การศึกษาต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมโดยการเก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
คำสำคัญ:
กลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม, ต้นทุน, ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์, ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์, ต้นทุนทางอ้อมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประมาณต้นทุนและสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมในมุมมองของสังคม
วิธีการ : การศึกษาเชิงพรรณนา ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สุ่มตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์ผู้ดูแล และเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัม อายุ 3 - 18 ปี เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้าเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2562 วิเคราะห์ต้นทุน 3 ด้าน ได้แก่ ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และต้นทุนทางอ้อมจากการไม่สามารถทำงานได้หรือการขาดงานของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบต้นทุนของผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ ด้วย independent t-test และ one-way ANOVA สำหรับข้อมูลต้นทุนที่มีการแจกแจงปกติ และ Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis test สำหรับข้อมูลต้นทุนที่มีการแจกแจงไม่ปกติ
ผล : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 คน มีต้นทุนรวมในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 313,624.1 บาทต่อคนต่อปี ต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงสุด ได้แก่ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ 245,374.8 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 78.2 ของต้นทุนทั้งหมด เพศชายและหญิงมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์และต้นทุนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคในกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมต่างกันมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมที่มีสัดส่วนสูงสุด ได้แก่ ต้นทุนทางตรงที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ และผู้ป่วยเพศชายมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์และต้นทุนรวมสูงกว่าผู้ป่วยเพศหญิง
Downloads
References
American psychiatric association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-V. Washington: American psychiatric association; 2013.
American psychiatric association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-IVTM. 4th ed. Washington: American psychiatric association; 1994.
Centers for disease control and prevention 2014. Autism spectrum disorder (ASD) prevalence [Internet]. Georgia: CDC [cited 2019 Sep 20]. Available from: http://www.cdc.gov/ncbddd/autism/data.html
ศรีวรรณา พูลสรรพสิทธิ์, เบญจพร ปัญญายง, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล, ประยุกต์ เสรีเสถียร, วรวรรณ จุฑา. การศึกษาภาวะออทิซึมในประเทศไทยและการดูแลรักษาแบบบูรณาการในระดับประเทศ [Holistic care for Thai autism]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2548;13(1):10-6.
Buescher AV, Cidav Z, Knapp M, Mandell DS. Costs of autism spectrum disorders in the United Kingdom and the United States. JAMA Pediatr. 2014;168(8):721-8. doi:10.1001/jamapediatrics.2014.210.
Rogge N, Janssen J. The economic costs of autism spectrum disorder: a literature review. J Autism Dev Disord. 2019;49:2873-900. doi:10.1007/s10803-019-04014-z.
Ganz ML. The lifetime distribution of the incremental societal costs of autism. Arch Pediatr Adolesc Med. 2007;161(4):343-9. doi:10.1001/archpedi.161.4.343.
นฤมล จุนสมุทร, ชลิดา ปัญญารัตน์, อลิษา ธัญบูรณ์ภินันท์. การวิเคราะห์ต้นทุนของกลุ่มอาการออทิซึมสเปกตรัมดิสออเดอร์ (เอเอสดี) : การศึกษานำร่อง ณ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ [Cost description of autism spectrum disorder (ASD) a pilot at Yuwaprasart Waithayopathum hospital] [สารนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2557.
World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems 10th revision (ICD-10) version for 2010 [Internet]. Geneva; 2010 [cited 2019 Sep 20]. Available from: http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2010/en#/F84.0
Rose S, Spinks N, Canhoto AI. Management research: applying the principles. 1st ed. London: George Routledge; 2015.
อารยา องค์เอี่ยม, พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย [Validation of the tests]. วิสัญญีสาร. 2561;44(1):36-42.
ฉัตรศิริ ปยะพิมลสิทธิ์, อุทัยวรรณ สายพัฒนะ. ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น [Validity and reliability] [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565]. จาก: http://www.watpon.in.th/Elearning/validity.pdf
สุมาลี สิงหนิยม. การกำหนดจำนวนตัวอย่าง [Determination of the number of samples]. ใน: ชีวสถิติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. เงินเฟ้อและกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ [Inflation and the inflation target framework] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564]. จาก: https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Pages/OverviewInflation.aspx
จุฑามาส วิโรจน์อนันต์, จตุรพร แสงกูล, พรพรต ลิ้มประเสริฐ. ออทิซึม [Autism]. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2549;24(4):325-32.
Horlin C, Falkmer M, Parsons R, Albrecht MA, Falkmer T. The cost of autism spectrum disorders. PLoS One. 2014;9(9):e106552. doi:10.1371/journal.pone.0106552.
The World Bank (IBRD). GDP per capita, PPP (current international $) [Internet]. Washington DC; [cited 2019 Apr 22]. Available from: http://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.PP.CD
กัลชนิกา ยศยิ่ง, จุฑามาศ สุธรรม, นงพรรณ มโนยศ, อัญชลี เพิ่มสุวรรณ. ค่าใช้จ่ายในการให้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [Medical service charges of childhood asthmatic patients admitted at Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital]. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2555;8(2):53-9.
Global Initiative for Asthma. Global strategy for asthma management and prevention, 2022 [Internet]. Wisconsin: Global Initiative for Asthma; [cited 2022 Aug 25]. Available from: https://ginasthma.org/.
Hyman SL, Levy SE, Myers SM, Council on children with disabilities, section on developmental and behavioral pediatrics. Identification, evaluation, and management of children with autism spectrum disorder. Pediatrics. 2020;145(1):e20193447. doi:10.1542/peds.2019-3447.
ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, อรทัย เขียวเจริญ, ธีรศักดิ์ วงศ์ใหญ่, ดนุภพ ศรศิลป์, อุดมศักดิ์ แสงวณิช. ต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2553 - 2554 [Hospital costing study in the hospitals under ministry of public health, 2010 - 2011]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2556;22(6):1061-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย