การจำแนกกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : โครงการนำร่องในโรงเรียน มัธยมแห่งหนึ่ง จ.อุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การใช้สารเสพติด, นักเรียนมัธยม, กลุ่มเสี่ยงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อพัฒนาแนวทางในการจำแนกกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม โดยใช้พฤติกรรมไม่เหมาะสมในโรงเรียนที่บ่งชี้ทางอ้อมว่าอาจเกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก และวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานในแนวทางดังกล่าว โดยดำเนินการในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งใน จ.อุบลราชธานี ซึ่งถูกคัดเลือกโดยเฉพาะเจาะจง ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2541-มีนาคม 2542 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนทุกคนในโรงเรียน สังเกต บันทึก และรายงานพฤติกรรมดังกล่าว โดยอาจารย์ประจำชั้น/ที่ปรึกษา รวบรวมข้อมูลจากการรายงาน การสนทนากลุ่มกับอาจารย์ประจำชั้น/ที่ปรึกษา และแบบรายงานตนเองในนักเรียนกลุ่มเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการในการจำแนกมีความชัดเจนทั้งแบบบันทึก ระบบการรายงาน และเกณฑ์ในการจำแนก ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาบางประการในการสังเกตพฤติกรรม นอกห้องเรียนและความถูกต้องของการสังเกต มีนักเรียนที่ถูกจำแนกว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง 237 คน (ร้อยละ 8.3) ในจำนวนกลุ่มเสี่ยงที่เก็บแบบรายงานตนเองได้ 162 คน มีผู้ที่มีประสบการณ์ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งมาก่อน 129 คน (ร้อยละ 14.8) ชนิดของสารที่เคยใช้เรียงตามลำดับ คือ แอลกอฮอล์ ร้อยละ 74.7 บุหรี่ ร้อยละ 50.6 แอมเฟตามีน ร้อยละ 14.8 ยานอนหลับ ร้อยละ 6.8 กัญชา ร้อยละ 4.3 สารระเหย ร้อยละ 1.9 ซึ่ง แนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังปัญหาสารเสพติดในโรงเรียนและสามารถนำไปปฏิบัติได้ในการทำงานจริง ข้อเสนอแนะในการศึกษาต่อไป คือควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนักเรียนที่ไม่ถูกคัดกรองและกลุ่มที่ถูกระบุว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย