พลวัตความผูกพันทางอารมณ์กับคู่รักของบุคคลที่เคยมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก

ผู้แต่ง

  • กัมพล ใหม่จันทร์ดี, วท.ม. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อารยา ผลธัญญา, ศศ.ด. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความผูกพันทางอารมณ์, ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก, พลวัต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับพลวัตความผูกพันทางอารมณ์กับคู่รักของบุคคลที่เคยมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก

วิธีการ: เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาใช้เวลาเก็บข้อมูล 3 เดือน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกรณีศึกษาจำนวน 5 ราย วิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์สาระแก่นสาร

ผล: กรณีศึกษาที่มีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กจากผู้เลี้ยงดู มีความผูกพันทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคงกับผู้เลี้ยงดู กรณีศึกษา 4 ใน 5 ราย ส่งต่อความผูกพันทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคงสู่คู่รัก โดยสะท้อนผ่าน ความรู้สึกสับสน ไม่เข้าใจความรู้สึกของตนเองและคู่รัก มีความสงสัยความรักที่คู่รักของตนมอบให้ มักพิสูจน์ความรักที่คู่รักมีต่อตนเอง การแสดงอารมณ์มีทั้งเก็บกดอารมณ์และการระเบิดอารมณ์ใส่คู่รัก รู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ และนำไปสู่การยุติความสัมพันธ์บ่อยครั้ง แต่ยังมีกรณีศึกษา 1 ราย ที่พัฒนาความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงกับคู่รักได้ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้แก่ ความเข้มแข็งทางจิตใจ ความสามารถในการหาแหล่งทรัพยากรทางใจที่สามารถเข้าถึงได้ การได้รับรู้มุมมองทางบวกของผู้เลี้ยงดูต่อตนเอง รวมถึงได้รับการสนับสนุนทางกายภาพและทางอารมณ์จากคู่รัก

สรุป: ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กจากผู้เลี้ยงดูทำให้เกิดความผูกพันทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคง ซึ่งสามารถส่งต่อมายังความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักในวัยผู้ใหญ่ได้ บุคลากรด้านสุขภาพจิตควรให้ความสำคัญในการพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก เพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงปัญหาสัมพันธภาพในปัจจุบันและนำไปสู่การวางแผนช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Public Health Wales and Welsh Government. Measuring the health and well-being of a nation public health outcomes framework for Wales [Internet]. Cardiff: Welsh Government; 2016 [cited 2017 Mar 17]. Available from: http://gov.wales/docs/phhs/publications/160329frameworken.pdf

Indra T, Anita P. The impact of childhood family experience on partnership problems and birth-rate in adulthood. Society Integration Education (Proceedings of the International Scientific Conference). 2016;1:531-9. Available from: http://dx.doi.org/10.17770/sie2016vol1.1533

ศุภกาญจน์ ภัคดี. การสะท้อนตัวตนของเด็กหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ: กรณีศึกษา [Self-reflection of girl sexually abuse: a case study] [การค้นคว้าแบบอิสระ]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

Mihaela B. How does childhood trauma affect trust? [Internet]. Newburyport MA: Psych Central; 2016 [cited 2017 Oct 24]. Available from: https://blogs.psychcentral.com/practical-psychoanalysis/2016/05/how-does-childhood-trauma-affect-trust

Colman RA, Widom CS. Childhood abuse and neglect and adult intimate relationships: a prospective study. Child Abuse Negl. 2004;28:1133-51. doi:10.1016/j.chiabu.2004.02.005.

Fraley CR. Attachment stability from infancy to adulthood: meta-analysis and dynamic modeling of developmental mechanisms. PersSocPsychol Rev. 2002;6(2):123-51. Available from: https://doi.org/10.1207/S15327957PSPR0602_03

Fraley RC, Vicary AM, Brumbaugh CC, Roisman GI. Patterns of stability in adult attachment: an empirical test of two models of continuity and change. J PersSocPsychol, 2011;101(5):974-92. doi:10.1037/a0024150.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. หลักการและวิธีการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ [Principles and how to write a research dissertation thesis]. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน; 2557.

National Council of Juvenile and Family Court Judges. Finding your ACEs scores [Internet]. Nevada: National Council of Juvenile and Family Court Judges; 2006 [cited 2017 Oct 24]. Available from: https://www.ncjfcj.org/.

Summit RC. Abuse of the child sexual abuse accommodation syndrome. J Child Sex Abus. 1993;1(4):153-64. doi:10.1300/J070v01n04_13.

นากาซาวา ดีเจ. เกินกว่าเจ็บปวด [Childhood disrupted: how your biography becomes your biology and how you can heal]. เอกชัย อัศวนฤนาท, ผู้แปล. กรุงเทพฯ: Oh My God; 2015.

Haskuka M, Sunar D, Alp IE. War exposure, attachment style, and moral reasoning. J Cross Cultl Psychol. 2008;39:381-401. doi:10.1177/0022022108318113.

Levy TM, Orlans M. Attachment disorder as an antecedent to violence and antisocial patterns in children. In: Evergreen Consultants in Human Behavior, editors. Handbook of attachment interventions. Colorado: Academic Press; 2001. p. 1-26.

Muris P, Meesters C, Morren M, Moorman L. Anger and hostility in adolescents: relationships with self-reported attachment style and perceived parental rearing styles. J Psychosom Res. 2004;57:257–64. doi:10.1016/S0022-3999(03)00616-0.

Johnson SM, Whiffen VE. Attachment processes in couple and family therapy. New York: Guilford Press; 2003.

Johnson SM, Bradley B, Furrow JL, Lee A, Palmer G, Tilley D, et al. Becoming an emotionally focused couple therapist: The workbook. New York: Taylor & Francis: 2013.

Fraley RC, Brumbaugh CC. A dynamical systems approach to conceptualizing and studying stability and change in attachment security. In: Rholes W, Jeffry AS, editors. Adult attachment: Theory, research, and clinical implications. New York: Guilford press; 2004. p. 86-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-17

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