การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมออนไลน์โดยอิงแนวปฏิบัติโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น สำหรับแพทย์ในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • วิรีย์อร จูมพระบุตร, พ.บ. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต
  • เกษราภรณ์ เคนบุปผา, ปร.ด. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต
  • สาวิตรี พละบุตร, พย.ม. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การอบรม, โปรแกรมออนไลน์, แพทย์, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมอบรมออนไลน์โดยอิงแนวปฏิบัติโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นสำหรับแพทย์ในเขตสุขภาพที่ 10

วิธีการ : การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) ขั้นพัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหา จัดสร้างต้นแบบ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ทดลองใช้ และปรับปรุงต้นแบบโปรแกรม และ 2) ขั้นทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมอบรมแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง (one group pretest-posttest design) ประเมินความรู้และความมั่นใจในการปฎิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการอบรม 4 สัปดาห์ด้วยสถิติ paired t-test

ผล : ต้นร่างโปรแกรมและเครื่องมือประเมินผลมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ รูปแบบโปรแกรม ใช้เวลา 2 ชั่วโมง 40 นาที มี 10 หน่วยการเรียนรู้ อบรม 1 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมจำนวน 22 คน อายุเฉลี่ย 31.9 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.5) ส่วนใหญ่เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (ร้อยละ 72.7) และปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไป (ร้อยละ 86.4) กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 14.3 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.8) ก่อนการอบรม เป็น 16.4 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.2) หลังการอบรม หลังการอบรมพบว่า ร้อยละ 59.1 ของกลุ่มตัวอย่างมีความมั่นใจในระดับมากที่สุดเกี่ยวกับการตัดสินใจส่งต่อผู้เชี่ยวชาญหากอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหรือมีปัญหาที่ซับซ้อน

สรุป : โปรแกรมอบรมออนไลน์ฯ ช่วยให้แพทย์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น และสามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้จริงในพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Depression and other common mental disorders: global health estimates [Internet]. Geneva: WHO; 2017 [cited 2018 Nov 16]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf

World Health Organization. Health for the world’s adolescents: a second chance in the second decade. Geneva: WHO; 2014.

GBD 2015 Disease and Injury incidence and prevalence collaborators. Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015. Lancet. 2016;388:1545-602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6.

Beirão D, Monte H, Amaral M, Longras A, Matos C, Villas-Boas F. Depression in adolescence: a review. Middle East Curr Psychiatry. 2020;27:50. doi:10.1186/s43045-020-00050-z.

ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, เบญจพร ตันตสูติ. การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในกรุงเทพมหานคร [The prevalence of depression in 2nd year high school students in Bangkok]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57(4):395-402.

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. ภาวะซึมเศร้าในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นในเขตกรุงเทพมหานคร [Depression in junior high school student in the Bangkok metropolis]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539;41:162-73.

สุพัตรา สุขาวห, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, กมลทิพย์ สงวนรัมย์, กุณฑชลี เพียรทอง, สุภาภรณ์ ทองเบ็ญจมาศ, พลับพลึง หาสุข. ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุบลราชธานี [Prevalence of depression and its association with suicide risk in junior high school students of Ubon Ratchathani province]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2563;65(1):15-24.

วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ [Prevalence of depression and suicidal risks in Thai adolescents: a survey in schools from 13 Public Health Region]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(2):136-49.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช). จำนวนผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยรายใหม่ อัตราความชุกและอัตราป่วย (ต่อแสนประชากร) ของโรคซึมเศร้าในกลุ่มอายุ 13-15 ปี ปี 2555-2562 เขต 10 อุบลราชธานี [Cumulative number of patients new patient prevalence and morbidity rates (per 100,000 population) of depressive disorders in the age group 13-15 years 2012-2019 District 10 Ubon Ratchathani] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน; [สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2563]. จาก: https://www.nhso.go.th

Verville L, Cote P, Grondin D, Mior S, Moodley K, Kay R, Taylor-Vaisey A. Using technology-based educational interventions to improve knowledge about clinical practice guidelines: a systematic review of the literature. J Chiropr Educ. 2021;35(1):149-57. doi:10.7899/JCE-19-17.

Verville L, Cote P, Grondin D, Mior S, Kay R. The development and evaluation of an online educational tool for the evidence based management of neck pain by chiropractic teaching faculty. J Chiropr Educ. 2021;35(1):95-105. doi:10.7899/JCE-19-18.

