ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปรับตัวในครอบครัวและชุมชนตามแนวคิดของรอย สำหรับผู้ป่วยติดสุราหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • บุษกร สมบูรณ์, พย.ม. โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต
  • สุนทรี ศรีโกไสย, พย.ด. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การติดสุรา, การปรับตัว, ครอบครัว, ชุมชน, ทฤษฎีรอย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการส่งเสริมการปรับตัวในครอบครัวและชุมชน ต่อการปรับตัว ร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่ม ระดับความรุนแรงของการติดสุรา และจำนวนการกลับมารักษาซ้ำแบบผู้ป่วยใน

วิธีการ : การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดสุราที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีจับสลาก กลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลแบบปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลแบบปกติร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการปรับตัวในครอบครัวและชุมชนตามแนวคิดของรอย ในสัปดาห์เตรียมจำหน่าย วันละ 60 นาที 4 วันติดต่อกัน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดการปรับตัวของผู้ติดสุรา ปฏิทินบันทึกการดื่มสุรา และแบบวัดความรุนแรงของการติดสุรา วิเคราะห์ข้อมูลด้วย chi-square test, independent t-test, Mann-Whitney U test และ repeated measures ANOVA  

ผล : การติดตามที่ 3 เดือน กลุ่มทดลองมีการปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (mean difference [MD] = 4.15, p = .023; MD = 5.56, p = .005, MD = 4.48, p = .014 ตามลำดับ) และร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่มสุราสูงกว่ากลุ่มควบคุม (MD = 47.62, p < .001) และมีระดับความรุนแรงของการติดสุราต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (MD = -13.73, p < .001) ส่วนจำนวนการกลับมารักษาซ้ำมีแนวโน้มลดลงแต่ไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม

สรุป : โปรแกรมการส่งเสริมการปรับตัวในครอบครัวและชุมชนตามแนวคิดของรอยช่วยให้ผู้ติดสุรามีการปรับตัวที่ดีขึ้น ลดจำนวนวันหยุดดื่ม และลดความรุนแรงของการติดสุรา

References

อธิบ ตันอารีย์, พลเทพ วิจิตรคุณากร. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560. [Alcohol drinking and provincial problem index (PAPI) in Thailand: The 2017 survey]. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2562;13(4):353-67.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560:25(1):1-16.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติ รูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพ ฉบับปรับปรุง [Handbook for practitioners’ model of care for people with alcohol use problems in the health system (revised edition)]. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา; 2554.

Bradizza CM, Stasiewicz PR, Paas ND. Relapse to alcohol and drug use among individuals diagnosed with co-occurring mental health and substance abuse disorders: a review. Clin Psychol Rev. 2006;26(2):162-78. doi:10.1016/j.cpr.2005.11.005.

Witkiewitz K, Marlatt GA. Relapse prevention for alcohol and drug problems: that was Zen, this is Tao. Am Psychol. 2004;59(4):224-35. doi:10.1037/0003-066X.59.4.224.

สุนทรี ศรีโกไสย, ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์, หทัยชนนี บุญเจริญ, ดวงเดือน ไชยน้อย, อภิศักดิ์ วิทยานุกูลลักษณ์, นภัสสรณ์ รังสิเวโรจน์, และคณะ. วิถีการดำเนินโรคของโรคติดสุราหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 1 ปี [Alcohol-dependent trajectory after 1 year hospital discharge]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(2):153-66.

Fernández-Serrano MJ, Pérez-García M, Schmidt Río-Valle J, Verdejo-García A. Neuropsychological consequences of alcohol and drug abuse on different components of executive functions. J Psychopharmacol. 2010;24(9):1317-32. doi:10.1177/0269881109349841.

Hoffman LA, Sklar AL, Nixon SJ. The effects of acute alcohol on psychomotor, set-shifting, and working memory performance in older men and women. Alcohol. 2015;49(3):185-91. doi:10.1016/j.alcohol.2015.02.001.

วรรณิดา ขันตีต่อ, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, หรรษา เศรษฐบุปผา. ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการดูแลและภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ [The association between caregiving readiness and burdens among caregivers of alcohol-dependent patients at Suang Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai Province]. พยาบาลสาร. 2562;46(1):76-86.

วัลลดา พุ่มไพศาลชัย, ชิดชนก เรือนก้อน. ภาระทางเศรษฐศาสตร์ของโรคติดสุราจากระดับโรงพยาบาลสู่ภาพรวมระดับประเทศ [Economic burden of alcohol dependence at a hospital and national level]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(2):150-60.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ปัญหาและความผิดปกติจากการดื่มสุรา: ความสำคัญและการดูแลรักษาในประเทศไทย [Problems and disorders from alcohol consumption: significance and treatment in Thailand]. สงขลา: หน่วยผลิตตำรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

วิชชุดา ยะศินธุ์, สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์, กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา. ลักษณะพยาธิสภาพทางจิตของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดื่มสุรา [Psychopathological characteristic of patients with alcohol use disorders]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56(2):167-78.

พรทิพย์ คงสัตย์, ศิริภรณ์ ชัยศรี, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม. การพัฒนาเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการจัดการพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราระยะหลังพ้นภาวะถอนพิษสุรา [The development empowerment program on management with drinking behaviour of alcohol dependence patients]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556;27(1):45-61.

