การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์, ค.ด. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ, ค.ม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ครอบครัว, ชุมชน, ผู้สูงอายุ, พลังสุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: พัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (resilience) สำหรับผู้สูงอายุ และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม

วิธีการ: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในชุมชนตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 31 คน คัดเลือกแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต การประชุมสนทนากลุ่ม และแบบประเมินพลังสุขภาพจิต สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

ผล: ได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ ชื่อชุด “ผู้สูงวัย ใจเกินร้อย” ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ ตุงปรับอารมณ์ ภาพปรับความคิด แปลนชีวิต แลกของขวัญ รู้ทันเทคโนโลยี รำวงกระชับมิตร และเรื่องเล่าของวันวาน หลังเข้าร่วมชุดกิจกรรมฯ พบว่าพฤติกรรมการแสดงออกของผู้สูงอายุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ในภาพรวมผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.4 โดยค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตในแต่ละด้านที่เพิ่มขึ้นเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความมั่นคงทางอารมณ์ ร้อยละ 17.7 ด้านการจัดการกับปัญหา ร้อยละ 15.2 และด้านกำลังใจ ร้อยละ 15.2 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และเมื่อติดตามหนึ่งเดือนด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่าค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตทุกด้านก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตทุกด้านเมื่อติดตามหนึ่งเดือนยังคงมีความแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

สรุป: ชุดกิจกรรม “ผู้สูงวัย ใจเกินร้อย” ส่งผลให้ผู้สูงอายุในชุมชนนาแก้วมีพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรอบการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2559 [Research Framework 2016]. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. การพยาบาลผู้สูงอายุ: ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ [Elderly nursing: challenges and aging]. มหาสารคาม: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปัญหาที่พบในผู้สูงอายุ [Problems found in the elderly] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2559]. จาก: http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรปุผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พ.ศ. 2551-2553 [The important results of the Thai mental health survey 2008 – 2010]. กรุงเทพฯ:

ธนาเพรส; 2554.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พฤษภาคม พ.ศ. 2557 [Summary of the survey of mental health in Thailand in May, 2014]. กรุงเทพฯ: สำนัก; 2557.

กชกร ฉายากุล. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา [Effect of the resilience quotient enhancement program among nursing students of Boromarajonani college of nursing, Nakhon Ratchasima]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2018 [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2562];24(2):96-107.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ. วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ [Learning management methods for improving knowledge and skills]. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2547.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต สำหรับสื่อมวลชนท้องถิ่น [Promoting resilience in local mass media]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2555.

อรวรรณ ดวงจันทร์. การพัฒนามาตรฐานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชน [Developing the standards of mental health promotion and mental health problem prevention for community hospital]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26(3):173-83.

คมเพชร ฉัตรศุภกุล. กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน [Group activities in school]. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา; 2546.

วลัยพร สุวรรณบูรณ์. ผลของโปรแกรมกลุ่มบำบัดตามแนวคิดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยจิตเภท [Effects of interpersonal group therapy on quality of life among schizophrenic patients] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย [Developmental psychology]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2540.

ขวัญสุดา บุญทศ, ขนิษฐา นันทบุตร. ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ในชุมชนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย [Happiness, distress and mental health of the elderly in a community in the upper north region of Thailand]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2560;62(3):257-70.

วิทยากร เชียงกูล. อธิบายศัพท์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา [The social sciences for development]. กรุงเทพฯ: สายธาร; 2550.

จารุวรรณ ก้านศรี, อุทัยวรรณ แก้วพิจิตร, นภัทร เตี๋ยอนุกูล, ปริทรรศน์ วันจันทร์. ผลของโปรแกรมกลุ่มสัมพันธ์ทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ [The effects of a social relationship program on the depression of elderly]. พุทธชินราชเวชสาร. 2562;35(1):1-10.

นงนภัส พรมมิ, นวรัตน์ สุวรรณผ่อ, มธุรส ทิพยมงคลกุล, จารุวรรณ หมั่นมี. ความสุขในชีวิตผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร [Life happiness of the elderly in Bangkok]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2562;27(2):80-94.

Maslow HA. Motivation and Personality. 2nd ed. New York: Harper and Row; 1970.

Skinner BF. Science and Human Behavior. New York: Free Press; 1953.

ปิลันธนา ป้องชารี. แนวทางการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมชมรมผู้สูงอายุตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม [The development of aging union activities : a case study of Nadoon sub-district, Nadoon district, Mahasarakham province]. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 2559;3(1):69-77.

ศรุดา ศรีสว่าง, นฤมล ตันธสุรเศรษฐ์. แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดกิจกรรมนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี [Community participation in the organizing of recreational activities for the elderly in Tambon Lak Hok, Amphoe Mueang Pathum Thani, Pathum Thani province]. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 กลุ่มระดับชาติ ด้านการศึกษา. 2558;3(6):418-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-15

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