ความสอดคล้องและความเที่ยงของแบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน ฉบับภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • เนตรนภิศ กองอุดมการ, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สิรินัดดา ปัญญาภาส, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรจิรา ปริวัชรากุล, พ.บ. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ข่มขืน, คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา, มายาคติ, มายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อแปลและทดสอบคุณสมบัติของแบบสอบถามวัดการยอมรับมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืนฉบับภาษาไทยและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืน

วิธีการ : แบบสอบถามวัดการยอมรับมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืนอิลลินอยส์ ปี 1999 (Illinois rape myth acceptance scale) เป็นมาตรวัดรายงานตนเอง 7 ระดับ จำนวน 40 ข้อ แบ่งเป็น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้หญิงเป็นฝ่ายเรียกร้องเอง มันไม่ใช่การข่มขืน ผู้ชายไม่ได้ตั้งใจที่จะข่มขืน ผู้หญิงต้องการถูกข่มขืน ผู้หญิงเป็นฝ่ายโกหก การข่มขืนเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย และการข่มขืนเป็นเรื่องแปลก ได้รับการขออนุญาตและแปลเป็นภาษาไทย วัดความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีหาค่า index of item-  objective congruence (IOC) หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยครอนบาคแอลฟา (Cronbach’s alpha) จากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปที่ตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 514 คน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, Mann-Whitney U test และ Kruskal-Wallis test

ผล : แบบสอบถามฉบับภาษาไทย มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 - 1.0 ค่า Cronbach’s alpha ของแบบสอบถามทั้งฉบับและรายด้านมีค่า .937 และ .545 - .897 ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ได้แก่ เพศชาย อายุมาก การศึกษาไม่เกิน 12 ปี รายได้ไม่เกิน 35,000 บาท/เดือน และไม่มีประวัติความรุนแรงทางด้านจิตใจในครอบครัว/การดื่มแอลกอฮอล์/การใช้สื่อลามก/การถูกข่มขืน

สรุป : แบบวัดมายาคติเกี่ยวกับการข่มขืนฉบับภาษาไทยมีค่าความตรงและค่าความเที่ยงอยู่ในระดับดี ยกเว้นองค์ประกอบย่อย 1 ด้าน ดังนั้นควรมีการทดสอบคุณสมบัติอื่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization (WHO), the United Nations Inter-Agency Working Group on Violence Against Women Estimation and Data. Violence against women prevalence estimates, 2018: global, regional and national prevalence estimates for intimate partner violence against women and global and regional prevalence estimates for non-partner sexual violence against women [Internet]. Switzerland: World Health Organization; 2021 [cited 2022 Jun 11]. Available from: http://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/1347689/retrieve

United Nations Population Fund (UNFPA). Measuring prevalence of violence against women in Asia-Pacific [Internet]. Bangkok: United Nations Population Fund; 2021 [cited 2022 Jun 11]. Available from: http://asiapacific.unfpa.org/kNOwVAWdata

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. เปิดสถิติหญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ-กระทำรุนแรง มากกว่า 7 คน/วัน [Open statistics of Thai women being sexually harassed - violent acts more than 7 people/day] [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: [ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2565; สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2565]. จาก http://www.tcijthai.com/news/2022/3/current/12248

Andra TT, Sarah D, Linda AV, Kathryn AB, Greta MM, Jennifer LM. A Systematic qualitative review of risk and protective factors for sexual violence perpetration. Trauma Violence Abuse. 2013;14(2):133-67. doi:10.1177/1524838012470031.

Hall GCN. Prediction of sexual aggression. Clinical Pathology Review. 1990;10(2):229-45. doi:10.1016/0272-7358(90)90059-J.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์. คิดยกกำลัง 2 : มายาคติต่อผู้หญิง สมยอม ข่มขืน [multiply*: mythology to women, consent and rape] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ไทยพีบีเอส; 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2565]. จาก: https://youtu.be/qG6DDZaqqT4

Center of Awareness, Response, and Education (CARE). Rape myths [Internet]. Richmond: University of Richmond; c2020 [cited 2022 Mar 20]. Available from: https://prevent.richmond.edu/prevention/education/rape-myths.html

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. ชุดมายาคติผิดๆ เรื่อง ข่มขืน [False myths about rape] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2565]. จาก: http://www.wmp.or.th/content/28446/ชุดมายาคติผิด-ๆ-เรื่อง-ข่มขืน

นพพร ประชากุล. โรล็องด์ บาร์ตส์กับสัญศาสตร์วรรณกรรม. ใน: วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, ผู้แปล. มายาคติ [Mythologies]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ; 2547.

Lonsway KA, Fitzgerald LF. Rape myths: in review. Psychol Women Q. 1994;18(2):133-64. doi:10.1111/j.1471-6402.1994.tb00448.x.

Bhogal MS, Cotbet S. The influence of aggressiveness on rape-myth acceptance among university students. Psychiatr Psychol Law. 2016;23(5):709-15. doi:10.1080/13218719.2016.1142931.

นพวรรณ ปรากฏวงศ์. ทัศนะของนักศึกษาต่อการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา [Opinion of students about sexual harassment in academy] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วันทนีย์ วาสิกะสิน. ปัญหาพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์กับงานสังคมสงเคราะห์ [The problem of human sexual behavior and social work]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2526. น. 4-8.

ศยา วังศิริไพศาล. ความคิดเห็นของนักศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่าง ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการสมรสและการวางแผนชีวิตครอบครัว [Opinions of polytechnics students in Bangkok metropolitan towards marriage and family formation] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

สุชีลา ตันชัยนนท์. สถานการณ์โรคเอดส์: ความหมายของเพศธรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป [The AIDS situation: the changing meaning of gender]. ในเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาทฤษฎีเฟมินิสต์และทฤษฎีเพศ. นครปฐม: ภาควิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

วรรณนะ หนูหมื่น. นัยการข่มขืนในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทย: วิพากษ์ผลการศึกษาด้วยวิธีวิทยาแบบโครงสร้าง [The implications of rapes in Thai television drama and movies: a critic by structural methodology]. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 2556;14(2):87-95.

Payne DL, Lonsway KA, Fitzgerald LF. Rape myth acceptance: exploration of its structure and its measurement using the Illinois rape myth acceptance scale. J Res Pers. 1999;33(1):27-68. doi:10.1006/jrpe.1998.2238.

Xue J, Fang G, Huang H, Cui N, Rhodes KV, Gelles R. Rape myths and the cross-cultural adaptation of the Illinois rape myth acceptance scale in China. J Interpers Violence. 2019;34(7):1428-60. doi:10.1177/0886260516651315.

Oh E, Neville H. Development and validation of the Korean rape myth acceptance scale. Couns Psychol. 2004;32(2):301-31 doi:10.1177/0011000003261351.

McMahon S, Farmer GL. An updated measure for assessing subtle rape myths. Social Work Research. 2011;35(2):71-81. doi:10.1093/swr/35.2.71.

Pipatshukiat S. Blame attribution styles and rape myth acceptance in male child and adult sex offenders. Thammasat review. 2020;23(1):117-37. doi:10.14456/tureview.2020.6.

Mohamad AB, Evi DO, Nur AB. A review on sample size determination for Cronbach’s alpha test: a simple guide for researchers. Malays J Med Sci. 2018;25(6):85-99 doi:10.21315/mjms2018.25.6.9.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. ปิตาธิปไตย: ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงในสังคมเอเชีย [Patriarchy : the reflection of the inequality between male and female in Asian society]. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2555;4(2):30-46.

Ravinder B, Rachael AP. Rape myth acceptance in contemporary times: a comparative study of university students in India and the United Kingdom. J Interpers Violence. 2021;36(7-8):3514-35. doi:10.1177/0886260518775750.

Fulu E, Warner X, Miedema S, Jewkes R, Roselli T, Lang J. Why do some men use violence against woman and how can we prevent it? Quantitative findings from the United Nations multi-country study on men and violence in Asia and the Pacific [Internet]. Bangkok: UNDP, UNFPA, UN Woman and UNV; 2013 [cited 2022 Mar 20]. Available from: http://www.partners4prevention.org/sites/default/files/resources/p4p-report.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-03