ประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาสามัญ risperidone solution กับยาต้นตำรับในการรักษาผู้ป่วย autism spectrum disorders

ผู้แต่ง

  • จินตนา ปรัชญาสันติ, ภ.ม. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต https://orcid.org/0000-0001-5454-7771
  • พัณณพัฒน์ พรรณ์แผ้ว, ภ.ม. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์, พ.บ. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • อาภาภรณ์ พึ่งยอด, พ.บ. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • ศิริพรรณ แสนลัง, วท.บ. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • ภาวินี บุญสวรรค์ส่ง, พย.บ. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ออทิสติก สเปกตรัม, อาการไม่พึงประสงค์, risperidone solution

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ระหว่างการใช้ยาสามัญ risperidone solution กับยาต้นตำรับในการรักษาผู้ป่วยออทิสติกสเปกตรัม

วิธีการ : เป็นการวิจัยเปิดแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยออทิสติกสเปกตรัม อายุระหว่าง 3 - 12 ปี ที่ได้รับยา risperidone solution ครั้งแรกจำนวน 60 คน ใช้ตารางเลขสุ่มแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน โดยกลุ่มทดลองได้รับยาสามัญ risperidone solution และกลุ่มควบคุมได้รับยาต้นตำรับ risperidone solution ประเมินประสิทธิผลของยาด้วย aberrant behavior checklist-community (ABC-C) ก่อนได้รับยา และหลังได้รับยา 4, 8 และ 24 สัปดาห์ และประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หลังได้รับยา 4, 8, และ 24 สัปดาห์

ผล : หลังจากได้รับยา 4 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ย ABC-C หมวด irritability ของกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มทดลองลดลงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (14.7 + 10.7 คะแนน และ 16.5 + 8.6 คะแนน ตามลำดับ) ขนาดยาเฉลี่ยและอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ปากแห้ง ท้องผูก และน้ำลายไหล ระหว่างทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน ยกเว้นอาการง่วงนอนที่พบในกลุ่มที่ได้รับยาต้นตำรับมากกว่ายาสามัญ

สรุป : ประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์ของยาสามัญ risperidone solution และยาต้นตำรับในการรักษาผู้ป่วยออทิสติกสเปกตรัมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นอาการง่วงนอนซึ่งพบในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้นตำรับมากกว่า

Downloads

Download data is not yet available.

References

Lord C, Elsabbagh M, Baird G, Veenstra-Vanderweele J. Autism spectrum disorder. Lancet. 2018;392(10146):508-20. doi:10.1016/S0140-6736(18)31129-2.

American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders. 5th ed. Virginia: American Psychiatric Association; 2013.

Guzman f. Risperidone indications: FDA approved and off label uses. [cited 2020 Feb 17]. Available from: http://psychopharmacologyinstitute.com/antipsychotics/risperidone/risperidone-indications-fda-approved-and-off-label-uses/.

Benvenuto A, Battan B, Porfirio MC, Curatolo P. Pharmacotherapy of autism spectrum disorders. Brain Dev. 2013;35(2):119-27. doi:10.1016/j.braindev.2012.03.015.

McCracken JT, McGough J, Shah B, Cronin P, Hong D, Aman MG, et al. Risperidone in children with autism and serious behavioral problems. N Engl J Med. 2002;347(5):314-21. doi:10.1056/NEJMoa013171.

Truven health analytics micromedex solutions. Risperidone [Internet]. Greenwood Village CO: Truven Health Analytics. 2020 [cited 2020 Feb 17]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2563 [National list of essential medicines 2020] [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2563]. จาก: http://ndi.fda.moph.go.th/.

กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการศึกษาชีวประสิทธิผล และชีวสมมูลของผลิตภัณฑ์ยา [ASEAN guidelines for the Conduct of Bioavailability and Bioequivalence studies 2009]. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2552.

Martin A, Scahill L, Anderson GM, Aman M, Arnold LE, McCracken J, et al. Weight and leptin changes among risperidone-treated youths with autism: 6-month prospective data. Am JPsychiatry. 2004;161(6):1125-7. doi:10.1176/appi.ajp.161.6.1125.

Chavez B, Chavez-Brown M, Rey JA. Role of risperidone in children with autism spectrum disorder. Ann Pharmacother. 2006;40(5):909-16. doi:10.1345/aph.1G389.

Hsu CW, Lee SY, Wang LJ. Comparison of the effectiveness of brand-name and generic antipsychotic drugs for treating patients with schizophrenia in Taiwan. Schizophr Res. 2018;193:107-13. doi:10.1016/j.schres.2017.06.020.

Hardan AY, Fung LK, Amin H. Risperidone: switching from brand name to generic. J Child Adolesc Psychopharmacol. 2010;20(5):457-8. doi:10.1089/cap.2010.0013.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, McNeil E. n4Studies: sample size calculation for an epidemiological study on a smart device. Siriraj Med J. 2016;68(3):160-7.

Shea S, Turgay A, Carroll A, Schulz M, Orlik H, Smith I, et al. Risperidone in the treatment of disruptive behavioral symptoms in children with autistic and other pervasive developmental disorders. Pediatrics. 2004;114(5):e634-41. doi:10.1542/peds.2003-0264-F.

อัศวิน นาคพงศ์พันธุ์, ชวนันท์ ชาญศิลป์. การแปลแบบข้ามวัฒนธรรมและการศึกษาคุณสมบัติการวัดทางจิตวิทยาของ. แบบประเมิน Aberrant Behavior Checklist-Community (ABC-C) ฉบับภาษาไทย [Cross-Cultural translation and psychometric properties study of aberrant behavior checklist-community, Thai version]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศ. 2562;64(2):197-206.

Busner J, Targum SD. The clinical global impressions scale: applying a research tool in clinical practice. Psychiatry (Edgmont). 2007;4(7):28-37.

Byerly MJ, Nakonezny PA, Rush AJ. The brief adherence rating scale (BARS) validated against electronic monitoring in assessing the antipsychotic medication adherence of outpatients with schizophrenia and schizoaffective disorder. Schizophr Res. 2008;100(1-3):60-9. doi:10.1016/j.schres.2007.12.470.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-12