค่าความสัมพันธ์ระหว่างรายข้อด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และทดสอบความสอดคล้องระหว่างแบบประเมินฉบับ 6 ข้อ และ 3 ข้อด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผล : แบบประเมินพลังใจฉบับ 6 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .873 - .918 พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มคะแนนสูงและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกข้อคำถาม โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อ .629 - .871 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .950 และรายองค์ประกอบ .915 - .931 การทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นพบว่า ข้อคำถามที่ 2, 3 และ 6 สามารถเป็นตัวแทนการถามในด้านพลังอึด พลังฮึด และพลังสู้ได้ตามลำดับ โดยทำให้แบบประเมินพลังใจฉบับ 3 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .910 ความสัมพันธ์ระหว่างข้อ .767 - .777 และสอดคล้องกับฉบับ 6 ข้อในทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าระหว่าง .960 - .966

สรุป : แบบประเมินพลังใจ ฉบับ 3 ข้อ มีค่าความเที่ยงและความเชื่อมั่นเหมาะสมในการประเมินพลังใจสำหรับประชากรทั่วไป และการคัดกรองเพื่อให้ความช่วยเหลือในการเสริมสร้างพลังใจเพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิต

หมายเหตุ :
1) ผู้แต่งมีการแจ้งแก้ไขส่วนผล ในหน้า 302 เนื่องจากคำอธิบายคลาดเคลื่อน (23-05-16)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตคนไทย [Dashboards mental health check in] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสุขภาพจิต; [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565]. จาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboards

สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต [RQ: resilience quotient]. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2563.

Grotberg HE. A guide to promo2ting resilience in children: strengthening the human spirit - early childhood development: practice & reflections number 8. The Hgne: Bernard van Leer Foundation; 1995.

Grotberg HE. Typing your inner strength: How to find the resilience to dial with anything. Oakland: New Harbinger Pubns Inc; 1995.

Grotberg HE. The international resilience project: findings from the research and the effectiveness of interventions [Internet]. Washington DC: Education Resources Information Center (ERIC); 1996 [cited 2022 Jul 10]. Available from: https://eric.ed.gov/?id=ED419584

Grotberg EH. I am, I have, I can: what families worldwide taught us about resilience. Reaching Today's Youth: The Community Circle of Caring Journal. 1998;2:36-9.

Wolin SJ, Wolin S. The resilient self: how survivors of troubled families rise above adversity. New York: Villard Books; 1993.

DeVellis RF. Scale development: theory and applications. 4th ed. Thousand Oaks: SAGE; 2017.

กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน [A guide to empowering teenagers]. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2563.

จรัล งามวิโรจน์เจริญ. ปรับวิธีสู่แนวความคิดแบบยืดหยุ่น [Resilience thinking] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ไทยพับลิก้า; 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564]. จาก: https://thaipublica.org/2020/04/data-driven-society43/.

วัฒนศักดิ์ วิบูลย์ชัยกุล. Resilience : สร้างความฮึ้บให้ทีมงานคุณเมื่อยามตกหลุมแห่งความล้มเหลว [Resilience: give your team a boost when they fall into failure] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: HR NOTE.asia; 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2564]. จาก: https://th.hrnote.asia/tips/resilience-team/.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือในการดูแลจิตใจในภาวะวิกฤต (ต่อเนื่อง) [A guide to mindful care in crisis (ongoing)]. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2550.

ประภาศรี ปัญญาวชิรชัย, ภวมัย กาญจนจิรางกูร. การศึกษาความเข้มแข็งทางใจ (Resilience Quotient) ของประชาชนไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [The study of Thai people resilience quotient during the Covid-19 outbreak]. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(1):318-33.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Guidelines for mental rehabilitation in the situation of the Coronavirus Disease 2019 outbreak]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กลุ่มระบาดวิทยาสุขภาพจิต สำนักวิชาการสุขภาพจิต. ผลการสำรวจการรับรู้และภาวะสุขภาพจิตบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนไทยจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การสำรวจครั้งที่ 3 [The results of the survey of perceptions and mental health status of public health personnel and Thai people from the outbreak of coronavirus disease 2019 (COVID-19), the 3rd survey]. เอกสารนำเสนอในการประชุม: ประชุมคณะที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต; 28 เม.ย. 2563; กรมสุขภาพจิต.

ประกายรัตน์ สุวรรณ, อมรวิทย์ วิเศษสงวน. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชัน 20 [Research and analysis with SPSS version 20]. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.

Tabachnick BG, Fidell LS. Using multivariate statistics. 4th ed. New York: Pearson; 2007.

Killgore WDS, Taylor EC, Cloonan SA, Dailey NS. Psychological resilience during the COVID-19 lockdown. Psychiatry Res. 2020;291:113216. doi:10.1016/j.psychres.2020.113216.

Pollard TM. Changes in mental well-being, blood pressure and total cholesterol levels during workplace reorganization: The impact of uncertainty. Work & stress. 2001;15(1):14-28. doi:10.1080/02678370110064609.

Mani A, Mullainathan S, Shafir E, Zhao J. Poverty impedes cognitive function. Science. 2013;341(6149):976-80. doi:10.1126/science.1238041.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, วรวรรณ จุฑา. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาและทดสอบ ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (version 2007) [Research report: the development and testing of Thai mental health indicator version 2007]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

Tabachnick BG, Fidell LS. Using multivariate statistics. 4th ed. New York: Pearson; 2007.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13 — Updated on 2023-05-16

Versions