ปัจจัยทำนายการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนในภาคกลางของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์, นักเรียน, ประเทศไทยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนในภาคกลางของประเทศไทย
วิธีการ : เป็นการศึกษาภาคตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 418 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ด้วยแบบสอบถามด้วยตนเองออนไลน์ ประกอบด้วย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมก้าวร้าว สัมพันธภาพ ความภาคภูมิใจ และการการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี
ผล : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย เพศหญิง และเพศทางเลือก ร้อยละ 31.1, 51.9 และ 17.0 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 14.9 ปี มีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งผู้อื่นและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ร้อยละ 51.2 และ 71.8 ตามลำดับ พบความชุกในเพศทางเลือกมากที่สุด ร้อยละ 57.7 และ 80.3 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมการกลั่นแกล้งผู้อื่นทางไซเบอร์ ได้แก่ ระยะเวลาที่เข้าถึงไซเบอร์มากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน สัมพันธภาพในครอบครัวระดับน้อยและระดับปานกลาง และภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง ปัจจัยทำนายการถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ ได้แก่ ภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยและระดับปานกลาง
สรุป : แนวทางเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งและถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ของนักเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน ครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว และการดูแลภาวะซึมเศร้าของนักเรียน
Downloads
References
Kemp S. Digital 2020: Thailand [Internet]. Bangkok: Datareportal; 2020 [cited 2021 Sep 25]. Available from: https://datareportal.com/reports/digital-2020-thailand
เมธินี สุวรรณกิจ. มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์ [Legal measures to project child and juvenile from cyber-bullying]. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2560;10(2):49-70.
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. Stop Cyberbullying หยุด! ระรานทางไซเบอร์ [Stop cyber bullying] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กองทุน; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564]. จาก: https://www.thaimediafund.or.th/2021/03/.
A federal government website managed by the U.S. Department of Health and Human Services. What is bullying [Internet]. Washington: 200 Independence Avenue; 2021 [cited 2021 Dec 18]. Available from: https://www.stopbullying.gov/bullying/what-is-bullying
United nations international children’s emergency fund (UNICEF). Cyberbullying: what is it and how to stop it [Internet]. Geneva: UNICEF; 2019 [cited 2021 Sep 25]. Available from: https://www.unicef.org/end-violence/how-to-stop-cyberbullying
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กลั่นแกล้งแบบไหนเป็น Cyberbullying [what kind of bullying is cyberbullying] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564]. จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30035
อมรทิพย์ อมราภิบาล. เหยื่อการรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในกลุ่มเยาวชน: ปัจจัยเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและการปรึกษาบุคคลที่สาม [Cyber-bullying victimization among youths: risk factors, mental health impacts and reporting to the third person]. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 2559;14(1):59-73.
ชัชฎาภรณ์ พรมนอก, สุพร อภินันทเวช, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์. การศึกษาเชิงคุณภาพเรื่องพฤติกรรมการข่มเหงรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร [Cyberbullying behavior in 4th to 6th grade students at a Bangkok municipal school]. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2562;33(1):20-39.
Ak Ş, Özdemir Y, Kuzucu Y. Cybervictimization and cyberbullying: the mediating role of anger, don’t anger me. Comput Hum Behav Rep. 2015;49:437-43. doi:10.1016/j.chb.2015.03.030.
Brewer G, Kerslake J. Cyberbullying, self-esteem, empathy and loneliness. Comput Hum Behav Rep. 2015;48:255-60. doi:10.1016/j.chb.2015.01.073.
Patchin JW, Hinduja S. Cyberbullying and self-esteem. J Sch Health. 2010;80(12):614-21. doi:10.1111/j.1746-1561.2010.00548.x.
ฉันทนา ปาแดถา, นภาพร ภู่เพ็ชร์. การสังเคราะห์สาเหตุผลกระทบการป้องกันและการแก้ไขปัญหา การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ในกลุ่มวัยรุ่นไทย [Synthesis of causes, consequences, preventions and problem solving of cyber bullying among Thai adolescents]. เอกสารประกอบการประชุม: การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโลโลยีราชมงคล ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562; 24 ก.ค. 2562; เชียงใหม่.
เชาวลิต ศรีเสริม, ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์. การเห็นคุณค่าในตนเอง ทัศนคติต่อพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ และพฤติกรรมรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [Self-esteem, attitude towards cyberbullying, and cyberbullying among high school students]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2564;35(1):112-27.
Rose CA, Slaten CD, Preast JL. Bully perpetration and self-esteem: examining the relation over time. Behavioural Disorders. 2017;42(4):159-69. doi:10.1177/0198742917715733.
Nhung LNA, Basuki A, Mahfud T, Saputro IN. Cyber-bullying among adolescent at school: a literature review. International Journal of Psychosocial Rehabilitation. 2020;24(7):9700-12. doi:10.37200/IJPR/V24I7/PR270973.
สุภาวดี เจริญวานิช. การรังแกกันผ่านพื้นที่ไซเบอร์ : ผลกระทบและการป้องกันในวัยรุ่น [Cyber bullying: impacts and preventions in adolescents]. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560;25(4):639-48.
Sittichai R, Smith PK. Bullying and cyberbullying in Thailand: coping strategies and relation to age, gender, religion and victim status. Journal of New Approaches in Educational Research. 2018;7(1):24-30. doi:10.7821/naer.2018.1.254.
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รัตนศักดิ์ สันธิธาดากุล. แบบประเมินสภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Thai version of the patient health questionnaire for adolescent: PHQ-A) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์; 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564]. จาก: https://necam.go.th/wp-content/uploads/2020/08/14.-ซึมเศร้า-PHQ-A.pdf
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5 กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน (SDQ) [The strengths and difficulties questionnaires] [อินเทอร์เน็ต]. ราชบุรี: ศูนย์; 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2564]. จาก: http://www.appcenter.mhc5.net/sdq/.
Wongpakaran T, Wongpakaran N. A comparison of reliability and construct validity between the original and revised versions of the rosenberg self-esteem scale. Psychiatry Investig. 2012;9(1):54-8. doi:10.4306/pi.2012.9.1.54.
กฤติศักดิ์ อนุโรจน์, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร. การศึกษาความเที่ยงและความตรงของแบบสอบถาม cyber-agression perpetration and victimixation scale ฉบับบภาษาไทย [Validity and reliability of cyber-aggression perpetration and victimization scale: Thai version]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2562;64(1):45-60.
วัฒนาวดี ศรีวัฒนพงศ์, พิมผกา ธานินพงศ์. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการรังแกของนักเรียนในโรงเรียนเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ [Electronic and internet media effect to (cyber) bullying behavior of students in school, Muang district, Chiang Mai province]. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 2558;1(2):128-44.
วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรงกุล. การกลั่นแกล้งกันในพื้นที่ไซเบอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ความชุก วิธีการ จัดการปัญหา และพฤติกรรมเสี่ยง [Cyberbullying among secondary school student: prevalence, problem-solving and risk behavior]. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2564;11(1):275-89.
ปริญญา ชะอินวงษ์, สมบัติ สกุลพรรณ์, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน [Being cyberbully and suicide risk among youths]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2563;34(3):133-51.
ศุภรัตน์ เอกอัศวิน, จอมสุรางค์ โพธิสัตย์. ความชุกของประสบการณ์รังแกและโรคร่วมจิตเวชในนักเรียนไทย [Prevalence of bullying experience and psychiatric disorders in Thai students]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(2):96-106.
Hinduja S, Patchin J. W. Bullying, Cyberbullying, and Sexual Orientation/Gender Identity [Internet]. Florida: Cyberbullying Research Center; 2020 [cited 2022 March 19]. Available from: https://cyberbullying.org/bullying-cyberbullying-sexual-orientation-lgbtq.pdf
Azami MS, Taremian F. Risk factors associated with cyberbullying, cybervictimization, and cyberbullying-victimization in Iran’s high school students. Iran J Psychiatry. 2021;16(3):343-52. doi:10.18502/ijps.v16i3.6261.
Adiukwu F, de Filippis R, Orsolini L, Gashi Bytyçi D, Shoib S, Ransing R, et al. Scaling up global mental health services during the COVID-19 pandemic and beyond. Psychiatr Serv. 2021:appips202000774. doi:10.1176/appi.ps.202000774.
Lancaster V. Your self-esteem might be ruining your relationship [Internet]. United stage: Sussexl; 2021 [cited 2021 Dec 22]. Available from: https://www.psychologytoday.com/us/blog/toxic-relationships/202105/your-self-esteem-might-be-ruining-your-relationship
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย