ผลของกลุ่มบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในชุมชน

ผู้แต่ง

  • เกษร สายธนู, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิ่งกาญจน์ ชูเมือง, พย.ม. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เกษราภรณ์ เคนบุปผา, ปร.ด. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

กลุ่มบำบัด, การเจริญสติ, การบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหา, ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง, ภาวะซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบประสิทธิผลโปรแกรมกลุ่มบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในชุมชน

วิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลองในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีภาวะซึมเศร้าอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งหนึ่งจำนวน 52 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับการเจริญสติ 4 สัปดาห์ 7 กิจกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติวัดผลลัพธ์จากการลดลงของภาวะซึมเศร้าด้วยแบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของคนไทย และการเพิ่มขึ้นของทักษะการแก้ไขปัญหาด้วยแบบประเมินทักษะการแก้ไขปัญหาที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test

ผล : กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยคะแนนซึมเศร้าลดต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .005) เมื่อสิ้นสุดการทดลองทันทีและหลังติดตามผล 1 เดือน พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .005) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยทักษะการแก้ไขปัญหาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .005) เช่นกัน

สรุป : โปรแกรมกลุ่มบำบัดด้วยการแก้ไขปัญหาร่วมกับการเจริญสติสามารถลดอาการซึมเศร้าและเสริมทักษะการแก้ปัญหาในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังได้ อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและภาวะซึมเศร้าในชุมชนได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Mental health of older adults [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2017 [cited 2019 Jul 24]. Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-of-older-adults.

ณหทัย วงศ์ปการันย์, ทินกร วงศ์ปการันย์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, ยุพาพรรณ ศิริอ้าย, คะนึงนิจ ไชยลังการณ์, วิรัตน์ นิวัฒนนันท์, และคณะ. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย : สูตรคลายซึมเศร้า [Elderly care guide: depression formula]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2559. น. 11-8.

วรรณา เรืองประยูร, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การบำบัดโดยการแก้ปัญหาเพื่อลดอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ : การสังเคราะห์งานวิจัย [Problem-solving therapy for reduce depressive symptoms in older adults: synthesis of research studies]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(3);37-48.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) [Guidelines for surveillance of depression at provincial level (2nd revision)]. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2554.

นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า : ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ [Depression: a significant mental health problem of elderly]. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):24-31.

Touhy TA, Jett K. Ebersole and Hess’ gerontological nursing & healthy aging. 5th ed. USA: Elsevier Inc. Printing; 2017.

สาวิตรี สิงหาด. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า [Nursing of the elderly with depression]. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2559;18(3):15-24.

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์ ฉบับปรับปรุงตาม DSM-V [Textbook of psychiatry revised version according to DSM-V]. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2557.

Nezu AM, Nezu CM, D'Zurilla T. Problem-solving therapy: a treatment manual. New York: Springer Publishing Company; 2013.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือผู้เข้าอบรมการบำบัดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าด้วยการแก้ไขปัญหา [A guide for participants to treat depression with problem solving]. อุบลราชธานี: โรงพยาบาล; 2559.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, สรยุทธ วาสิกนานนท์, บรรณาธิการ. ตำราโรคซึมเศร้า [Textbook of depressive disorders]. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2558.

ธวัชชัย พละศักดิ์, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, รัชนีกร อุปเสน. ผลของโปรแกรมการบำบัดโดยการแก้ปัญหาต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [The effect of the problem solving therapy program on depression of patients with major depressive disorder]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(1):60-74.

สุณิสา ศรีโมอ่อน, อทิตยา พรชัยเกตุ, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์. การบำบัดโดยการแก้ปัญหาในการลดอาการซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่ : การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ [Problem solving therapy for reducing depressive symptoms in adults: evidence-based nursing]. วารสารสภาการพยาบาล. 2554;26(3):107-16.

ราตรี ทองยู, วรรณา คงสุริยะนาวิน, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์. ผลของกลุ่มบำบัดแบบแก้ไขปัญหาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 [Effects of group problem-solving therapy on depressive symptoms in older adult people with type-2 diabetes]. วารสารสภาการพยาบาล. 2554;26(3):78-92.

