การสำรวจระดับชาติเพื่อศึกษาระดับความสุขคนไทยรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์, ปร.ด. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต
  • พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, พ.บ. ข้าราชการบำนาญ กรมสุขภาพจิต
  • อธิบ ตันอารีย์, ปร.ด. โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต
  • บังอร สุปรีดา, วท.ม. แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การสำรวจ, ความสุข, นโยบาย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานดัชนีความสุขของประชากรไทยในระดับจังหวัดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกับความสุขในระดับจังหวัด

วิธีการ : การวิจัยเชิงสำรวจประชากรภาคตัดขวาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บข้อมูลตั้งแต่ 27 เมษายน - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จากครัวเรือนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้น (stratified two-stage sampling) จำนวน 69,792 ครัวเรือนทั่วประเทศ ด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างตามแบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุข (สุขภาพจิต) คนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลแบบถ่วงน้ำหนักด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย นำเสนอข้อมูลเป็นรายจังหวัด

ผล : คะแนนความสุขเฉลี่ยของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 31.32 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน) แบ่งเป็น  กลุ่มที่มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 61.3 กลุ่มที่มีความสุขสูงกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 20.1 และกลุ่มที่มีความสุขต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 18.6 โดยจัดกลุ่มจังหวัดตามรายได้ต่อครัวเรือนและความสุขเฉลี่ย ดังนี้ 1) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนและมีความสุขสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 6 จังหวัด 2) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำแต่มีความสุขสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 39 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุดอันดับที่ 1 และ 2 คือบุรีรัมย์และพังงาจัดอยู่ในกลุ่มนี้ 3) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงแต่มีความสุขต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 11 จังหวัด รวมถึงสมุทรปราการที่เป็นจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด และ 4) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนและมีความสุขต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 21 จังหวัด

สรุป : คนไทยร้อยละ 81.4  มีความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับหรือสูงกว่าคนทั่วไป ความสุขของคนไทยเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และองค์ประกอบด้านจิตใจที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Delle Fave A, Brdar I, Wissing MP, Araujo U, Castro Solano A, Freire T, at ed. Lay definitions of happiness across nations: the primacy of inner harmony and relational connectedness. Front Psychol. 2016;7:30. doi:10.3389/fpsyg.2016.00030.

Oishi S, Graham J, Kesebir S, Galinha IC. Concepts of happiness across time and cultures. Pers Soc Psychol Bull. 2013;39(5):559-77. doi:10.1177/0146167213480042.

Steptoe A. Happiness and health. Annu Rev Public Health. 2019;40:339-59. doi:10.1146/annurev-publhealth-040218-044150.

Lyubomirsky S, Lepper HS. A measure of subjective happiness: preliminary reliability and construct validation. Soc Indic Res. 1999;46(2):137-55. doi:10.1023/A:1006824100041.

Helliwell JF, Layard R, Sachs J, De Neve JE. World happiness report 2020. New York: Sustainable development solutions network; 2020.

Helliwell JF, Layard R, Sachs J, De Neve JE, Aknin L, Wang S , et al. World happiness report 2021. New York: Sustainable development solutions network; 2021.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย [The study to develop Thai mental health indicator]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(3):209-25.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย [Happiness and mental health in the context of the Thai society]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(3):227-32.

ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, เอกอนงค์ สีตลาภินันท์. คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด [Happiness manual at provincial level]. นนทบุรี: แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต; 2554.

สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558 [Thai mental health (happiness) survey 2015]. กรุงเทพฯ: สำนัก; 2559.

พันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, อธิบ ตันอารีย์, บังอร สุปรีดา. แนวโน้มและปัจจัยทีมีผลต่อระดับสุขภาพจิตคนไทย: การสำรวจระดับชาติ ปี พ.ศ. 2561 [Trend and associated factors of mental health in Thailand: a national survey 2018]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(2):121-35.

United Nations. Happiness: towards a holistic approach to development: resolution / adopted by the General Assembly on 19 July 2011 [Internet]. New York: UN; 2011 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://undocs.org/en/A/RES/65/309

Karma U, Alkire S, Zangmo T, Wangdi D. A short guide to gross national happiness index [Internet]. Thimpu: The Centre for Bhutan Studies; 2012 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://opendocs.ids.ac.uk/opendocs/handle/20.500.12413/11807

White MD. The problems with measuring and using happiness for policy purposes [Internet]. Arlington, VA: Mercatus Research; 2014 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://www.mercatus.org/publications/regulation/problems-measuring-and-using-happiness-policy-purposes

United Nations. Happiness: towards a holistic approach to development: note / by the Secretary-General [Internet]. New York: UN; 2013 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://digitallibrary.un.org/record/743697

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-07