การสำรวจระดับชาติเพื่อศึกษาระดับความสุขคนไทยรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2561
คำสำคัญ:
การสำรวจ, ความสุข, นโยบาย, สุขภาพจิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานดัชนีความสุขของประชากรไทยในระดับจังหวัดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมกับความสุขในระดับจังหวัด
วิธีการ : การวิจัยเชิงสำรวจประชากรภาคตัดขวาง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2561 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เก็บข้อมูลตั้งแต่ 27 เมษายน - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จากครัวเรือนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้น (stratified two-stage sampling) จำนวน 69,792 ครัวเรือนทั่วประเทศ ด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างตามแบบสอบถามดัชนีชี้วัดความสุข (สุขภาพจิต) คนไทย ฉบับสั้น 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลแบบถ่วงน้ำหนักด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย นำเสนอข้อมูลเป็นรายจังหวัด
ผล : คะแนนความสุขเฉลี่ยของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 31.32 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน) แบ่งเป็น กลุ่มที่มีความสุขเท่ากับคนทั่วไป ร้อยละ 61.3 กลุ่มที่มีความสุขสูงกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 20.1 และกลุ่มที่มีความสุขต่ำกว่าคนทั่วไป ร้อยละ 18.6 โดยจัดกลุ่มจังหวัดตามรายได้ต่อครัวเรือนและความสุขเฉลี่ย ดังนี้ 1) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนและมีความสุขสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 6 จังหวัด 2) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำแต่มีความสุขสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 39 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุดอันดับที่ 1 และ 2 คือบุรีรัมย์และพังงาจัดอยู่ในกลุ่มนี้ 3) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนสูงแต่มีความสุขต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 11 จังหวัด รวมถึงสมุทรปราการที่เป็นจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด และ 4) จังหวัดที่มีรายได้ต่อครัวเรือนและมีความสุขต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศมี 21 จังหวัด
สรุป : คนไทยร้อยละ 81.4 มีความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับหรือสูงกว่าคนทั่วไป ความสุขของคนไทยเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และองค์ประกอบด้านจิตใจที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
Downloads
References
Delle Fave A, Brdar I, Wissing MP, Araujo U, Castro Solano A, Freire T, at ed. Lay definitions of happiness across nations: the primacy of inner harmony and relational connectedness. Front Psychol. 2016;7:30. doi:10.3389/fpsyg.2016.00030.
Oishi S, Graham J, Kesebir S, Galinha IC. Concepts of happiness across time and cultures. Pers Soc Psychol Bull. 2013;39(5):559-77. doi:10.1177/0146167213480042.
Steptoe A. Happiness and health. Annu Rev Public Health. 2019;40:339-59. doi:10.1146/annurev-publhealth-040218-044150.
Lyubomirsky S, Lepper HS. A measure of subjective happiness: preliminary reliability and construct validation. Soc Indic Res. 1999;46(2):137-55. doi:10.1023/A:1006824100041.
Helliwell JF, Layard R, Sachs J, De Neve JE. World happiness report 2020. New York: Sustainable development solutions network; 2020.
Helliwell JF, Layard R, Sachs J, De Neve JE, Aknin L, Wang S , et al. World happiness report 2021. New York: Sustainable development solutions network; 2021.
อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย [The study to develop Thai mental health indicator]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(3):209-25.
อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. ความสุขและสุขภาพจิตในบริบทสังคมไทย [Happiness and mental health in the context of the Thai society]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(3):227-32.
ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, เอกอนงค์ สีตลาภินันท์. คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด [Happiness manual at provincial level]. นนทบุรี: แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต; 2554.
สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2558 [Thai mental health (happiness) survey 2015]. กรุงเทพฯ: สำนัก; 2559.
พันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, อธิบ ตันอารีย์, บังอร สุปรีดา. แนวโน้มและปัจจัยทีมีผลต่อระดับสุขภาพจิตคนไทย: การสำรวจระดับชาติ ปี พ.ศ. 2561 [Trend and associated factors of mental health in Thailand: a national survey 2018]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(2):121-35.
United Nations. Happiness: towards a holistic approach to development: resolution / adopted by the General Assembly on 19 July 2011 [Internet]. New York: UN; 2011 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://undocs.org/en/A/RES/65/309
Karma U, Alkire S, Zangmo T, Wangdi D. A short guide to gross national happiness index [Internet]. Thimpu: The Centre for Bhutan Studies; 2012 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://opendocs.ids.ac.uk/opendocs/handle/20.500.12413/11807
White MD. The problems with measuring and using happiness for policy purposes [Internet]. Arlington, VA: Mercatus Research; 2014 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://www.mercatus.org/publications/regulation/problems-measuring-and-using-happiness-policy-purposes
United Nations. Happiness: towards a holistic approach to development: note / by the Secretary-General [Internet]. New York: UN; 2013 [cited 2021 Oct 31]. Available from: https://digitallibrary.un.org/record/743697
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย