ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์, พ.บ. โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความเครียด, โควิด-19, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อสำรวจความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

วิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในประชาชนเขตคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว จำนวน 2,030 คน เก็บข้อมูลเดือนมิถุนายน 2563 โดยใช้แบบสอบถามประเมินความเครียด ST5 และแบบประเมินซึมเศร้า 2Q และ 9Q วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้า โดยใช้สถิติ unpaired t-test และ chi-square

ผล : ความชุกของความเครียดและภาวะซึมเศร้าของประชาชนเท่ากับร้อยละ 0.9 และ 1.5 ตามลำดับ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและภาวะซึมเศร้ากับ อายุ เพศ อาชีพ โรคประจำตัว และลักษณะการทำงานที่เสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ในขณะที่ประวัติไปในพื้นที่เสี่ยงโควิด-19 การเป็นผู้แยกสังเกตอาการ/ผู้กักกันตัว การเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค และการมีญาติเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค/ติดเชื้อโควิด-19 มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่พบความสัมพันธ์กับความเครียด  

สรุป : กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงการสัมผัสเชื้อโควิด-19 โดยตรง พบว่าสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า ควรมีการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในประชากรกลุ่มนี้และให้การดูแลช่วยเหลือด้านจิตใจเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

Li H, Liu S, Yu X, Tang S, Tang C. Coronavirus disease 2019 (COVID-19): current status and future perspectives. Int J Antimicrob Agents. 2020;55(5):105951. doi:10.1016/j.ijantimicag.2020.105951.

Rajkumar RP. COVID-19 and mental health: a review of the existing literature. Asian J Psychiatr. 2020;52:102066. doi:10.1016/j.ajp.2020.102066.

Pappa S, Ntella V, Giannakas T, Giannakoulis VG, Papoutsi E, Katsaounou P. Prevalence of depression, anxiety, and insomnia among healthcare workers during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Brain Behav Immun. 2020;88:901-7. doi:10.1016/j.bbi.2020.05.026.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Coronavirus disease 2019 (COVID-19)] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2563]. จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia

กรมสุขภาพจิต. โควิด 19 กับสุขภาพจิต [COVID-19 and mental health] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2563]. จาก: https://www.dmh.go.th/covid19

Elbay RY, Kurtulmus A, Arpscioglu S, Karadere E. Depression, anxiety, stress levels of physicians and associated factors in Covid-19 pandemics. Psychiatry Res. 2020;290:113-30. doi:10.1016/j.psychres.2020.113130.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19) [Situation corona virus (COVID-19)] [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2563]. จาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/coronavirus_situation.php

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ ผู้ประสบภาวะวิกฤตในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Mental health crisis assessment and treatment team: MCATT COVID-19]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

Salari N, Hosseinian-Far A, Jalali R, Vaisi-Raygani A, Rasoulpoor S, Mohammadi M, et al. Prevalence of stress, anxiety, depression among the general population during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Global Health. 2020;6;16(1):57. doi:10.1186/s12992-020-00589-w.

Wang C, Pan R, Wan X, Tan Y, Xu L, Ho CS, et al. Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 Coronavirus disease (COVID-19) epidemic among the general population in China. Int J Environ Res Public Healt. 2020;17(5):1729. doi:10.3390/ijerph17051729.

Kavan MG, Elsasser GN, Barone EJ. The Physician’s role in managing acute stress disorder. Am Fam Physician. 2012;86(7):643-9. PMID:23062092.

Xiong J, Lipsitz O, Nasri F, Lui LM, Gill H, Phan L, et al. Impact of COVID-19 pandemic on mental health in the general population: a systematic review. J Affect Disord. 2020;277:55–64. doi:10.1016/j.jad.2020.08.001.

Maurer DM, Raymond TJ, Davis BN. Depression: screening and diagnosis. Am Fam Physician. 2018;98(8):508-15. PMID:30277728.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-22