Nezu AM, Nezu M, Salber KE. Problem-solving therapy for cancer patients. Psychology. 2013;10(2-3):217-31. doi:10.5209/rev_PSIC.2013.v10.n2-3.43445.

ธวัชชัย กฤษณะปกรกิจ, สมจิตร หร่องบุตรศรี, ผ่องพรรณ กฤษณะปกรกิจ. สมาธิบำบัดทางจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต [Meditation therapy in psychiatry and mental health]. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

พระบวรปริยัติวิธาน. คู่มือปฏิบัติธรรมเบื้องต้น [Basic Dharma practice manual]. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพลส จำกัด; 2554.

ยุวดี พนาวรรต, จำลอง ดิษยวณิช. การเสริมสร้างสุขภาพจิตผู้สูงวัยไทยด้วยวิปัสสนากรรมฐาน[Enhancement of mental health of Thai elderly by insight meditation]. วารสารสวนปรุง. 2558;31(1):1-12.

พระสันต์ทัศน์ สินสมบัติ, พระครูปลัดสุวัฒน พุทธคุณ, ปัญญา นามสง่า, ชัยรัตน์ ทองสุข, ภูวเดช สินทับศาล. สติปัฏฐานกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ [Satipattana to protect of depression for the elderly] [รายงานการวิจัย]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พระพุทธชินราช; 2561.

สมจิตร เสริมทองทิพย์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, เวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน [The effect of mindfulness-based cognitive therapy program on depression among persons with diabetes]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560;25(3):66-75.

Klainin-Yobas P, Cho MA, Creedy D. Efficacy of mindfulness-based interventions on depressive symptoms among people with mental disorders: a meta-analysis. Int J Nurs Stud. 2012;49(1):109-21. doi:10.1016/j.ijnurstu.2011.08.014.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ญาดา ธงธรรมรัตน์, ปริยา ปราณีตพลกรัง, ปราณีต ชุ่มพุทรา, ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล. กลุ่มบำบัดความคิดบนพื้นฐานการฝึกสติเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น : การศึกษานำร่อง [The efficacy of group mindfulness-based cognitive therapy in prevention of youth depression: a pilot study]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2558;23(3);143-53.

กันต์ฤทัย ปานทอง, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า [The effective of resilience quotient emphasizing mindfulness-based program on depression in older persons with major depressive disorder]. วารสารเกื้อการุณย์. 2561;25(2):105-18.

Ren J, Huang Z, Luo J, Wei G, Ying X, Ding Z, et al. Meditation promotes insightful problem-solving by keeping people in a mindful and alert conscious state. Sci China Life Sci. 2011;54(10):961-5 doi:10.1007/s11427-011-4233-3.

อัญชุลี เตมียประดิษฐ์, วรัญ ตันชัยสวัสดิ์, ชุมศรี หังสพฤกษ์, อ้อมทิพย์ พันธ์ศิริ. แบบทดสอบในการตรวจหาภาวะความพิการทางสมอง [The Mini–Mental State Examination: MMSE]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2533;35(4):208-16.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย [Thai geriatric depression scale: TGDS]. สารศิริราช. 2537;46(1):1-9.

Alexopoulos GS, Raue PJ, Kiosses DN, Mackin RS, Kanellopoulos D, McCulloch C, et al. Problem-solving therapy and supportive therapy in older adults with major depression and executive dysfunction: effect on disability. Arch Gen Psychiatry. 2011;68(1):33-41. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2010.177.

Nezu CM, Nezu AM, Colosimo MM. Case formulation and the therapeutic alliance in contemporary problem-solving therapy (PST). J Clin Psychol. 2015;71(5):428-38. doi:10.1002/jclp.22179.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, สวิตตา ธงยศ, อิงคฏา โคตนารา, ขจรศักดิ์ วรรณทอง. ประสิทธิผลของการให้การปรึกษาแนวพุทธธรรมต่อการลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า [Efficacy of Buddhist group therapy on patients with depressive disorder]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2557;59(4):381-93.

จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว. กลุ่มบำบัดกับพยาบาลจิตเวช [Group therapy and psychiatric nurse]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(1):1-15.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. การทำกลุ่มบำบัดสำหรับพยาบาล [Group therapy for nurses]. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-12