การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, พ.บ. กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

โควิด 19, ประเทศไทย, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

           วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของบุคคลทุกระดับ ทั้งต่อประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง ผู้สงสัยว่าอาจติดเชื้อ ผู้ป่วย และญาติ ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย ทั้งในระหว่างและภายหลังวิกฤต จึงเป็นเรื่องท้าทายของงานสุขภาพจิตที่จะเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการกับภาวะวิกฤตนี้

           บทความนี้ ได้ประมวลบทบาทขององค์กรสุขภาพจิตทั้งในระดับสากล ในระดับประเทศ และเน้นในบทบาทของกรมสุขภาพจิตที่วางแผนและผลักดันระบบการดูแลงานสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตนี้ ในระดับชุมชน/องค์กร ครอบครัว และบุคคล ทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน การเฝ้าระวังและดูแลจิตใจในกลุ่มเสี่ยง ผู้สงสัยติดเชื้อ และผู้ป่วย โดยเฉพาะการจัดการด้านสุขภาพจิตในสถานกันของรัฐและชุมชน รวมทั้งบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) การดูแลสุขภาพจิตของบุคลากรสาธารณสุข และที่สำคัญคือการดูแลสุขภาพจิตจนเข้าสู่ความปกติใหม่

           การนำองค์ความรู้และการดำเนินงานสุขภาพจิตในภาวะวิกฤตอย่างเป็นระบบโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จทั้งการควบคุมการระบาดและการแก้ไขผลกระทบทางจิตใจตามบริบทของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Mental health and psychosocial considerations during the COVID-19 outbreak [Internet]. Geneva: World Health Organization (WHO); c2020 [cited 2020 Mar 18]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/mental-health-considerations.pdf

The Inter-Agency Standing Committee. Interim Briefing Note: Addressing mental health and psychosocial aspects of COVID-19 outbreak (Version 1.5) [Internet]. Geneva: The Inter-Agency Standing Committee (IASC); c2020 [cited 2020 Mar 27]. Available from: https://interagencystandingcommittee.org/system/files/2020-03/IASC%20Interim%20Briefing%20Note%20on%20COVID-19%20Outbreak%20Readiness%20and%20Response%20Operations%20-%20MHPSS_0.pdf

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. คำแนะนำในการดูแลจิตใจช่วงการระบาดของไวรัส Covid-19 [Mental care advice during the Covid-19 virus outbreak] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ; [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2563]. จาก: https://www.rcpsycht.org/th/organization/laws-regulations

Hobfoll SE, Watson P, Bell CC, Bryant RA, Brymer MJ, Friedman MJ, et al. Five essential elements of immediate and mid–term mass trauma intervention: Empirical evidence. Psychiatry. 2007;70:283-315. doi:10.1521/psyc.2007.70.4.283.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. แนวทางการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Combat 4th Wave of COVID-19: C4]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563.

Liang T, editor. Handbook of COVID-19 Prevention and Treatment [Internet]. 2020 Mar

[cited 2020 Mar 30]. Available from: https://covid-19.alibabacloud.com/.

Weil Z. What COVID-19 Can Teach Us About Mindfulness [Internet]. 2020 Mar 13 [cited 2020 Mar 30]. Available from: https://www.psychologytoday.com/us/blog/becoming-solutionary/202003/what-covid-19-can-teach-us-about-mindfulness

สุวิทย์ เมษินทรีย์. คุณจะเลือกเป็นคนกลุ่มไหน ในวิกฤตโควิด 19? [Which group will you choose? In the COVID-19 crisis?] [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563]. จาก https://www.facebook.com/drsuvitpage/.

สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. หลักสูตรออนไลน์การดูแลจิตใจในภาวะวิกฤตโควิด 19 [Online courses in mental care crisis COVID-19] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563]. จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการปฏิบัติงานทีมช่วยเหลือเยียวยาทางจิตใจทุกระดับ [Handbook of operations for psychological healing at all levels] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563]. จาก: https://www.thaidmh-elibrary.org/content/8117/คู่มือการจัดทำแผนประคองกิจการสำหรับการปฏิบัติงานในภาวการณ์ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา-2019-covid-19-business-continuity-plan-bcp

กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด [Stress test – 5: ST5] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563]. จาก: https://www.dmh.go.th/test/qtest5/.

กรมสุขภาพจิต. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม [Depression screening form 2 questions] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563]. จาก: https://www.dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด 19 [Handbook of care for society, mind and health personnel in the crisis of COVID-19] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2563]. จาก: https://www.thaidmh-elibrary.org/content/8059/คู่มือการดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19

กรมสุขภาพจิต. อัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรหนึ่งแสนคน [The rate of suicides per one lakh people] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2544. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563]. จาก: https://dmh.go.th/report/suicide/download/view.asp?id=25

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14

ฉบับ

บท

บทความพิเศษ