ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การรับรู้ความเครียด, การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์, โควิด 19, ภาวะซึมเศร้าบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความเครียด และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในกรุงเทพมหานคร
วิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลจาก “โครงการการดูแลจิตใจทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ในเขตกรุงเทพมหานคร” ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 29 พฤษภาคม 2563 จำนวน 898 คน เจ้าหน้าที่โครงการสัมภาษณ์ผู้ป่วยทางโทรศัพท์ด้วยแบบประเมินการรับรู้ความเครียด ประเมินภาวะซึมเศร้า (9Q) และแบบประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย (8Q) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ chi-square เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ
ผล : ความชุกของการรับรู้ความเครียดในผู้ป่วยโรคโควิด 19 พบได้ร้อยละ 30.8 แบ่งเป็นการรับรู้ความเครียดจากปัจจัยด้านโรคโควิด 19 ด้านชุมชนและสังคม และด้านครอบครัว ร้อยละ 59.6, 38.6 และ 27.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และสถานะการรักษาแบบผู้ป่วยใน ส่วนความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 เท่ากับร้อยละ 16.5 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศ และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเครียดมากกว่า 2 ด้านขึ้นไป
สรุป : การรับรู้ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ค่อนข้างสูง โดยสัมพันธ์กับเพศ นอกจากนั้นการรับรู้ความเครียดสัมพันธ์กับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ส่วนภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเครียดมากกว่า 2 ด้านขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากนำไปใช้ในบริบทอื่นที่แตกต่างควรคำนึงถึงข้อจำกัดจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
Downloads
References
ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ประเทศไทย [Corona virus (COVID-19), Thailand] [อินเทอร์เน็ต]. Google news; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564]. จาก: https://news.google.com/covid19/map?hl=th&mid=%2Fm%2F07f1x&gl=TH&ceid=TH%3Ath
Wang C, Pan R, Wan X, Tan Y, Xu L, Ho CS, et al. Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 coronavirus disease (COVID-19) epidemic among the general population in China. Int J Environ Res Public Health. 2020;17(5):1729. doi:10.3390/ijerph17051729.
Shi L, Lu ZA, Que JY, Huang XL, Liu L, Ran MS, et al. Prevalence of and risk factors associated with mental health symptoms among the general population in China during the coronavirus disease 2019 pandemic. JAMA Netw Open. 2020;3(7):e2014053. doi:10.1001/jamanetworkopen.2020.14053.
Dai LL, Wang X, Jiang TC, Li PF, Wang Y, Wu SJ, et al. Anxiety and depressive symptoms among COVID-19 patients in Jianghan Fangcang Shelter hospital in Wuhan, China. PLoS One. 2020;15(8):e0238416. doi: 10.1371/journal.pone.0238416.
Bo HX, Li W, Yang Y, Wang Y, Zhang Q, Cheung T, et al. Posttraumatic stress symptoms and attitude toward crisis mental health services among clinically stable patients with COVID-19 in China. Psychol Med. 2020:1-2. doi:10.1017/S0033291720000999.
Chua SE, Cheung V, McAlonan GM, Cheung C, Wong JW, Cheung EP, et al. Stress and psychological impact on SARS patients during the outbreak. Can J Psychiatry. 2004;49(6):385-90. doi:10.1177/070674370404900607.
Wu KK, Chan SK, Ma TM. Posttraumatic stress, anxiety, and depression in survivors of severe acute respiratory syndrome (SARS). J Trauma Stress. 2005;18(1):39-42. doi:10.1002/jts.20004.
Cheng SK, Wong CW, Tsang J, Wong KC. Psychological distress and negative appraisals in survivors of severe acute respiratory syndrome (SARS). Psychol Med. 2004;34(7):1187-95. doi:10.1017/s0033291704002272.
Wing YK, Ho SM. Mental health of patients infected with SARS. In: Chan JCK, Wong VC, editors. Challenges of severe acute respiratory syndrome. Hong Kong: Elsevier (Singapore) Pte Ltd; 2006. p. 590.
Mak IW, Chu CM, Pan PC, Yiu MG, Chan VL. Long-term psychiatric morbidities among SARS survivors. Gen Hosp Psychiatry. 2009;31(4):318-26. doi:10.1016/j.genhosppsych.2009.03.001.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ โควิด-19 [COVID-19 situation report] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม: 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2563]. จาก: https://covid19.ddc.moph.go.th/.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมิน 2Q 9Q และ 8Q [Evaluation form 2Q, 9Q and 8Q] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564]. จาก: https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
Tsang HW, Scudds RJ, Chan EY. Psychosocial impact of SARS. Emerg Infect Dis. 2004;10(7):1326-7. doi:10.3201/eid1007.040090.
คณะทำงานสังเคราะห์บทเรียนการรับมืออภิมหาอุทกภัย 2554. สังเคราะห์บทเรียนการรับมือมหาอุทกภัย 2554 [Synthesis of lessons on dealing with the great flood 2011] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2555 [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2563]. จาก: http://k4ds.psu.ac.th/k4dm/file/km/hs1975.pdf
Kongsuk T, Kittirattanapaiboon P, Kenbubpha K, Sukawaha S, Leejongpermpoon J. The prevalence of major depressive disorders in Thailand: results from the epidemiology of mental disorders national survey 2008. Paper presented at: WPA section on epidemiology and public health meeting, prediction in psychiatric epidemiology - from childhood and adolescence to adulthood; 2010 Jul 11–14; Lisbon, Portugal.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย