ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ คลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิชุดา จิรพรเจริญ, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กนกพร ภิญโญพรพาณิชย์, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชัยสิริ อังกุระวรานนท์, ปร.ด. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อัศวิน โรจนสุมาพงศ์, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชลอวัฒน์ อินปา, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นพคุณ นันท์ศุภวัฒน์, พ.บ. ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว, ความชุก, เชียงใหม่, ผู้สูงอายุ, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า รวมถึงความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในผู้สูงอายุคลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว

วิธีการ : ศึกษาแบบภาคตัดขวางในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ที่คลินิกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ถึงมกราคม พ.ศ. 2561  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุ (Thai Version of Geriatric Depression Scale-15; TGDS - 15) และแบบสอบถามความพึงพอใจแรงสนับสนุนจากครอบครัว (The Family APGAR Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา, Chi-square test และ logistic regression

ผล : กลุ่มตัวอย่าง 196 ราย อายุเฉลี่ย 66.1 ± 5.4 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 61.7 พบความชุกภาวะซึมเศร้าร้อยละ 13.3 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวระดับปานกลางถึงต่ำ ต้องมีผู้ดูแลในชีวิตประจำวัน การรับรู้ความเพียงพอของรายได้ รายได้น้อยกว่า 10,000 บาท  ระดับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา การไม่ได้ออกกำลังกาย และ เพศหญิง โดยการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวระดับปานกลางถึงต่ำ เพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้า 17.5 เท่า กลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้ามีคะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว 5 ด้านต่ำกว่ากลุ่มไม่มีภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01)

สรุป : ความชุกภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในการศึกษานี้สูงเล็กน้อย โดยการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า การเพิ่มแรงสนับสนุนจากครอบครัวและคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในผู้สูงอายุ อาจช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). Situation of the Thai elderly 2015. Bangkok: Amarin Printing and Publishing; 2016.

นภา พวงรอด. การศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี [The study on depression in Nonthaburi province elderly]. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2558;2(1):63-74.

อรสา ใยยอง. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี [Depression and grief of the elderly at the elderly associate in Nonthaburi province] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, อุมาพร อุดมทรัพยากุล. ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรสูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่ [Prevalence of depression among the elderly in Chiang Mai province]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554;56(2):103-16.

Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry: behavioral sciences/clinical psychiatry. 11th ed. Philadephia: Lippincott Williams & Wilkins; 2015.

Bundhamcharoen K, Odton P, Phulkerd S, Tangcharoensathien V. Burden of disease in Thailand: changes in health gap between 1999 and 2004. BMC Public Health. 2011;11:53. doi:10.1186/1471-2458-11-53.

Wang J, Zhao X. Family functioning and social support for older patients with depression in an urban area of Shanghai, China. Arch Gerontol Geriatr. 2012;55(3):574-9. doi:10.1016/j.archger.2012.06.011.

de Oliveira SC, dos Santos AA, Pavarini SC. The relationship between depressive symptoms and family functioning in institutionalized elderly. Rev Esc Enferm USP. 2014;48(1):66-72. doi:10.1590/S0080-623420140000100008.

Marinho PEM, Melo KP, Apolinário AD, Bezerra E, Freitas J, Melo DM, et al. Undertreatment of depressive symptomatology in the elderly living in long stay institutions and in the community in Brazil. Arch Gerontol Geriatr. 2010;50(1):151-5. doi:10.1016/j.archger.2009.03.002.

รายงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่ [Chiang Mai provincial statistic report] [Internet]. เชียงใหม่: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2562]. จาก: http://chiangmai.old.nso.go.th/nso/project/search/index.jsp?province_id=48&fid=3

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30:607-10.

Wangtongkum S, Sucharitakul P, Wongjaroen S, Maneechompoo S. Prevalence of depression among a population aged over 45 years in Chiang Mai, Thailand. J Med Assoc Thai. 2008;91(12):1812-6. PMID: 19133514.

Wongpakaran N, Wongpakaran T. Prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: a report from northern Thailand. Psychogeriatrics. 2012;12(1):11-7. doi:10.1111/j.1479-8301.2011.00383.x.

Marc LG, Raue PJ, Bruce ML. Screening performance of the 15-item geriatric depression scale in a diverse elderly home care population. Am J Geriatr Psychiatry. 2008 Nov;16(11):914-21. doi: 10.1097/JGP.0b013e318186bd67.

Smilkstein G, Ashworth C, Montano D. Validity and reliability of the family APGAR as a test of family function. J Fam Pract. 1982;15(2):303-11.

พรทิพย์ มาลาธรรม, จิราพร คงเอี่ยม, ประคอง อินทรสมบัติ. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท [Relationships of family support and friend support to life satisfaction of older adults in rural areas]. รามาธิบดีพยาบาลวาสาร. 2552;15(3):431-48.

นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์, โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ณ หมู่บ้านประชานิเวศน์ [Prevalence and associated factors of depression in the elderlies at Pracha Niwet village]. วารสารสุขภาพจิตแหงประเทศไทย. 2562;27(3):183-95

อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน เขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น [Prevalence and factors associated with depression among the elderly community residents with chronic diseases in Samliam urban primary care unit, Khon Kaen]. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(1):25-33.

มาโนช ทับมณี. ความซึมเศร้าและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทยในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร [Depression and dementia among Thai elderly in Bangkok]. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 2544;2:43-57.

Acciai F, Hardy M. Depression in later life: A closer look at the gender gap. Soc Sci Res. 2017;68:163-75. doi:10.1016/j.ssresearch.2017.08.003.

Sassarini DJ. Depression in midlife women. Maturitas. 2016;94:149-54. doi:10.1016/j.maturitas.2016.09.004.

Baiyewu O, Yusuf AJ, Ogundele A. Depression in elderly people living in rural Nigeria and its association with perceived health, poverty, and social network. Int Psychogeriatr. 2015;27(12):2009-15. doi:10.1017/S1041610215001088.

Souza RA, Costa GDd, Yamashita CH, Amendola F, Gaspar JC, Alvarenga MRM, et al. Family functioning of elderly with depressive symptoms. Rev Esc Enferm USP. 2014;48(3):469-76. doi:10.1590/s0080-623420140000300012.

Yasunaga A, Tokunaga M. The relationships among exercise behavior, functional ADL, and psychological health in the elderly. J Physiol Anthropol Appl Human Sci. 2001;20(6):339-43. doi:10.2114/jpa.20.339.

Wada T, Ishine M, Sakagami T, Okumiya K, Fujisawa M, Murakami S, et al. Depression in Japanese community-dwelling elderly--prevalence and association with ADL and QOL. Arch Gerontol Geriatr. 2004;39(1):15-23. doi:10.1016/j.archger.2003.12.003.

Bhamani MA, Khan MM, Karim MS, Mir MU. Depression and its association with functional status and physical activity in the elderly in Karachi, Pakistan. Asian J Psychiatr. 2015;14:46-51. doi:10.1016/j.ajp.2014.12.004.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า : ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ [Depression: A significant mental health problem of elderly]. วารสารพยาบาลทหารบก.2014;15(3):24-31.

Lenze EJ, Rogers JC, Martire LM, Mulsant BH, Rollman BL, Dew MA, et al. The association of late-life depression and anxiety with physical disability: a review of the literature and prospectus for future research. Am J Geriatr Psychiatry. 2001;9(2):113-35. PMID: 11316616.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-22