สุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ ชุนงาม, พ.บ. โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แพทย์, ภาวะหมดไฟ, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับสุขภาพจิตและภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา หาความสัมพันธ์ของสุขภาพจิตกับภาวะหมดไฟในการทำงาน และปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟในการทำงาน

วิธีการ: ประชากรแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา สุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 185 คน ส่งแบบสอบทางไปรษณีย์ ประกอบด้วยแบบสอบถามดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (TMHI-55) และแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข วิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้สถิติถดถอยพหุแบบ stepwise เพื่อหาปัจจัยทำนาย

ผล: อัตราการตอบกลับร้อยละ 60.5 กลุ่มตัวอย่างเพศชาย ร้อยละ 51.8 อายุเฉลี่ย 29.24 ปี คะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยอยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไปทั้งภาพรวมและแต่ละด้าน ภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ในระดับสูงร้อยละ 43.7 การลดความเป็นบุคคลในระดับสูงร้อยละ 45.5 และความสำเร็จส่วนบุคคลในระดับสูงร้อยละ 100 สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานในเชิงลบ โดยสุขภาพจิต การเป็นแพทย์เฉพาะทาง และความพึงพอใจในการทำงานสามารถทำนายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ และการลดความเป็นบุคคลได้ร้อยละ 50.5 และ 45.5 ตามลำดับ ในขณะที่สุขภาพจิต เพศหญิง และชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ทำนายภาวะหมดไฟด้านความสำเร็จส่วนบุคคลได้ร้อยละ 45.5

สรุป: แพทย์ส่วนใหญ่มีภาวะหมดไฟในการทำงานแต่ละด้านในระดับสูง ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยปกป้องสามารถทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ได้ การพัฒนาแนวทางการป้องกันและการดูแลช่วยเหลือภาวะหมดไฟในการทำงานของแพทย์ควรเป็นหนึ่งในความสำคัญของการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Burn-out an "Occupational phenomenon": International Classification of Diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2019 [cited 2019 Nov 11]. Available from: https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/.

กมลพร วรรณฤทธิ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน [burnout syndrome] [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2562]. จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1385

Patel RS, Bachu R, Adikey A, Malik M, Shah M. Factor related to physician burnout and its consequences: a review. Behav Sci (Basel). 2018;8(11):98. doi:10.3390/bs8110098.

Maslach C, Jackson SE, Leiter MP. Maslach Burnout Inventory Manual. 3rd ed. Palo Alto CA: Consulting Psychologists Press; 1996.

Rotenstein LS, Torre M, Ramos MA, Rosales RC, Guille C, Sen S, et. al. Prevalence of burnout among physicians: a systematic review. JAMA. 2008;320:1131–50. doi:10.1001/jama.2018.12777.

Rothenberger DA. Physician burnout and well-being: a systematic review and framework for action. Dis Colon Rectum. 2017;60:567-76. doi:10.1097/DCR.0000000000000844.

Maslach C, Leiter MP. Understanding the burnout experience: recent research and its implications for psychiatry. World Psychiatry. 2016;15:103-11. doi:10.1002/wps.20311.

Dyrbye LN, Burke SE, Hardeman RR, Herrin J, Wittlin NM, Yeazel M, et al. Association of clinical specialty with symptoms of burnout and career choice regret among US resident physicians. JAMA. 2018;320:1114-30. doi:10.1001/jama.2018.12615.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, แก้วใจ เทพสุธรรมรัตน์, และคณะ. การศึกษาสุขภาพจิตคนไทย ปี พ.ศ. 2550 [Thai mental health study 2007]. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันธ์; 2552.

นันทาวดี วรวสุวัส, มนัสพงษ์ มาลา, กุลิสรา พิศาลเอก. โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ ป้องกันภาวะหมดไฟ ดูแลใจคนทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 [The development of model to enhancing psychological immunity and burnout prevention for Health Region 7 Health Officials: EPI-BP Model]. ขอนแก่น: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7; 2560.

ภักคพล วงค์นาตาล, ฟาติฮะห์ หะยี, ฟาตีม๊ะ นุ่งอาหลี, ภัทรวดี แก้วเนตร, ภัสสร ชัยมุสิก. สุขภาพจิตของบุคลากรโรงพยาบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา [Mental health of personnel in Meung Songkhla Hospital, Songkhla]. สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา; 2554.

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์, ผกาสรณ์ อุไรวรรณ, ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. สุขภาพจิตของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขในเครือข่ายภาคใต้ [Mental health of personnel in Southern College Network]. เอกสารประกอบการประชุม : การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ร่วมมือ ร่วมพลัง มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดีในปี 2563 ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; กรุงเทพฯ.

Romani M, Ashkar K. Burnout among physicians. Libyan J Med. 2014;9:23556. doi:10.3402/ljm.v9.23556.

ณรงค์ พิมพา, วิษณุ มงคลคำ, สุทธิชัย ศิรินวล. การศึกษาความท้อแท้และสาเหตุของความท้อแท้ของแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสุโขทัย [The study of burnout and its causes, among medical doctors who work in the hospitals attached to the ministry of public health in Sukhothai Province] [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2550.

ติรยา เลิศหัตถศิลป์. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของจิตแพทย์ในประเทศไทย [Burnout among psychiatrists in Thailand: National survey]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2554 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2562];56:437-48. จาก: http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-4/10-Tiraya.pdf

Ahola K, Hakanen J, Perhoniemi R, Mutanen P. Relationship between burnout and depressive symptoms: a study using the person-centred approach. Burn Res. 2014;1:29–37. doi:10.1016/j.burn.2014.03.003.

Bianchi R, Schonfeld IS, Laurent E. Is burnout a depressive disorder? a re-examination with special focus on atypical depression. International Journal of Stress Management. 2014;21:307-24. doi:10.1037/a0037906.

Shanafelt TD, Balch CM, Bechamps G, Russel T, Dyrbye L, Satele D, et al. Burnout and medical errors among American surgeons. Ann Surg. 2010;251:995-1000. doi:10.1097/SLA.0b013e3181bfdab3.

Maslach C, Schaudeli WB, Leiter MP. Job burnout. Annu Rev Psychol. 2001;52:397-422. doi:10.1146/annurev.psych.52.1.397.

ศรัณย์ ศรีคำ. ภาวะเหนื่อยล้าในการทำงาน และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [Job burnout and related factors among residents of King Chulalongkorn Memorial Hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Cherniss C. Long-term consequences of burnout: an exploratory study. Journal of Organization Behavior. 1992;13:1-11. doi:10.1002/job.4030130102.

วัลลภ วิชาญเจริญสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้แทนยาบริษัทยาข้ามชาติ [Job burnout and related factors among pharmaceutical representatives of international pharmaceutical company] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Leiter MP. Coping patterns as predictors of burnout: The function of control and escapist coping patterns. Journal of Organization Behavior. 2006;12:123-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