การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาชุมชนบ้านดง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • วิรัตน์ ซอระสี, ส.ม. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต
  • อริสา หาญเตชะ, ส.ม. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต
  • อรทัย เจียมดำรัส, วท.บ. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต
  • สุรินทร อิวปา, สส.บ. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต
  • วงค์พรรณ์ มาลารัตน์, ศษ.ม. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

ชุมชน, ภูมิคุ้มกันทางใจ, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่ออธิบายปรากฏการณ์และปัจจัยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชนบ้านดง จังหวัดลำปาง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

วิธีการ : การวิจัยเชิงคุณภาพ ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสาธารณสุข ผู้ป่วยโรค COVID-19 ญาติ ผู้ถูกกักตัว ผู้อ่อนด้อย เปราะบางทางสังคม และบุคคลที่มีส่วนสำคัญในชุมชน จำนวน 60 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและแบบลูกโซ่ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง ข้อมูลถูกตรวจสอบด้วยวิธีแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผล : องค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อนมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชน ได้แก่ ผู้นำที่เข้มแข็ง การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการสื่อสารเชิงบวก องค์ประกอบเสริม ได้แก่ มาตรการระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ และองค์ประกอบสนับสนุน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงและผลกระทบของสถานการณ์โรค COVID-19 และคุณลักษณะของผู้ส่งสาร ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนเกิดความรู้สึกปลอดภัย สงบ มีความหวัง ให้โอกาสกัน และไม่ตีตรา

สรุป : การมีผู้นำที่เข้มแข็ง การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการสื่อสารเชิงบวกเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างภูมิคุ้มกันทางใจในชุมชน ซึ่งสามารถนำไปขยายผลในการสร้างภูมิคุ้มกันทางในพื้นที่อื่น ๆ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และสถานการณ์วิกฤตอื่น ๆ ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์. ความมั่นคงระหว่างประเทศภายหลังการระบาด [COVID-19 international security after the COVID-19 pandemic]. วารสารนาคบุตรปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2565;14(1):132-45.

Ma L, Huang Y, Liu T. Unequal impact of the COVID-19 pandemic on mental health: role of the neighborhood environment. Sustain Cities Soc. 2022;87:104162. doi:10.1016/j.scs.2022.104162.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 [COVID-19 situation report] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม: 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563]. จาก: https://COVID-19.ddc.moph.go.th/.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) [Combat 4th wave of COVID-19 : C4]. นนทบุรี: กรม; 2563.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 กรมสุขภาพจิต. รายงานการคัดกรองสุขภาพจิตในสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตสุขภาพที่ 1 [Mental health screening report in the situation of coronavirus disease 2019, 1st public health region]. เชียงใหม่: ศูนย์; 2563.

Inter-Agency Standing Committee (IASC). Basic psychosocial skills: a guide for COVID-19 responders. New York: IASC; 2020.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.). รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ประเทศไทย [Report on the situation of the epidemic of coronavirus disease 2019 in Thailand] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ศูนย์; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563]. จาก: https://www.moicovid.com/.

กรมสุขภาพจิต. แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) [Combat 4th Wave of COVID-19: C4]. กรุงเทพฯ: กรม; 2563.

กรมสุขภาพจิต. แนวทางการสร้างวัคซีนใจในชุมชน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 [Guidelines for creating a vaccine in the community under the epidemic situation of COVID-19]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดลำปาง [Situation report of coronavirus cases 2019 in Lampang]. ลำปาง: สำนักงาน; 2563.

Lestari R, Setyawan FEB. Mental health policy: protecting community mental health during the COVID-19 pandemic. J Public Health Res. 2021;10(2):2231. doi:10.4081/jphr.2021.2231.

วีรญา อังศุธรถาวริน, จอมเดช ตรีเมฆ. การศึกษาการลดความเสี่ยงและความสูญเสียในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ [A study of risk and loss reduction for on-duty officers in the three southern border provinces]. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 2561;11(2):121-32.

วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม, อุษณากร ทาวะรมย์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี [Factors contributing to community strength of village models for sufficiency economy, Koh Chan district, Chonburi province]. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. 2561;11(1):39-50.

ปัญญวัฒน์ จุฑามาศ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเข้มแข็งของชุมชนบ้านนาสะอุ้ง ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน [Factors affecting strength of Na Sa Ung community according to sustainable development goals]. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 2564;10(1):110-9.

Maiman LA, Becker MH. The health belief model: origins and correlates in psychological theory. Health Educ Monogr. 1974;2(4):336-53. doi:10.1177/109019817400200404.

Dizaji MB, Taghdisi MH, Solhi M, Hoseini SM, Shafieyan Z, Qorbani M, et al. Effects of educational intervention based on PRECEDE model on self care behaviors and control in patients with type 2 diabetes in 2012. J Diabetes Metab Disord. 2014;13:72. doi:10.1186/2251-6581-13-72.

กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, วรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี [Community participation in COVID-19 prevention at Nongsawan village, Chiangpin sub-district, Mueang district, Udonthani province]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2564;32(1):189-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18