ภาวะออทิสซึมในเด็กปฐมวัยที่สงสัยพัฒนาการไม่สมวัยหรือออทิสซึม : การศึกษานำร่องในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เครื่องมือวินิจฉัย, พัฒนาการไม่สมวัย, ภาวะออทิสซึมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินภาวะออทิสซึมในเด็กปฐมวัยที่สงสัยว่ามีพัฒนาการไม่สมวัยหรือมีภาวะออทิสซึม และเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบภาวะออทิสซึมในเด็กพัฒนาการไม่สมวัยแต่ละด้าน (ด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา หรือด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม)
วิธีการ : กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่สงสัยว่ามีพัฒนาการไม่สมวัยหรือมีภาวะออทิสซึมจากโรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลจอมทอง และโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการประเมินพัฒนาการด้วยคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) คู่มือการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง (DAIM) คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) หรือเครื่องมือประเมินพัฒนาการอื่น ๆ นำกลุ่มตัวอย่างมาประเมินภาวะออทิสซึมด้วยเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย (TDAS) วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบอัตราการตรวจพบภาวะออทิสซึมระหว่างกลุ่มพัฒนาการไม่สมวัยแต่ละด้านด้วยสถิติทดสอบไควสแควร์หรือสถิติทดสอบที
ผล : เด็กกลุ่มตัวอย่าง 79 ราย พบภาวะออทิสซึม 71 ราย (ร้อยละ 89.9) โดยกลุ่มที่ผ่านการประเมินด้วย DSPM, DAIM, TEDA4I หรือเครื่องมืออื่น ๆ ตรวจพบภาวะออทิสซึมร้อยละ 93.0, 50.0, 66.7 และ 96.2 ตามลำดับ เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยในด้านการเข้าใจภาษา ด้านการใช้ภาษา หรือด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมด้านใดด้านหนึ่ง ตรวจพบภาวะออทิสซึมสูงกว่ากลุ่มที่มีพัฒนาการสมวัยในด้านดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
สรุป : เด็กที่พบว่ามีพัฒนาการไม่สมวัยในด้านหนึ่งด้านใดจากการประเมินพัฒนาการด้วยเครื่องมือใด ๆ ก็ตาม ควรได้รับการประเมินต่อด้วยเครื่องมือ TDAS เพื่อการวินิจฉัยภาวะออทิสซึม ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กมีโอกาสเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้เร็วขึ้นและพยากรณ์โรคดีขึ้น
Downloads
References
American Psychiatric Association, Neurodevelopmental Disorders. In: American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5th ed. (DSM-5). Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2013.
นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, พนม เกตุมาน, บรรณาธิการ. จิตเวชศิริราช DSM-5 [Siriraj Psychiatry DSM-5]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.
Zablotsky B, Black LI, Maenner MJ, Schieve LA, Blumberg SJ. Estimated prevalence of autism and other developmental disabilities following questionnaire changes in the 2014 national health interview survey. Natl Health Stat Report. 2015;(87):1-20.
ศรีวรรณา พูลสรรพสิทธิ์, เบญจพร ปัญญายง, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล, ประยุกต์ เสรีเสถียร, วรวรรณ จุฑา. การศึกษาภาวะออทิซึมในประเทศไทยและการดูแลรักษาแบบบูรณาการในระดับประเทศ [Holistic care for Thai autism]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2548;13(1):10-6.
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2553 [Department of mental health annual report fiscal year 2010]. นนทบุรี: กองแผนงาน กรมสุขภาพจิต; 2553.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้ป่วยโรคออทิสติกเข้าถึงบริการ [Percentage of autistic patients accessing services] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561]. จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/formatg.php&cat_id=ea11bc4bbf333b78e6f53a26f7ab6c89&id=e959959205e37be069751dbbe9937802
Fombonne E. Epidemiology of pervasive development disorder. Pediatr Res 2009; 65(6):591-8. doi:10.1203/PDR.0b013e31819e7203.
World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva; 1992.
ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์, นพวรรณ บัวทอง, เสาวรส แก้วหิรัญ. การใช้เครื่องมือ Autism Diagnostic Observation Schedule ในการวินิจฉัยภาวะออทิสติก ณ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ [Diagnostic utility of the autism diagnostic observation schedule (ADOS) for children with autism spectrum disorder at Rajanagarindra institute of child development]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2550;52(2):181-93.
Fedele A, Abbacchi A, Kanne SM. Comparison of ADOS to ADOS-2 diagnostic classifications within the autism treatment network. Minneapolis: Autism Treatment Network; 2013.
Luyster R, Gotham K, Guthrie W, Coffing M, Petrak R, Pierce K, et al. The autism diagnostic observation schedule-toddler module: a new module of a standardized diagnostic measure for autism spectrum disorders. J Autism Dev Disord. 2009;39(9):1305-20. doi:10.1007/s10803-009-0746-z.
Center for Autism and the Developing Brain. Autism diagnostic observation schedule (ADOS-2). 2nd ed. New York: New York-Presbyterian Hospital; 2013.
Wang W, Lee H, Fetzer SJ. Challenges and strategies of instrument translation. West J Nurs Res. 2006;28(3):310-21. doi:10.1177/0193945905284712.
ชลทิพย์ กรัยวิเชียร. แบบคัดกรองกลุ่มอาการออทิซึมในเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี [Autism spectrum screening questionnaire for children under 2 years old]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2557;22(1):1-10.
ชาญวิทย์ พรนภดล, อำไพ ทองเงิน, อภิรัตน์ เกวลิน, เดือนฉาย แสงรัตนายนต์. การพัฒนาแบบคัดกรองโรคในกลุ่ม pervasive developmental disorders [Development of the pervasive developmental disorders screening questionnaires]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2545;47(2):75-96.
เบญจพร ปัญญายง. ความตรงของแบบคัดกรองกลุ่มอาการออทิซึม [The validation of the pervasive developmental disorders screening instrument]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2553;18(1):36-44.
พัณณวไล พินทุนันท์, วีระศักดิ์ ชลไชยะ, จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์. การคัดกรองโรคออทิสติกด้วยเครื่องมือคัดกรอง M-CHAT และ CHAT ส่วน B ในเด็กที่มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า [Screening Thai children who have delayed language development with M-CHAT (A Modified Checklist for Autism in Toddlers) and CHAT (Checklist for Autism in Toddlers)]. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2552;48(3):221-9.
สมัย ศิริทองถาวร, ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์, นพวรรณ บัวทอง, อมรา ธนศุภรัตนา, ชญานิษฐ์ อนันตวรวงค์, เสาวรส แก้วหิรัญ, และคณะ. รายงานผลการวิจัยโครงการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึมในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย [Report of the research project on the development of early diagnosis tools for autism for Thai children]. นนทบุรี: รายงานผลการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.
ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์. ผลของโปรแกรมการรักษาแบบเข้มข้นต่อระดับสติปัญญาในเด็กกลุ่มออทิสติก [Effect of early intensive intervention program in children with autistic spectrum disorders on IQ outcome]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2556;21(2):121-30.
สมัย ศิริทองถาวร. การพัฒนาคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย [The development of developmental surveillance and promotion manual; DSPM]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(1):3-12.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง [Developmental assessment for intervention manual (DAIM)]. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2558.
สมัย ศิริทองถาวร, อัมพร เบญจพลพิทักษ์, นพวรรณ ศรีวงศ์พาณิช. คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ [Thai early developmental assessment for intervention: TEDA4I]. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย. คู่มือมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกสำหรับเด็กและวัยรุ่น (เล่ม 2) [Manual of clinical psychological diagnostic standards for children and adolescents (volume 2)]. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท; 2557. น. 25-100.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ ขนาดและโครงสร้างของประชากรตามอายุและเพศ [Demographic statistics population and housing population size and structure by age and gender] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2563]. จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต. คู่มือการใช้เครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสซึมในระยะเริ่มแรกสำหรับเด็กไทย [Thai diagnostic autism scale: TDAS]. เชียงใหม่: บริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2560. น. 9.
Russell G, Steer C, Golding J. Social and demographic factors that influence the diagnosis of autistic spectrum disorders. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol. 2011;46(12):1283-93. doi:10.1007/s00127-010-0294-z.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย