ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • กชามาส วิชัยดิษฐ, พ.บ. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อารยา ประเสริฐชัย, วท.ด. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์, ส.ด. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความยืดหยุ่นทางจิตใจ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรทางการแพทย์, ภาวะหมดไฟในการทำงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

วิธีการ : การสำรวจภาคตัดขวางในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดชุมพร จำนวน 335 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินความยืดหยุ่นทางจิตใจ แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน และแบบสอบถามภาวะหมดไฟในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา, simple logistic regression และ multiple logistic regression

ผล : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 85.4 อายุเฉลี่ย 37.7 ปี มีภาวะหมดไฟในการทำงานร้อยละ 12.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟได้แก่ อายุ ชั่วโมงการทำงาน ความยืดหยุ่นทางจิตใจ คุณภาพชีวิตการทำงานด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสในการพัฒนาและการใช้ความสามารถของบุคคล และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว โดยผู้ที่ทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 4.4 เท่า (95% CI = 2.21 - 8.79) เมื่อเทียบกับผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านกำลังใจต่ำกว่าเกณฑ์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 3.1 เท่า (95% CI = 1.12 - 8.64) และผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจด้านการจัดการกับปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟเพิ่มขึ้น 2.9 เท่า (95% CI = 1.06 - 8.13)

สรุป : บุคลากรทางการแพทย์ควรได้รับการจัดสรรชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจ และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานควรได้รับการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถทำงานและเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ [People excellence strategy]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขประจำปี 2562 [Report on public health resource on 2019]. นนทบุรี: กอง; 2563.

World Health Organization. Burn-out an “occupational phenomenon”: international Classification of Diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2019 [cited 2021 Mar 18]. Available from: https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/.

รัชนีบูล เศรษฐภูมิรินทร์. ความเครียดและความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลเผชิญในการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วย [Stress and resilience of nursing student experience in training nursing clinical practice]. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 2555;2(1):40-5.

กมลพร วรรณฤทธิ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน [Burnout syndrome] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564]. จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1385

Walton RE. Quality of working life: what is it? Slone Management Review. 1973;15:11-21.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี [RQ: resilience quotient]. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด; 2563.

นันทาวดี วรวสุวัส. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 [Development model of enhancing psychological immunity for operation burnout of public health officials, 7th health region]. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):603-13.

ปิยะวดี สุมาลัย. ภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร [The register nurses’ burnout in Bamrasnaradura infectious disease institute]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(2):66-78.

บุญธิดา เทือกสุบรรณ, เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช [Factors influencing burnout among professional nurses in Maharajnakornsrithammarat hospital]. วารสารสภาการพยาบาล. 2551;23(4):114-24.

นฤมล กิจจานนท์, อัจฉรา จงเจริญกำโชค, พรพิมล มาศนรากรณ์. ความเหนื่อยหน่ายของบุคลากรพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ [Burnout among staff nurses working in intensive care units]. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2552;15(1):86-97.

สสิพรรธน์ นิลสงวนเดชะ, ณภัควรรต บัวทอง. ภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงานและกลวิธีในการเผชิญปัญหาของพนักงานองค์การเภสัชกรรม [Burnout and problem coping strategies among employees of government pharmaceutical organization]. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2559;60(5):545-59.

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, วัลลภา สำราญเวทย์, เกยูรมาศ อยู่ถิ่น. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาลสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา [Factors related to burnout among nurses in Somdet Chaopraya institute of psychiatry]. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2558;9(2):9-23.

วาริชาฏ ศิวกาญจน์, บุรินทร์ ต.ศรีวงษ์. ความเหนื่อยล้าในการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [Burnout in hospital pharmacists, office of the permanent secretary of the ministry of public health]. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2554;2(2):331-41.

Maslach C, Jackson S. The Measurement of experienced burnout. J Organ Behav. 1981;2(2):99-113. doi:10.1002/job.4030020205.

บุญเอื้อ โจว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล [Factors affecting nurses’ work burnout :a case study of Bangkok metropolitan authority’s medical college hospital and Vajira hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2553.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาล และองค์การในโรงพยาบาลทั่วไป [The relationship between nurses’ extended work hours and patient, nurse, and organizational outcomes in general hospital]. พยาบาลสาร. 2557;41(4):58-69.

นครินทร์ ชุนงาม. สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา [Mental health and burnout among physicians in general hospital and community hospital in Nakhon Ratchasima province]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(4):348-59.

เจนจิรา เกียรติธนะบำรุง. ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และข้อเรียกร้องจากงานที่พยากรณ์ภาวะหมดไฟในการทำงานของสัตวแพทย์ [Resilience and job demand predict burnout in veterinarians] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2560.

พรพิมล พงษ์โหมด. คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในงานและความตั้งใจลาออกของพยาบาล แผนกวิกฤตโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง [Quality of work life, lob burnout, and intention to leave of critical care nurses at a government hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

Saygılı M, Avcı K, Sönmez S. Quality of work life and burnout in healthcare workers in Turkey. J Health Manag. 2020;22(3):317-29. doi:10.1177/0972063420938562.

Bakhshi E, Gharagozlou F, Moradi A, Naderi MR. Quality of work life and its association with burnout and job performance among Iranian healthcare employees in Islamabad-e Gharb. Journal of occupational health and epidemiology. 2019;8(2):94-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-03