การพัฒนารูปแบบลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • กัลยาณี โนอินทร์, ปร.ด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่
  • อารี ชีวเกษมสุข, ปร.ด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุภมาส อังศุโชติ, ค.ด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ความเหนื่อยหน่าย, พยาบาลวิชาชีพ, รูปแบบลดความเหนื่อยหน่าย, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน

วิธีการ : ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาสภาพปัญหาความเหนื่อยหน่าย พัฒนารูปแบบลดความเหนื่อยหน่าย ทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพประจำการปฏิบัติงานอย่างน้อยหนึ่งปีที่ตึกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงแห่งหนึ่ง จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเหนื่อยหน่าย และแบบประเมินระยะของความเหนื่อยหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบ Wilcoxon matched pairs signed - ranks test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผล : ปัญหาของความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ และการตระหนักรู้ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย ได้แก่ ปัจจัยด้านงาน และด้านองค์กร รูปแบบลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบแผนกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อบรรเทากลุ่มอาการอ่อนล้าทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และการตระหนักรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และลดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยหน่ายทั้งด้านบุคคล ด้านงาน และด้านองค์กร หลังทดลองใช้รูปแบบลดความเหนื่อยหล้าในกลุ่มตัวอย่าง 6 สัปดาห์พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพทั้งโดยรวม ด้านความอ่อนล้าทางร่างกาย และด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ น้อยกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป : รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นช่วยลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพได้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่นำไปใช้ลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักการพยาบาล. รายงานข้อมูลสำคัญด้านการพยาบาล ปี 2557 [Nursing annual report 2014]. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2558.

วิรุจน์ คุณกิตติ, ขนิษฐา นวลไธสง. ผลของการร้องเรียนแพทย์และพยาบาล : ศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย [Results of the complaints at doctor and nurse: study in the northeastern region of Thailand]. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32:366-71.

Khamisa N, Peltzer K, Oldenburg B. Burnout in relation to specific contributing factors and health outcomes among nurses: a systematic review. Int J Environ Res Public Health. 2013;10:2214-40.

Khamisa N, Oldenburg B, Peltzer K, Ilic D. Work related stress, burnout, job satisfaction and general health of nurses. Int J Environ Res Public Health. 2015;12:652-66.

Shirom A, Melamed S. A comparison of the construct validity of two burnout measures in two groups of professionals. Int J Stress Manag. 2006;13:176-200.

Maslach C, Goldberg J. Prevention of burnout: new perspectives. Appl Prev Psychol. 1998;7:63-74.

McCormack N, Cotter C. Managing burnout in the workplace. Witney: Chandos Publishing; 2013.

Miller JF. Burnout and its impact on good work in nursing. J Radiol Nurs. 2011;30:146-49.

Hall LH, Johnson J, Watt I, Tsipa A, O'Connor DB. Healthcare staff wellbeing, burnout, and patient safety: a systematic review. PLoS One. 2016;11:e0159015.

Nantsupawat A, Nantsupawat R, Kunaviktikul W, Turale S, Poghosyan L. Nurse burnout, nurse-reported quality of care, and patient outcomes in Thai hospitals. J Nurs Scholarsh. 2016;48:83-90.

Aiken LH, Clarke SP, Sloane DM, Sochalski J, Silber JH. Hospital nurse staffing and patient mortality, nurse burnout, and job dissatisfaction. JAMA. 2002;288:1987-93.

ภิญญา วงษ์นกแก้วทอง. ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงและการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโปรเกรสซีฟ ที่มีต่อความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของพยาบาล [The effects of group reality therapy and progressive muscle relaxation on burnout of nurses] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2545.

กัลยา เดชนันทรัตน์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล [Effects of group counseling on decreasing burnout of nurses] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.

Gunusen NP, Ustun B. An RCT of coping and support groups to reduce burnout among nurses. Int Nurs Rev. 2010;57:485-92.

Wei R, Ji H, Li J, Zhang L. Active intervention can decrease burnout in Ed Nurses. J Emerg Nurs. 2017;43:145-9.

Redhead K, Bradshaw T, Braynion P, Doyle M. An evaluation of the outcomes of psychosocial intervention training for qualified and unqualified nursing staff working in a low-secure mental health unit. J Psychiatr Ment Health Nurs. 2011;18:59-66.

Asuero AM, Queralto JM, Pujol-Ribera E, Berenguera A, Rodriguez-Blanco T, Epstein RM. Effectiveness of a mindfulness education program in primary health care professionals: a pragmatic controlled trial. J Contin Educ Health Prof. 2014;34:4-12.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจำลอง/ตัวแบบ [Creating and developing model]. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2560;9:1-11.

Hevezi JA. Evaluation of a meditation intervention to reduce the effects of stressors associated with compassion fatigue among nurses. J Holist Nurs. 2016;34:343-50.

Shirom A. Job-related burnout: a review. In: Quick JC, Tetrick LE, editors. Handbook of occupational health psychology. Washington, DC: American Psychological Association; 2002. p. 245-65.

Nuallaong W. Burnout symptoms and cycles of burnout: the comparison with psychiatric disorders and aspects of approaches. In: Bährer-Kohler S, editor. Burnout for experts prevention in the context of living and working. Basel: Springer; 2013.

Bilgel N, Bayram N, Ozdemir H, Dogan F, Ekin D. Work engagement, burnout and vigor among a group of medical residents in Turkey. British Journal of Education, Society & Behavioural Science. 2012;2:220-38.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น [Basic research]. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.

Montanari KM, Bowe CL, Chesak SS, Cutshall SM. Mindfulness: assessing the feasibility of a pilot intervention to reduce stress and burnout. J Holist Nurs. 2019;37:175-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-23