นรากร สารีแหล้, กันตวิชญ์ จูเปรมปรี, กัลยา มั่นล้วน. ตราบาปของผู้ป่วยติดสุรากับการเลือกปฏิบัติ และสิทธิมนุษยชนในวิถีของชุมชน [The stigma of patients with alcohol use disorder with discrimination and the human rights in the community way of life]. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2561;33(6):589-94.

กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัว ของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี [Drinking behavior and impacts to families of alcoholic drinkers who received treatment in Thanyalak hospital, Udonthani]. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560;5(3):487-501

พูนศรี รังษีขจี, นิรมล พัจนสุนทร, หทัยวัน สนั่นเอื้อ. ความชุกของโรคซึมเศร้าในคู่สมรสของผู้ป่วยโรคติดสุราที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [The prevalence of depressive disorders among the spouses of patients with alcohol dependence at Srinagarind Hospital]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2549;51(3):14-24.

สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี. ความรุนแรงในครอบครัวส่งผลให้เกิดการดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด [Family violence resulting alcohol misuse]. กรุงเทพฯ: สมาคม; 2553.

กระทรวงสาธารณสุข. อันตรายจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ [Alcohol’s harm]. นนทบุรี: กระทรวง; 2553.

อรัญญา สาลี, เสาวคนธ์ วีระศิริ. การปรับตัวของครอบครัวที่มีบุคคลติดสุรา: การศึกษาหลายกรณี [Family adaptation among alcohol dependent: multi-cases study]. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2563;38(2):188-94.

Matthieu MM, Ivanoff A. Using stress, appraisal, and coping theories in clinical practice: assessment of coping strategies. Brief Treat Crisis Interv. 2006;6:337-48. doi:10.1093/brief-treatment/mhl009.

Roy SC. The Roy adaptation model. (3rd ed). New Jersey: Pearson Education; 2009.

โรงพยาบาลสวนปรุง. ฐานข้อมูลผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราที่เข้ารับบริการในปีงบประมาณ 2559-2560 [Database of people with alcohol-related problems who received services in 2016-2017]. เชียงใหม่: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหาร โรงพยาบาลสวนปรุง; 2561.

เพ็ญศิริ มรกต. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง [The effect of program promoting the adaptation of family caregivers in caring for end-of-life patients with chronic illness] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ [Research methods in nursing science]. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

ปิยะนุช แหน่งเพ็ชร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวต่อพฤติกรรมการปรับตัวในผู้ป่วยโรคซิสเทมิก ลูปัส อิริทีมาโตซัส [The effect of an adaptation promoting program on adaptation behaviors among patients with systemic Lupus Erythematosus] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2560.

โสฬสินี เหมรุ่งโรจน์. แบบประเมินพุทธิปัญญา Montreal cognitive assessment (MoCA) ฉบับภาษาไทย [Montreal cognitive assessment (MoCA)-Thai version]. MoCA test; 2554 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2563]. จาก: https://www.mocatest.org/pdf_files/test/MoCA-Test-Thai.pdf

สุนทรี ศรีโกไสย. ปฏิทินบันทึกการดื่มสุรา Time-line follow-back ฉบับภาษาไทย [Time-line follow-back- Thai version]. ใน: การศึกษาวิถีการดำเนินโรคของโรคติดสุรา. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สุนทรี ศรีโกไสย, กิตติวรรณ เทียมแก้ว, พันธ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล. ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความรุนแรงของการติดสุราฉบับทดสอบในประชาชนทั่วไป [Validity and reliability of the Thai version of the questionnaire for measuring the severity of alcohol dependence among general population]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(6):1087-97.

ชิตชวรรณ คงเกษม, สุนีย์ ละกำปั่น, ปิยธิดา จึงสมาน. โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง [A program enhancing adaptation of patients with end stage renal disease and treatment by continuous ambulatory peritoneal dialysis]. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(1):75-89.

เพ็ญพักตร์ ดารากร ณ อยุธยา. ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วม [A success in alcohol cessation of alcoholic patients with co-morbidities]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556;27(1):1-15.

สุนทรี ศรีโกไสย, ชาลิสา กัณฑารัตน์. การจัดการความรู้เรื่องวิธีการหยุดดื่มสุราให้สำเร็จในผู้ที่เคยติดสุราที่มารับบริการคลินิกบำบัดสุรา โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ [Knowledge management on how to achieved alcohol cessation in people with alcohol dependence who receiving psychosocial-clinic services, Suan Prung Psychiatric Hospital, Chiang Mai]. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยสาขาภาคเหนือ. 2550;13:10-6.

พิทักษ์ สุริยะใจ. การสนับสนุนทางสังคมเพื่อเสริมการหยุดดื่มของผู้ติดสุรา [Social support to enhance abstinence among alcohol dependents] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

สุภา อัคจันทร์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจในการหยุดดื่มของผู้ติดสุราที่กลับไปดื่มซ้ำ [Factors associated with intention to alcohol abstinence among persons with relapsed alcohol dependence]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560;33(1):17-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-07