ความเครียดระหว่างการเรียนออนไลน์ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การเรียนออนไลน์, ความเครียด, โควิด 19, นักศึกษาแพทย์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความเครียดระดับที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันระหว่างการเรียนออนไลน์ สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียด และแนวทางการจัดการความเครียดในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
วิธีการ : การศึกษาแบบตัดขวางในนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2 - 5 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ชนิดตอบเอง วัดความชุกของความเครียดด้วยแบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung stress test-20; SPST-20, cut-off ≥ 42 points) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา chi-square test, linear-by-linear association test และ Mann–Whitney U test
ผล : จากตัวอย่างทั้งหมด 378 คน มี 300 คนที่ตอบแบบสอบถาม (อัตราตอบกลับร้อยละ 79.4) พบว่าร้อยละ 54.7 ของกลุ่มตัวอย่างมีความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน (95% CI 49.0, 60.2) พบความเครียดในนักศึกษาหญิงมากกว่านักศึกษาชาย และพบความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความเครียด สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดที่รายงานมากที่สุด คือ การสอบออนไลน์ (ร้อยละ 67.3) กลุ่มตัวอย่างจัดการความเครียดด้วยการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือเบี่ยงเบนความสนใจมากกว่า การเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการแสดงออกทางอารมณ์ วิธีจัดการความเครียดที่รายงานมากที่สุด คือ การฟังเพลง เล่นเกม และดูภาพยนตร์
สรุป : ครึ่งหนึ่งของนักศึกษาแพทย์มีความเครียดในระดับที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ผลการศึกษานี้มีศักยภาพในการเป็นข้อมูลพื้นฐานให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การแปลผลการศึกษาควรพิจารณาถึงข้อจำกัดอันได้แก่ ความผิดพลาดในการรำลึกเหตุการณ์ และการขาดความสามารถในการระบุความเป็นเหตุและผลของปัจจัยต่าง ๆ
Downloads
References
Firth J. Levels and sources of stress in medical students. Br Med J (Clin Res Ed). 1986;292(6529):1177-80. doi:10.1136/bmj.292.6529.1177.
Sherina MS, Rampal L, Kaneson N. Psychological stress among undergraduate medical students. Med J Malaysia. 2004;59(2):207-11.
Bamuhair S, Al Farhan A, Althubaiti A, Agha S, Rahman S, Ibrahim N. Sources of stress and coping strategies among undergraduate medical students enrolled in a problem-based learning curriculum. J Biomed Educ. 2015;(2015):1-8. doi:10.1155/2015/575139.
สุวรรณา สี่สมประสงค์. การศึกษาความเครียดของนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นปีที่ 4 - 6 [A study of stress of the fourth-year to the sixth-year medical students]. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.
ชัยวัชร์ อภิวาทนสิริ, กฤติยา โสมะเกษตรินทร์, กิตติศักดิ์ สุรประยูร, ไกรวุฒิ เลื่อมประเสริฐ, นุชวดี วันแก้ว, ภากรณ์ หอมจำปา, และคณะ. ความเครียด และการจัดการความเครียด ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น [Stress and coping in medical students at clinical level, Khon Kaen University]. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2550;22(4):416-24.
สำนักนายกรัฐมนตรี. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 [Declare a state of emergency in all local areas throughout the Kingdom 2020]. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 69 ง (ลงวันที่ 25 มี.ค. 2563).
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประกาศคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยของแก่น เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลรายวิชา คณะแพทยศาสตร์ กรณีเพื่อการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 [Announcement of the faculty of medicine, Khon Kaen university subject: guidelines for teaching and evaluation of courses faculty of medicine case for the prevention of the outbreak of the novel Coronavirus disease 2019]. ประกาศฉบับที่ 39/2563 (ลงวันที่ 9 เม.ย. 2563).
Fadhila R, Hernawan B. Relationship between stress, anxiety, and depression with learning achievement in medical student during online learning in the COVID 19 pandemic era. In: Anwar M, Khoiriyah U, editors. ICME international conference on medical education: Proceeding ICME 2021 virtual conference --- excellence in health profession education, through globalization & collaboration; 2021 April 1-4; Universitas Islam Indonesia, Yogyakarta. Indonesia: UII press; 2021. p. 139-49.
O'Byrne L, Gavin B, Adamis D, Lim YX, McNicholas F. Levels of stress in medical students due to COVID-19. J Med Ethics 2021;47:383-8. doi:10.1136/medethics-2020-107155.
หงส์ศิริ ภิยโยดิลกชัย, อรุณวรรณ กัมภูสิริพงษ์, มยุรี สวัสดิ์เมือง, ทัศนี จันทรภาส. ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ [Stress and stress coping of business information technology students of Rajamangala university of Technology Rattanakosin, Bophit Phimuk Chakkrawat]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2558.
รุ่งนภา เตชะกิจโกศล. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลศิริราช [Stress and coping in the rehabilitation stroke patient at siriraj hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2552.
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ความเครียดและวิธีการจัดการกับความเครียดของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม [Stress and stress coping of Mahasarakham university students. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, พิมมาศ ตาปัญญา. การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง [The construction of Suan Prung stress test for Thai population]. วารสารสวนปรุง. 2540;13(3):1-20.
รุ่งรัตน์ ระย้าแก้ว, วัลลี สัตยาศัย. ความเครียดของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 - 6 กรณีศึกษาศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก [4 - 6th year medical students’ stress: case study at medical center, Buddhachinaraj hospital, Phitsanulok]. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2556;13(1):17-23.
Department of Gender and Women’s Health. Gender and Mental Health. Geneva: World health organization; 2002.
สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. เพศภาวะกับสุขภาพจิต [Gender and mental health]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2553;55(1):109-18.
Sawant NS, Mishra K. Are medical students stressed out?: a study of gender differences and coping in undergraduates. Malaysian Journal of Psychiatry. 2015:24(1).
Worly B, Verbeck N, Walker C, Clinchot DM. Burnout, perceived stress, and empathic concern: differences in female and male Millennial medical students. Psychol Health Med. 2019;24(4):429-38. doi:10.1080/13548506.2018.1529329.
Abdulghani HM, Sattar K, Ahmad T, Akram A. Association of COVID-19 pandemic with undergraduate medical students' perceived stress and coping. Psychol Res Behav Manag. 2020;13:871-81. doi:10.2147/PRBM.S276938.
สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัฐนรี น้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, และคณะ.ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [Factors causing to stress of nursing students, Ubon Ratchathani university]. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2561;21(42):93-106.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ผลกระทบของ COVID-19 ต่อความยากจน ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2563 [The impact of COVID-19 on poverty, Thai society in the third quarter of 2020]. จดหมายข่าวสภาพัฒน์. 16 พ.ย. 2563: น. 6.
Pawlaczyk M, Siembida J, Balaj K, Rajewska-Rager A. The assessment of stress level, anxiety, depressive symptoms, and defense mechanisms among Polish and English medical students. Ann Gen Psychiatry. 2020;19:29-38. doi:10.1186/s12991-020-00274-7.
สิรินิตย์ พรรณหาญ, บุญมี พันธุ์ไทย, กมลทิพย์ ศรีหาเศษ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 - 6 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [Factors affecting learning stress of 4th - 6th year medical students. faculty of medicine, Ramathibodi hospital Mahidol university]. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 2561;11(3):2579-93.
Flores E, Tschann JM, Dimas JM, Bachen EA, Pasch LA, de Groat CL. Perceived discrimination, perceived stress, and mental and physical health among mexican-origin adults. Hisp J Behav Sci. 2008;30(4):401-24. doi:10.1177/0739986308323056.
Chatterjee SS, Barikar C M, Mukherjee A. Impact of COVID-19 pandemic on pre-existing mental health problems. Asian J Psychiatr. 2020;51:102071. doi:10.1016/j.ajp.2020.102071.
Mheidly N, Fares MY, Fares J. Coping with stress and burnout associated with telecommunication and online learning. Front Public Health. 2020;8:574969. doi:10.3389/fpubh.2020.574969.
Brooks SK, Webster RK, Smith LE, Woodland L, Wessely S, Greenberg N, et al. The psychological impact of quarantine and how to reduce it: rapid review of the evidence. Lancet. 2020;395(10227):912-20. doi:10.1016/S0140-6736(20)30460-8.
Bhatti AB, Haq AU. The pathophysiology of perceived social isolation: effects on health and mortality. Cureus. 2017;9(1):e994. doi:10.7759/cureus.994.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย