ผลของโปรแกรมสติบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • วิภาวี เผ่ากันทรากร, ปร.ด. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต
  • นภา จิรัฐจินตนา, พย.ม. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุภาพจิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, โปรแกรมสติบำบัด, ภาวะซึมเศร้า, โรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของโปรแกรมสติบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

วิธีการ : เป็นการวิจัยแบบสุ่มที่มีการควบคุม ศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวน 44 คนที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้รูปแบบจับคู่ตามอายุ เพศ และระดับภาวะซึมเศร้า แบ่งเป็นกลุ่มบำบัดและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คน กลุ่มบำบัดได้รับโปรแกรมสติบำบัดจำนวน 8 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ติดตามสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในเดือนที่ 6 ประเมินภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตก่อนและหลังโปรแกรมด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory IA) และแบบประเมินคุณภาพชีวิตองค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบค่าที

ผล : กลุ่มบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (t = 10.71, p < .01) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.80, p < .01) และมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (t = - 12.38, p < .01) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.92, p < .01) การติดตามในเดือนที่ 6 พบว่า ในกลุ่มบำบัดมี 2 คนที่มีอาการกำเริบของโรคซึมเศร้า ในขณะที่ในกลุ่มควบคุมมี 10 คนที่มีอาการกำเริบ

สรุป : ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสติบำบัดช่วยลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Depression and other common mental disorders: global health estimates [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2017 [cited 2018 Nov 2]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/254610/WHO-MSD-MER-2017.2-eng.pdf

World Health Organization. The global burden of disease: 2004 update. Geneva: World Health Organization; 2008.

Dang JM, Bashmi L, Meeneghan S, White J, Hedrick R, Djurovic J, et al. The efficacy of mindfulness-based interventions on depressive symptoms and quality of life: a systematic review of randomized controlled trials. OBM Integr Compliment Med. 2018;3(2):011. doi:10.21926/obm.icm.1802011.

Kolovos S, Kleiboer A, Cuijpers P. Effect of psychotherapy for depression on quality of life: meta-analysis. Br J Psychiatry. 2016;209(6):460-8. doi:10.1192/bjp.bp.115.175059.

Geurts DEM, Compen FR, Van Beek MHCT, Speckens AEM. The effectiveness of mindfulness-based cognitive therapy for major depressive disorder: evidence from routine outcome monitoring data. BJPsych Open. 2020;6(6):e144. doi:10.1192/bjo.2020.118.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):1-19.

Goldberg SB, Tucker RP, Greene PA, Davidson RJ, Wampold BE, Kearney DJ, et al. Mindfulness-based interventions for psychiatric disorders: a systematic review and meta-analysis. Clin Psychol Rev. 2018;59:52-60. doi:10.1016/j.cpr.2017.10.011.

Perestelo-Perez L, Barraca J, Pe˜nate W, Rivero-Santana A, Alvarez-Perez Y. Mindfulness-based interventions for the treatment of depressive rumination: Systematic review and meta-analysis. Int J Clin Health Psychol. 2017;17(3):282-95.

Pérez-Aranda A, García-Campayo J, Gude F, Luciano JV, Feliu-Soler A, González-Quintela A, et al. Impact of mindfulness and self-compassion on anxiety and depression: the mediating role of resilience. Int J Clin Health Psychol. 2021;21(2):100229. doi:10.1016/j.ijchp.2021.100229.

Kuyken W, Warren FC, Taylor RS, Whalley B, Crane C, Bondolfi G, et al. Efficacy of mindfulness-based cognitive therapy in prevention of depressive relapse: an individual patient data meta-analysis from randomized trials. JAMA Psychiatry. 2016;73(6):565-74. doi:10.1001/jamapsychiatry.2016.0076.

Segal ZV, Williams JMG, Teasdale JD. Mindfulness-based cognitive therapy for depression. 2nd ed. New York: Guilford Press; 2013.

พรเพ็ญ อารีกิจ, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [The effect of cognitive behavioral therapy and mindfulness on depression in depressive disorder patients]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2555;26(3);71-80.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ญาดา ธงธรรมรัตน์, ปริยา ประณีตพลกรัง, ปราณีต ชุ่มพุทรา, ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. กลุ่มบำบัดความคิดบนพื้นฐานการฝึกสติเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น : การศึกษานำร่อง [The efficacy of group mindfulness-based cognitive therapy in prevention of youth depression: a pilot study]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2558;23(3):143-53.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, สวิตตา ธงยศ, อิงคฏา โคตรนารา, ขจรศักดิ์ วรรณทอง. ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [Efficacy of Buddhist counseling on decrease depressive symptoms of patients with depressive disorder].วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(4):381-93.

สมจิตร เสริมทองทิพย์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, เวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน [Effect of mindfulness-based cognitive therapy program on depression among persons with diabetes]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(3):66-75.

สมชาย ปโยโค, อุทัย สุดสุข. พุทธบูรณาการการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสังคมไทย [Buddhist integration of caring for chronic diseases in Thai society]. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 2558;3(2);45-64.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานติ์. คู่มือสติบำบัด [Mindfulness–based therapy and counseling (MBTC) manual]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัทบียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2559.

ธีรยุทธ เกิดสังข์, อุไรวรรณ เกิดสังข์, เบญจวรรณ งานวงศ์วิวัฒน์. ผลของโปรแกรมการบำบัดและให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐานต่อความเครียดและระดับสติในนักศึกษาพยาบาล [Effects of Mindfulness-Based Therapy and Counseling program on stress and mindfulness in Nursing students]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561;32(1):33-48.

ภัทรภรณ์ วงษกรณ์. ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความเครียดในผู้ต้องขัง [The effects of mindfulness-based practice on stress among inmates] [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

อัจฉรา มุ่งพานิช, กิติยา กุดกุง. ผลของกลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐานต่อระดับความรุนแรงของการฆ่าตัวตายในผู้ต้องขัง [Effect of mindfulness-based therapy and counseling group on suicidal risk of prisoners]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2563;28(3):240-51.

นัชรินทร์ เชื้อบ้านเกาะ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว [The effect of mindfulness-based cognitive therapy program on depression of bipolar disorder patients]. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2562;11(2):421-32

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for android. Songkla: The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund & Prince of Songkla University; 2014.

มุกดา ศรียงค์. แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค [Beck depression inventory IA (BDI-IA)]. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2522.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด [Comparison of the WHOQOL-100 and the WHOQOL-BREF (26 items)]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต; 2540.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถามฉบับปรับปรุงภาษากลาง [Criterion-related validity of the 9 questions depression rating scale revised for Thai central dialect]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2561;63(4):321-34.

Naibili M, Permana I. Effectiveness of mindfulness-based cognitive therapy (MBCT) Towards Depression. Jurnal Ilmu Keperawatan: Journal of Nursing Science. 2020;8(1):35-42. doi:10.21776/ub.jik.2020.008.01.6.

Schuman-Olivier Z, Trombka M, Lovas DA, Brewer JA, Vago DR, Gawande R, et al. Mindfulness and behavior change. Harv Rev Psychiatry. 2020;28(6):371-94. doi:10.1097/HRP.0000000000000277.

Foroughi A, Sadeghi K, Parvizifard A, Parsa Moghadam A, Davarinejad O, Farnia V, et al. The effectiveness of mindfulness-based cognitive therapy for reducing rumination and improving mindfulness and self-compassion in patients with treatment-resistant depression. Trends Psychiatry Psychother. 2020;42(2):138-46. doi:10.1590/2237-6089-2019-0016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03