ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
บุคลากรสาธารณสุข, ภาวะหมดไฟ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะหมดไฟในบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
วิธีการ : การศึกษาเชิงพรรณนา ใช้ข้อมูลสำรวจการรับรู้และภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนไทยจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขอายุ 18 ปีขึ้นไปจากการสุ่มหลายขั้นตอน ใช้แบบประเมินภาวะหมดไฟออนไลน์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับภาวะหมดไฟด้วยสถิติ chi-square และ binary logistic regression นำเสนอเป็นค่า odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผล : ความชุกภาวะหมดไฟสูงสุดช่วงวันที่ 12 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2563 ทั้งด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ด้านความรู้สึกความสามารถตนเองลดลง และด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงานในทางลบ (ร้อยละ 11.4, 7.6 และ 8.4 ตามลำดับ) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านความรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ได้แก่ อายุ 25 - 40 ปี อาศัยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยมีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ มีหน้าที่รักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 มีโรคประจำตัว และไม่มีหรือมีความเชื่อมั่นน้อยในมาตรการควบคุมการระบาดของโรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านความรู้สึกความสามารถตนเองลดลง ได้แก่ อายุ 18 - 40 ปี อาศัยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยมีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ มีหน้าที่รักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 มีโรคประจำตัว และไม่มีหรือมีความเชื่อมั่นน้อยในมาตรการควบคุมการระบาดของโรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านความสัมพันธ์ในที่ทำงานในทางลบ ได้แก่ มีโรคประจำตัว และไม่มีหรือมีความเชื่อมั่นน้อยในมาตรการควบคุมการระบาดของโรค
สรุป : บุคลากรสาธารณสุขควรได้รับการเฝ้าระวังภาวะหมดไฟและการสนับสนุนจากผู้ร่วมงานและผู้บริหารเพื่อป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจิต
Downloads
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 [Coronavirus 2019 disease situation] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/intro.php
World Health Organization. Coronavirus disease 2019 [internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [cited 2022 Jan 24]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019
วชิระ เพ็งจันทร์, ปริตตา หวังเกียรติ. 4 wave ระบบสาธารณสุขไทยกับผลกระทบระยะยาวจากโควิด 19 [4 wave: Thai public health system and the long-term impact of COVID-19] [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักข่าว Hfocus; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2565]. จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. แผนฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Combat 4th wave of COVID-19 plan: C4]. นนทบุรี: กอง; 2563.
Maslach C, Jackson SE. The measurement of experienced burnout. J Organ Behav. 1981;2(2):99-113. doi:10.1002/job.4030020205.
World Health Organization. Burn-out an “Occupational phenomenon”: international classification of diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2019 [cited 2019 Nov 11]. Available from: https://www.who.int/mental_health/ evidence/burn-out/en/.
ศรีสกุล เฉียบแหลม, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ภาวะหมดไฟในการทำงาน [Burnout syndrome]. วารสารแพทยสารทหารอากาศ. 2562;65(2);44-52.
Schaufeli W, Enzmann D. The burnout companion to study and practice: a critical analysis. London: CRC press; 1998.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สารานุกรมจิตวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา [Encyclopedia of psychology: royal Thai council edition]. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา; 2561.
นครินทร์ ชุนงาม. สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา [Mental health and burnout among physicians in general hospital and community hospital in Nakhon Ratchasima province]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(4):348-59.
ปิยะวดี สุมาลัย. ภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันบำราศนราดูร [The register nurses’ burnout in Bamrasnaradura infectious disease institute]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4(2):66-78.
พัชราภรณ์ สิณัตพัฒนะศุข, ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ [Risk factors of job burnout among personnel of Sanpatong hospital, Chiangmai province]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565;31(1):154-63.
ศรัณย์ ศรีคำ. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [Job burnout and related factors among residents of King Chulalongkorn Memorial hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Cheung FY, Tang CS. Effects of age, gender, and emotional labor strategies on job outcomes: moderated mediation analyses. Appl Psychol Health Well Being. 2010;2(3):323-39. doi:10.1111/j.1758-0854.2010.01037.x.
Dahling JJ, Perez LA. Older worker, different actor? Linking age and emotional labor strategies. Pers Individ Dif. 2010;48(5):574-8. doi:1016/j.paid.2009.12.009.
ดุษฏี อุดมอิทธิพงศ์, กฤตนัย แก้วยศ, เกยูรมาศ อยู่ถิ่น. ความเหนื่อยล้าในการทำงานของพยาบาล [Burnout syndrome among nurses]. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2557;8(2):40-53.
สิระยา สัมมาวาจ. ความเหนื่อยหน่าย (Burnout) ของผู้บริหารระดับต้นทางการพยาบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรามาธิบดี [Burnout of first-level nursing executives: a case study of head nurses in Ramathibodi hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2534.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย