คุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของมาตรวัดการเสพติดซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • ปริยานุช วุฒิ ชูประดิษฐ์, ปร.ด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุภัทร ชูประดิษฐ์, ศษ.ด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชูชัย สมิทธิไกร, ปร.ด. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเสพติด, เสพติดซื้อสินค้าออนไลน์, เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรยายคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของมาตรวัดการเสพติดการซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน

วิธีการ : พัฒนาแบบวัดการเสพติดซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน คำนวณค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาจากความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ทดลองใช้แบบวัดกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 42 คน เพื่อตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และอำนาจจำแนกด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่วัยทำงาน จำนวน 425 คน

ผล : ความตรงเชิงเนื้อหาซึ่งพิจารณาจากดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.972 และอำนาจจำแนกมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันอยู่ระหว่าง 0.201 - 0.865 การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า แบบวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติ ( gif.latex?X^{2}= 906.906, df = 841, gif.latex?X^{2}/df = 1.078, p = .0567, CFI = 0.996, TLI = 0.995, RMSEA = 0.014 และ SRMR = 0.036) ซึ่งน้ำหนักองค์ประกอบลำดับขั้นที่ 1 (β) มีค่าระหว่าง 0.483 - 0.895 และน้ำหนักองค์ประกอบลำดับขั้นที่ 2 (β) มีค่าระหว่าง 0.748 - 0.958

สรุป : แบบวัดการเสพติดซื้อสินค้าออนไลน์สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานมีความตรงเชิงโครงสร้าง อย่างไรก็ตามควรทดสอบความไวและความจำเพาะของเครื่องมือ เพื่อความเหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องมือประเมินทางคลินิก

Downloads

Download data is not yet available.

References

รัศมน กัลยาศิริ. การเสพติด [Addiction]. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.); 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564]. จาก: https://cads.in.th/cads/content?id=75

ชาญวิทย์ พรนภดล, ศิริสุดา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา, ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ, ชดาพิมพ์ ศศลักษณานนท์, ปาฏิโมกข์ พรหมช่วย. รายงานการวิจัยการศึกษาหาปัจจัยป้องกันการติดเกมในเด็กและวัยรุ่น [Identifying protective factors for game addiction in children and adolescents]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2552.

ชาญวิทย์ พรนภดล, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี, ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, ทรงภูมิ เบญญากร, คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง เรื่อง การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของเด็กและวัยรุ่น [Advice for parents about computer games for children and adolescents]. กรุงเทพฯ: โครงการการร่วมมือจัดทำเว็บไซต์ดูแลป้องกันเด็กติดเกม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล; 2557.

Das A, Sharma MK, Thamilselvan P, Marimuthu P. Technology addiction among treatment seekers for psychological problems: implication for screening in mental health setting. Indian J Psychol Med. 2017;39(1):21-7. doi:10.4103/0253-7176.198939.

Andreassen CS, Griffiths MD, Pallesen S, Bilder RM, Torsheim T, Aboujaoude E. The Bergen shopping addiction scale: reliability and validity of a brief screening test. Front Psychol. 2015;6:1374. doi:10.3389/fpsyg.2015.01374.

Zhao H, Tian W, Xin T. The development and validation of the online shopping addiction scale. Front Psychol. 2017;8:735. doi:10.3389/fpsyg.2017.00735.

Manchiraju S, Sadachar A, Ridgway JL. The compulsive online shopping scale (COSS): development and validation using panel data. Int J Ment Health Addict. 2017;15(1):209-23. doi:10.1007/s11469-016-9662-6.

Salika.co. เจาะพฤติกรรมคนไทย ‘ช็อปออนไลน์’ ไม่แพ้ชาติใดในโลก ดันธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยโตเป็นอันดับ 3 ของโลก [The online shopping behavior and e-commerce business in Thailand compared to the world] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: Salika.co; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2562]. จาก: https://www.salika.co/2019/04/13/thailand-shop-online-trend-2019/.

Trotzke P, Starcke K, Müller A, Brand M. Pathological buying online as a specific form of internet addiction: a model-based experimental investigation. PLoS ONE. 2015;10(10): e0140296. doi:10.1371/journal.pone.0140296.

Tang S, Yang D. College student’s on-line shopping addiction: a market survey and statistical analysis. Journal of Management and Humanity Research. 2019;1:53-60. doi:10.22457/jmhr.v1a06106.

Pawlikowski AM, Altstötter-Gleich BC, Brand M. Validation and psychometric properties of a short version of young’s internet addiction test. Comput Human Behav. 2013;29(3):1212-23. doi:10.1016/j.chb.2012.10.014.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ [Qualitative research in health science]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2553.

Hair FJ, Anderson RE, Tatham RL, Black WC. Multivariate data analysis. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1998.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 [Survey of the working conditions of the population, October 2019]. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม; 2562.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา [Development and validation of research instruments: paychometric properties]. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

Creswell JW, Plano Clark VL. Designing and conducting mixed methods research. 2nd ed. Los Angeles: Sage Publications; 2011.

Ritchie J, Lewis J. Qualitative Research Practice—A guide for social science students and researchers. London, Thousand Oaks, CA: Sage Publications; 2003.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน [Confirmatory factor analysis – CFA]. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2555;2(1):68-74.

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน [Confirmatory factor analysis]. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 2556;44(1):1-16.

Diamantopoulos A, Siguaw JA. Introducing LISREL. London: Sage Publications; 2000.

Muthén LK, Muthén BO. How to use a Monte Carlo study to decide on sample size and determine power. Struct Equ Modeling. 2002;9(4):599-620. doi:10.1207/S15328007SEM0904_8.

Hair FJ, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River; 2010.

Kline RB. Principles and practice of structural equation modeling. 4th ed. New York: Guilford publications; 2016.

Hair FJ, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 7th ed. New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River; 2009.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม [Classical test theory]. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Kerlinger FN, Lee HB. Foundations of behavioral research. Florida: Harcourt College Publishers; 2000.

ผกาวรรณ นันทะเสน, อัจศรา ประเสริฐสิน. พฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ตกับภาวะซึมเศร้า : เหตุปัจจัยและแนวทางการป้องกันแก้ไข [Internet addiction behavior and depression: causes, factors, and prevention guidelines]. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(3):293-304.

Arifin WN, Yusoff MSB. Confirmatory factor analysis of the Universiti Sains Malaysia emotional quotient inventory among medical students in Malaysia. SAGE Open. 2016;6(2)1-9. doi:10.1177/2158244016650240.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-02