Cantrell SW, O’Leary P, Ward KS. Strategies for Success in Online Learning. Nurs Clin N Am. 2008;43:547-55. doi:10.1016/j.cnur.2008.06.003.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. แนวทางการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า [Clinical practice guideline for adolescents with depression]. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2561.

วิรีย์อร จูมพระบุตร, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน : การศึกษานำร่อง [Feasibility study of clinical practice guideline for adolescents with depression in community at district level: apilot study]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(1):1-15.

Sandrone S, Berthaud JV, Carlson C, Cios J, Dixit N, Farheen A, et al. Active learning in psychiatry education: current practices and future perspectives. Front Psychiatry. 2020;11:211. doi:10.3389/fpsyt.2020.00211.

Rhim HC, Han H. Teaching online: foundational concepts of online learning and practical guidelines. Korean J Med Educ. 2020;32(3):175-83. doi:10.3946/kjme.2020.171.

de Leeuw RA, Logger DN, Westerman M, Bretschneider J, Plomp M, Scheele F. Influencing factors in the implementation of postgraduate medical e-learning: a thematic analysis. BMC Med Educ. 2019;19(1):300. doi:10.1186/s12909-019-1720-x.

Lynn MR. Determination and quantification of content validity. Nurs Res. 1986;35(6):382-5.

Polit DF, Beck CT. The content validity index: Are you sure you know what's being reported? critique and recommendations. Res Nurs Health. 2006;29(5):489-97. doi:10.1002/nur.20147.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power [Sample size calculation using G*power program]. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2562;5(1):496-507.

Hertzog MA. Considerations in determining sample size for pilot studies. Res Nurs Health. 2008;31(2):180-91. doi:10.1002/nur.20247.

Gazza EA, Hunker DF. Facilitating student retention in online graduate nursing education programs: a review of the literature. Nurse Educ Today. 2014;34(7):1125–9. doi:10.1016/j.nedt.2014.01.010.

Warrren N, Parker S, Khoo T, Cabral S, Turner J. Challenges and solutions when developing online interactive psychiatric education. Australas Psychiatry. 2020;28(3): 359-62. doi:10.1177/1039856220901477.

Lewis KO, Baker RC. Teaching medical professionals online: a cross discipline experience. Med Teach. 2010;32(3):262-4. doi:10.3109/01421590903434185.

Martin F, Wang C, Sadaf A. Student perception of helpfulness of facilitation strategies that enhance instructor presence, connectedness, engagement and learning in online courses. The Internet and Higher Education. 2018;37:52–65. doi:10.1016/j.iheduc.2018. 01.003.

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. เกณฑ์หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์และภาคผนวก 2561 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัย; [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2564]. จาก: https://www.rcpsycht.org/th/home

ภารณี ชวาลวุฒิ, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, อนัญญา สินรัชนานันท์, บรรณาธิการ. แนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล [Guidelines for improving the quality of mental health and psychiatric service systems for hospital center, general hospital, community hospital, and sub-district health promoting hospitals]. นนทบุรี: สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2559.

Nicastro E, Lo VA, Liguoro I, Chmielewska A, De Bruyn C, Dolinsek J, et al. The impact of e-learning on adherence to guidelines for acute gastroenteritis: a single-arm intervention study. PLoS One. 2015;10(7):e0132213. doi:10.1371/journal.pone.0132213.

Fiks AG, Mayne S, Michel JJ, Miller J, Abraham M, Suh A, et al. Distance-learning, ADHD quality improvement in primary care: a cluster-randomized trial. J dev Behav Pediatr. 2017;38(8);573-83. doi:10.1097/DBP0000000000000490.

Cross WF, West JC, Pisani AR, Crean HF, Nielsen JL, Kay AH, et al. A randomized controlled trial of suicide prevention training for primary care providers: a study protocol. BMC Med Educ. 2019;19(1):58. doi:10.1186/s12909-019-1482-5.

Ghoncheh R, Kerkhof AJ, Koot HM. Effectiveness of adolescent suicide prevention e-learning modules that aim to improve knowledge and self-confidence of gatekeepers: study protocol for a randomized controlled trial. Trails. 2014;15:52. doi:10.1186/1745-6215-15-52.

Vaona A, Banzi R, Kwang KH, Rigon G, Cereda D, Pecoraro V, et al. E-learning for health professionals. Cochrane Database Syst Rev. 2018;1(1):CD011736. doi:10.1002/14651858.CD011736.pub2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09