ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ดูแล ในโรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • สังวาลย์ พงษ์ศร, วท.บ. กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์, พ.บ., ปร.ด. ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ดูแลในโรงพยาบาลสงขลา

วิธีการ : การศึกษาเชิงพรรณนาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ที่เป็นผู้ดูแลหลักจับเป็นคู่ในโรงพยาบาลสงขลา จำนวน 31 คู่ คัดเลือกด้วยวิธีสุ่มแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทย (Beck depression inventory II: BDI-II Thai version) จำนวน 21 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติเชิงอนุมาน Independent sample t-test  และ Pearson’s chi-squared test

ผล : ผู้ป่วยล้างไตช่องท้องพบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 35.5 (95% CI = 0.19 - 0.54) สูงกว่าผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่พบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 25.8 (95% CI = 0.11 - 0.44) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ สถานะความสัมพันธ์ของผู้ดูแลกับผู้ป่วย และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และโรคประจำตัวร่วมของผู้ป่วย

สรุป : ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตหนึ่งที่สำคัญทั้งในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องและผู้ดูแล ดังนั้น กระบวนการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ควรมีการเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าทั้งในผู้ป่วยและผู้ดูแลและหา   แนวทางการป้องกันดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

The Nephrology Society of Thailand. Thailand renal replacement therapy 2015. Bangkok: The Nephrology Society of Thailand; 2015.

Fleming GM. Renal replacement therapy review: past, present and future. Organogenesis. 2011;7:2-12. doi:10.4161/org.7.1.13997.

Baboolal K, McEwan P, Sondhi S, Spiewanowski P, Wechowski J, Wilson K. The cost of renal dialysis in a UK setting--a multicentre study. Nephrol Dail Transplant. 2008;23:1982-9. doi:10.1093/ndt/gfm870.

Kanjanabuch T. CAPD apparatus, access devices, implantation techniques and surgical complication. Bangkok: Text and Journal Publication; 2008.

Kanjanabuch T, Chancharoenthana W, Katavetin P, Sritippayawan S, Praditpornsilpa K, Ariyapitipan S, et al. The incidence of peritoneal dialysis-related infection in Thailand: a nationwide survey. J Med Assoc Thai. 2011;94 Suppl 4:S7-12. PubMed PMID:22043560.

รวีวรรณ กลิ่นสุวรรณ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวรรณ สุวรรณรูป. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง [Factors predicting quality of life in family caregivers among patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis]. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560;29(1):51-66.

รัศมี บัณณสิทธิ์รัตน์. ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [Anxiety, depression, and psychosocial factors in patients with chronic kidney disease in Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ศิริอร สินธุ, รสสุคนธ์ วาริทสกุล, อรวมน ศรียุกตศุตร. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง [Factors associated with depression in elderly peritoneal dialysis patients]. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2554;29 ฉบับเพิ่มเติม 2:84-92.

สิทธิพร โนรี, อัจจิมา บวรธรรมปิติ, สุรพล โนชัยวงศ์, เกียรติเกรียงไกร โกยรัตโกศล, ชยุตพงศ์ ใจใส, เศรษฐพล ปัญญาทอง, และคณะ. ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยฟอกเลือดในเครื่องไตเทียมและผู้ป่วยล้างไตช่องท้อง [Prevalence and the correlation between depression and health related quality of life among hemodialysis and peritoneal dialysis patients]. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2560;35(4):301-12.

ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์, อรวมน ศรียุกตศุทธ, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, นพพร วองสิริมาศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในผู้หญิงที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง [Factors influencing quality of life in women receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis]. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2558;7(3):37-48.

อาทิตยา อติวิชญานนท์, ภาวนา กีรติยุตวงศ์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคไตเรื้องรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง [Predictors of self management in patients with chronic kidney disease undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis]. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2558;21(2):172-85.

สิริกาญจน์ ท่อแก้ว. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาโดยการฟอกเลือด ล้างไตในเขตจังหวัดนครปฐม [Depression in hemodialysis patients in Nakhon Pathom province] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

ดนุวัศ ศศิภิญโญ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมที่รับการรักษาที่คลินิกโรค สมองเสื่อม ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [The prevalence of depression in caregivers of cementia patients at dementia clinic, King Chulalongkorn Memorial hospital] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

บุษรา หิรัญสาโรจน, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, นพพร ว่องสิริมาศ, วรพรรณ เสนาณรงค์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม [Factors influencing depressive symptoms in caregivers of older adults with dementia]. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35(2):85-98.

Schaefer C, Coyne JC, Lazarus RS. The health related functions of social support. J Behav Med. 1981;4(4):381-406. doi:10.1007/BF00846149.

Lueboonthavatchai P, Lueboonthavatchai O. Quality of life and correlated health status and social support of schizophrenic patients' caregivers. J Med Assoc Thai. 2006;89 Suppl 3:S13-9. PubMed PMID: 17718264.

อัจฉรา มุ่งพานิช. การพัฒนาแบบประเมินภาวะซึมเศร้า BDI-II ฉบับภาษาไทย โรงพยาบาลขอนแก่นราชนครินทร์ [Development of the Thai version of the BDI-II depression assessment form at Khon Kaen Rajanagarindra hospital]. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7; 25 ส.ค. 2551; โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ศิริพร จิรวัฒน์กุล, ธรณินทร์ กองสุข, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, เยาวเรศ สุตะโท. เพศหญิงหรือความเป็นหญิง...จึงนำมาสู่การเป็นโรคซึมเศร้า [Sex or gender leading to a high risk of depressive disorder in women]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2555;57(1):61-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-22