การศึกษาคุณสมบัติการวัดของเครื่องมือ 14 ข้อคำถามในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
แบบคัดกรอง, ภาวะสมองเสื่อม, ภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: ศึกษาค่าความไว (sensitivity) ค่าความจำเพาะ (specificity) ค่าทำนายผลทดสอบเป็นบวกและลบ (positive and negative predictive value; PPV และ NPV) และพื้นที่ใต้โค้ง ROC ของเครื่องมือ 14 ข้อคำถามในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
วิธีการ: ศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติการวัดของแบบทดสอบโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์และตอบแบบสอบถามของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และหาค่าความตรงของเครื่องมือ 14 ข้อคำถาม โดยคำนวณหาค่าความไว ค่าความจำเพาะค่าทำนายผลทดสอบ และพื้นที่ใต้โค้ง ROC ในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม และภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น (mild cognitive impairment; MCI) โดยใช้แบบประเมิน MSET10 และ MoCA เป็นมาตรฐานตามลำดับ
ผล: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 305 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.9 อายุเฉลี่ย 68.1 ปี (SD 7.2) พบค่าความไว ของเครื่องมือ 14 ข้อคำถามในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อม เท่ากับร้อยละ 36.4 ค่าความจำเพาะ เท่ากับร้อยละ 96.5 ค่า PPV และ NPV เท่ากับร้อยละ 44.4 และ 95.1 ตามลำดับ และมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.6 สำหรับคัดกรองภาวะ MCI พบว่าค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่า PPV และค่า NPV เท่ากับ ร้อยละ 7.6, 97.2, 83.3, 36.6 ตามลำดับ และค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.5
สรุป: เครื่องมือ 14 ข้อคำถาม มีความไวในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในระดับค่อนข้างต่ำ และมีความไวต่ำมากในการตรวจหาภาวะสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น ดังนั้นควรมีการทบทวนการนำไปใช้ในการเป็นแบบคัดกรองด่านแรกเพื่อค้นหาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
Downloads
References
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์. แนวทางการจัดการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร [Practice guidelines of comprehensive care management for older person with dementia]. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุกรมการแพทย์; 2562.
Senanarong V, Harmphadungkit K, Poungvarin N, Vannasaeng S, Chongwisal S, Chakorn T, et al. The dementia and disability project in Thai elderly: rational, design, methodology and early results. BMC Neurology. 2013;13:1-11. doi:10.1186/1471-2377-13-3.
Kaduszhiewicz H, Eisele M, Proken J, Luppa M, Luck T, Bickel H, et al. Prognosis of mild cognitive impairment in general practice: result of the German Age CoDE study. Ann Fam Med. 2014;12:158-65. doi:10.1370/afm.1596.
Buschert VC, Giegling I, Teipel SJ, Jolk S, Hampel H, Rujescu D, et al. Long-term observation of a multicomponent cognitive intervention in mild cognitive impairment. J Clin Psychiatry. 2012;73:1492-8. doi:10.4088/JCP.11m07270.
วันดี โภคะกุล, จิตนภา วาณิชวโรตน์. การดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม สำหรับบุคลากรสาธารณสุข [Dementia patient care for health personnel]. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์; 2551.
Hemrungrojn S. Montreal cognitive assessment (MoCA) Thai version [Internet]. 2011 [cited 2019 Aug 19]. Available from: https://www.mocatest.org/pdf_files/test/MoCA-Test-Thai.pdf
Senanarong V, Harnphadungkit K, Poungvarin N, Chongwisal S, Chakorn T, Jamjumrus P, et al. The dementia and disability project in Thai elderly: rational, design, methodology and early results. BMC Neurology. 2013;13(1):3-13. doi:10.1186/1471-2377-13-3.
Flahault A, Cadilhac M, Thomas G. Sample size calculation should be performed for design accuracy in diagnostic test studies. Journal of Clinical Epidemiology. 2005;58:859–62. doi:10.1016/j.jclinepi.2004.12.009.
ประเสริฐ บุญเกิด. เรื่องน่าสนใจ...เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม [Interesting ... about dementia.. จดหมายข่าวสมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2562]. จาก: https://thaidementia.com/news/assets/files/DAT_news_letter_10.pdf
Hosmer DW, Lemeshow S. Applied logistic regression, 2nd Ed. Chapter 5, John Wiley and Sons, New York: John Wiley & Sons, Inc; c2000.
Trevethan R. Sensitivity, Specificity, and Predictive Values: Foundations, Pliabilities, and Pitfalls in Research and Practice. Front Public Health. 2017;5:307. doi:10.3389/fpubh.2017.00307.
Markova H, Nikolai T, Mazancova AF, Cechova K, Sheardova K, Georgi H, et al. Differences in subjective cognitive complaints between non-demented older adults from a memory clinic and the community. J Alzheimers Dis. 2019;70:61-73. doi:10.3233/JAD-180630.
Mitchell AJ. Is it time to separate subjective cognitive complaints from the diagnosis of mild cognitive impairment? Age Ageing. 2008;37(5):497-9. doi:10.1093/ageing/afn147.
Harrawood A, Fowler NR, Perkins AJ, LaMantia MA, Boustani MZ. Acceptability and results of dementia screening among older adults in the United States. Curr Alzheimer Res. 2018;15:51–5. doi:10.2174/1567205014666170908100905.
Stenfors CU, Marklund P, Magnusson Hanson LL, Theorell T, Nilsson LG. Subjective cognitive complaints and the role of executive cognitive functioning in the working population: a case-control study. PLoS One. 2013;8(12):e83351. doi:10.1371/journal.pone.0083351.
Slot RER, Sikkes SAM, Berkhof J, Brodaty H, Buckley R, Cavedo E, et al. Subjective cognitive decline and rates of incident Alzheimer’s disease and non–Alzheimer’s disease dementia. Alzheimers Dement. 2019;3:465-76. doi:10.1016/j.jalz.2018.10.003.
Ryu SY, Kim A, Kim S, Park KW, Park KH, Youn YC, et al. Self‐and informant‐reported cognitive functioning and awareness in subjective cognitive decline, mild cognitive impairment, and very mild Alzheimer disease. Int J Geriatr Psychiatry. 2020;35(1):91-8. doi:10.1002/gps.5224.
Almeida ML, Dalpubel D, Ribeiro EB, Oliveira ESB, Ansai JH, Vale FAC. Subjective cognitive impairment, cognitive disorders and self-perceived health the importance of the informant. Dement Neuropsychol. 2019;13:335-42. doi:10.1590/1980-57642018dn13-030011.
Slavin MJ, Sachdev PS, Kochan NA, Woolf C, Crawford JD, Giskes K, et al. Predicting Cognitive, Functional, and Diagnostic Change over 4 Years Using Baseline Subjective Cognitive Complaints in the Sydney Memory and Ageing Study. Am J Geriatr Psychiatry. 2015;23:906-14. doi:10.1016/j.jagp.2014.09.001.
Senanarong V, Assavisaraporn S, Sivasiriyanonds N, Printarakul T, Jamjumrus P, Udompunthuruk S, et al. The IQCODE: an alternative screening test for dementia for low educated Thai elderly. J Med Assoc Thai. 2001;84:648-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย