ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อย
คำสำคัญ:
การรู้คิด, การรู้คิดพร่องเล็กน้อย, โปรแกรม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิดในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อย
วิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อยจำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิด ซึ่งปรับมาจากกิจกรรมสุขสว่างของกรมสุขภาพจิต สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นจำนวน 6 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินระดับการรู้คิด ได้แก่ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE–Thai 2002) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Sample t-test และ Dependent Sample t-test
ผล : หลังได้รับโปรแกรมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรู้คิด (M = 23.42 , SD = 3.56) มากกว่ากลุ่มควบคุม (M = 21.42, SD = 2.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการรู้คิดเพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (Pre M = 19.85, SD = 4.21; Post M = 23.42, SD = 3.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุป : โปรแกรมการสร้างเสริมการรู้คิด สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดพร่องเล็กน้อยมีระดับการรู้คิดโดยรวมที่สูงขึ้นได้ ควรมีการสนับสนุนให้ใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่อง และมีการติดตามผลในระยะเวลายาว
Downloads
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย 2560 [Statistical office revealing the results of the survey of the elderly population in Thailand 2017]. ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ก.ค. 2561; น. 1.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต [What do statistics tell about current and future seniors]. ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ม.ย. 2561; น. 1-2.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 [Report of the elderly population in Thailand 2017]. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2561.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า, วราภรณ์ เสถียรนพเกล้า. สุขภาพผู้สูงอายุ รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 [Report of the Thai people's health survey by physical examination No. 5, 2014]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557. น. 250-3.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 [Situation of the Thai elderly 2016]. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
เดชา วรรณพาหุล. การพัฒนาโปรแกรมฝึกบริหารสมองสำหรับเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุ : การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ [The development of a brain fitness training program;to increase short-term memory in the elderly: an event-related brain potentials study]. วารสารราชนครินทร์. 2560;13(30):51-61.
ธัญพร สมันตรัฐ. การใช้นิวโรบิคส์เอ็กเซอร์ไซส์เพื่อส่งเสริมความจำแก่ผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน [The neurobics exercise for memory enhancement in elderly patients received services in diabetic and hypertension clinic of si piman community health center]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ. 2558;31(2):106-20.
ปิ่นมณี สุวรรณโมสิ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่อง [The effect of cognitive stimulation program on memory of community-dwelling older persons with mild cognitive impairment]. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2559;8(2):45-57.
จารุวรรณ ก้านศรี, ดลใจ จองพานิช, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ผลของโปรแกรมบริหารสมองต่อการเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่มีความจำพร่องเล็กน้อย [The effects of brain exercise program on memory enhancement among the elderly with mild cognitive impairment]. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560;27(3):176-87.
จารุวรรณ ก้านศรี, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ภัทรวดี ศรีนวล, นภัสสร ยอดทองดี, เกรียงศักดิ์ ยศพิมพ์. ผลของโปรแกรมการฝึกความจำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อความสามารถในการจำของผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องเล็กน้อย [The effects of the local wisdom memory training program on memory ability among older persons with mild cognitive impairment]. พยาบาลสาร. 2560;44(พิเศษ 2):12-21.
จิตติมา ดวงแก้ว. ผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อการทำหน้าที่ด้านการคิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะการคิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานสงเคราะห์คนชราของภาครัฐ [The effect of cognitive training program on cognitive function in mild cognitive impairment older people in govermental welfare home for the aged] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือวิทยากรจัดกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน [Handbook of speakers to organize activities to create 5 dimensions of happiness for the elderly in the community]. นนทบุรี: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2560.
สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณี สมรัตน์, อนัญญา เดชะคำภู. โปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในผู้สูงอายุ ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ [The effectiveness of program for developing five dimensionsof happiness in elderly: a case study of elderly in krawan sub-district, khunhan district, srisaket province]. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560; วันที่ 10 มี.ค. 2560; ขอนแก่น.
Hodkinson HM. Evaluation of a mental test score for assessment of mental impairment in the elderly. Age and Ageing. 1972;1(4):233-8. doi:10.1093/ageing/1.4.233.
กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, เบนจามิน แฮมสเตท, โรเบริ์ต เพลาท์ ซไนเดอร์, แคทเทอรีน โพเทมป้า, นพพร จันทรเสนา, สุรีภรณ์ สีสิงห์, และคณะ. การพัฒนากระบวนการคัดกรองการรู้คิดของผู้สูงอายุในชุมชน [Development of a cognitive screening process for older adults in community]. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(3):99-114.
Foroughan M, Wahlund LO, Jafari Z, Rahgozar M, Farahani IG, Rashedi V. Validity and reliability of abbreviated mental test score (AMTS) among older Iranian. Psychogeriatrics. 2017;17(6):460-5. doi:10.1111/psyg.12276.
Rait G, Burns A, Baldwin R, Morley M, Chew‐Graham C, St Leger AS. Validating screening instruments for cognitive impairment in older South Asians in the United Kingdom. Int J Geriatr Psychiatry. 2000;15(1):54-62. doi:10.1002/(sici)1099-1166(200001)15:1<54::aid-gps77>3.0.co;2-c.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ [Elderly screening/assessment manual]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.
Mahoney FI, Barthel DW. Functional evaluation: the barthel index. Md State Med J. 1965;14:61-5.
นิติกุล บุญแก้ว, อัญชลี ช. ดูวอล, นุชรินทร์ โพธารส, มลฤดี เพ็ชร์ลมุล, สุพิญญา คงเจริญ. การสำรวจภาวะสมองเสื่อมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม จังหวัดปทุมธานี [A survey of dementia, basic activities of daily living, and depression of older people at social welfare development center elderly, pathumthani]. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558;9(3):173-83.
Li BY, He NY, Qiao Y, Xu HM, Lu YZ, Cui PJ, et al. Computerized cognitive training for Chinese mild cognitive impairment patients: a neuropsychological and fMRI study. Neuroimage Clin. 2019;22:101691. doi:10.1016/j.nicl.2019.101691.
Giuli C, Fattoretti P, Gagliardi C, Mocchegiani E, Venarucci D, Balietti M, et al. My mind project: the effects of cognitive training for elderly-the study protocol of a prospective randomized intervention study. Aging Clin Exp Res. 2017;29(3):353-60. doi:10.1007/s40520-016-0570-1.
Napatpittayatorn P, Kritpet T, Muangpaisan W, Srisawat C, Junnu S. Effects of neurobic exercise on cognitive function and serum brain-derived neurotrophic factor in the normal to mild cognitive impaired older people: a randomized control trial. Songklanakarin Journal of Science & Technology. 2019;41(3):551-8.
วีณา ลิ้มสกุล, เกศรา ตั้นเซ่ง, จวง เผือกคง. ประสิทธิผลของโปรแกรมกระตุ้นความสามารถสมองในผู้สูงอายุที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น [The effectiveness of a cognitive stimulation program on the elderly with mild cognitive impairment]. พยาบาลสาร. 2561;45(3):58-68.
Karssemeijer EGA, Aaronson JA, Bossers WJ, Smits T, Olde Rikkert MGM, Kessels RPC. Positive effects of combined cognitive and physical exercise training on cognitive function in older adults with mild cognitive impairment or dementia: a meta-analysis. Ageing Res Rev. 2017;40:75-83. doi:10.1016/j.arr.2017.09.003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย