ประสิทธิผลของดนตรีบำบัดร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ความวิตกกังวล, ดนตรีบำบัด, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกับดนตรีบำบัดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อระดับความวิตกกังวลและความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน
วิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เป็นกลุ่มทดลอง (50 ราย) และกลุ่มควบคุม (51 ราย) ทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาตามโปรแกรมมาตรฐาน 2 สัปดาห์ แต่กลุ่มทดลองได้รับดนตรีบำบัดเพิ่มเติม ประเมินระดับความวิตกกังวลด้วย Zung’s self-rating scale และประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (SMNRC functional assessment) ก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม
ผล : กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53) อายุเฉลี่ย 63.4 ปี (SD = 11.4) หลังรับโปรแกรมฟื้นฟูทั้งสองกลุ่มมีคะแนนความวิตกกังวลลดลงและคะแนนความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มทดลองมีระดับความวิตกกังวลลดลงอย่างน้อยหนึ่งระดับมากกว่ากลุ่มควบคุม 1.5 เท่า (95% RR: 1.2 - 1.8) แต่ระดับความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ความถดถอยแบบโลจิสติกแบบไม่มีเงื่อนไข และ backward selection stepwise ในปัจจัยเพศ อายุ โรคร่วม ชนิดของโรคเลือดสมอง ระดับความรู้ความเข้าใจอุปกรณ์ติดตัว และดนตรีบำบัด พบว่ากลุ่มที่ได้รับดนตรีบำบัดมีระดับความวิตกกังวลลดลงอย่างน้อยหนึ่งระดับมากกว่ากลุ่มควบคุม 9.72 เท่า (95% CI adjusted OR: 2.57, 36.70)
สรุป : การใช้ดนตรีกระตุ้นร่วมกับโปรแกรมการฟื้นฟูปกติช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันในระยะการฟื้นฟูที่ยาวนานขึ้น
Downloads
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2560 [World paralysis day campaign messages in 2017]. นนทบุรี: สำนัก; 2560.
Rafsten L, Danielsson A, Sunnerhagen KS. Anxiety after stroke: a systematic review and meta-analysis. J Rehabil Med. 2018;50(9):769-78. doi:10.2340/16501977-2384.
Knapp P, Dunn-Roberts A, Sahib N, Cook L, Astin F, Kontou E, et al. Frequency of anxiety after stroke: an updated systematic review and meta-analysis of observational studies. Int J Stroke. 2020;15(3):244-55. doi:10.1177/1747493019896958.
Jeong S, Kim MT. Effects of a theory-driven music and movement program for stroke survivors in a community setting. Appl Nurs Res. 2007;20(3):125-31. doi:10.1016/j.apnr.2007.04.005.
Nutt DJ, Ballenger JC. Anxiety Disorders [Internet]. Massachusetts: Blackwell Science; 2003 [cited 2020 May 15] Available from: https://books.google.co.th/books?id=swAE2bRjV8UC
Simpson HB, Neria Y, Lewis-Fernández R, Schneier F, editors. Anxiety Disorders: Theory, Research and Clinical Perspectives [Internet]. Cambridge: Cambridge University Press; 2010 [cited 2020 Jan 11]. Available from: https://books.google.co.th/books?id=s_z03KmH8QoC
Kneebone I, Walker-Samuel N, Swanston J, Otto E. Relaxation training after stroke: potential to reduce anxiety. Disabil Rehabil. 2014;36(9):771-4. doi:10.3109/09638288.2013.808275.
Bowen A, Hazelton C, Pollock A, Lincoln NB. Cognitive rehabilitation for spatial neglect following stroke. Cochrane database Syst Rev. 2013;7:CD003586. doi:10.1002/14651858.CD003586.pub3.
Reid JM, Dai D, Delmonte S, Counsell C, Phillips SJ, MacLeod MJ. Simple prediction scores predict good and devastating outcomes after stroke more accurately than physicians. Age Ageing. 2017;46(3):421–6. doi:10.1093/ageing/afw197.
จิรภรณ์ อังวิทยาธร. ดนตรีบำบัด [Internet]. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2563 ]. จาก: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/395/
Duerksen, George L. Music therapy. Grove Music Online. January 2014 [cited 2020 Jun 5]. Available from: https://doi.org/10.1093/gmo/9781561592630.article.A2242442
Antić S, Morović S, Kes VB, Zavoreo I, Jurašić MJ, Demarin V. Enhancement of stroke recovery by music. Period Biol. 2012;114(3):397–401.
Thaut MH, McIntosh GC. Neurologic Music Therapy in Stroke Rehabilitation. Curr Phys Med Rehabil Rep. 2014;2:106-13. doi:10.1007/s40141-014-0049-y.
Strzemecka J. Music therapy in stroke rehabilitation. J Pre Clin Clin Res. 2013;7(1):23–6. doi:10.26444/jpccr/71429.
กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. คู่มือการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการ ตามประกาศกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 [Disability diagnosis and assessment manual according to the announcement of the ministry of social development and human security re: types and criteria for disability (No.2), 2012]. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ; 2555.
Dardarananda R, Potisuk S, Gandour J, Holasuit S. Thai Adaptation of the Western Aphasia Battery (WAB). Chiang Mai Med J. 1995;34(3):157-9.
เอกรัตน์ อ่อนน้อม, ชนัญกาญจน์ แสงประสาน, นฤพนธ์ วงค์จตุรภัทร. การพัฒนาแบบประเมินคุณลักษณะของดนตรีที่ใช้สร้างแรงกระตุ้นในระหว่างการออกกำลังกายสำหรับคนไทย [Development of an instrument to assess the motivational qualities of music in exercise: Thai music rating inventory]. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 2558;15(2):405-17.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง [Clinical practice guidelines for stroke rehabilitation]. นนทบุรี: สถาบัน; 2550.
Zung WW. A rating instrument for anxiety disorders. Psychosomatics. 1971;12(6):371-9. doi:10.1016/S0033-3182(71)71479-0.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีจีทูล จำกัด; 2551.
Le Danseur M, Crow AD, Stutzman SE, Villarreal MD, Olson DM. Music as a therapy to alleviate anxiety during inpatient rehabilitation for stroke. Rehabil Nurs. 2019;44(1):29-34. doi:10.1097/rnj.0000000000000102.
Forsblom A, Särkämö T, Laitinen S, Tervaniemi M. The effect of music and audiobook listening on people recovering from stroke: the patient's point of view. Music Med. 2010;2(4):229–34. dol:10.1177/1943862110378110.
Kim DS, Park YG, Choi JH, Im SH, Jung KJ, Cha YA, et al. Effects of music therapy on mood in stroke patients. Yonsei Med J. 2011;52(6):977-81. doi:10.3349/ymj.2011.52.6.977.
Grewe O, Nagel F, Kopiez R, Altenmüller E. Listening to music as a re-creative process: Physiological, psychological, and psychoacoustical correlates of chills and strong emotions. Music Percept. 2007;24(3):297-314. dol:10.1525/mp.2007.24.3.297.
Menon V, Levitin DJ. The rewards of music listening: response and physiological connectivity of the mesolimbic system. Neuroimage. 2005;28(1):175–84. doi:10.1016/j.neuroimage.2005.05.053.
อัญชลี ชุ่มบัวทอง, จันทนา ยิ้มน้อย, ชษาพิมพ์ สัมมา. ดนตรีบำบัด [Music therapy]. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2017;3(2):77–87.
Matteis M, Silvestrini M, Troisi E, Cupini LM, Caltagirone C. Transcranial doppler assessment of cerebral flow velocity during perception and recognition of melodies. J Neurol Sci. 1997;149(1):57-61. doi:10.1016/s0022-510x(97)05375-6.
Grau-Sánchez J, Duarte E, Ramos-Escobar N, Sierpowska J, Rueda N, Redón S, et al. Music-supported therapy in the rehabilitation of subacute stroke patients: a randomized controlled trial. Ann N Y Acad Sci. 2018. doi:10.1111/nyas.13590.
Schneider S, Schonle PW, Altenmuller E, Munte TF. Using musical instruments to improve motor skill recovery following a stroke. J Neurol. 2007;254(10):1339–46. doi:10.1007/s00415-006-0523-2.
Klaphajone J, Thaikruea L, Boontrakulpoontawee M, Vivatwongwana P, Kanongnuch S, Tantong A. Assessment of music therapy for rehabilitation among physically disabled people in Chiang Mai province: a pilot study. Music Med. 2013:5(1);23-30 doi:10.1177/1943862112470462.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย