รูปแบบการพยากรณ์สถานการณ์ของผู้ป่วยจิตเวชของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
คำสำคัญ:
การพยากรณ์, ผู้ป่วยจิตเวช, สถานการณ์บทคัดย่อ
วิธีการ : ศึกษาวิธีการพยากรณ์ทางสถิติด้วยข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลา ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลผู้ป่วยนอกที่มารับบริการทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 – กันยายน 2561 โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์อนุกรมเวลาทั้ง 5 วิธี หารูปแบบวิธีการพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสม วัดค่าความถูกต้องของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และนำมาพยากรณ์แนวโน้มเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2563
ผล : สถานการณ์ผู้ป่วยนอกจิตเวช ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 40 - 49 ปี สถานภาพโสด อาศัยอยู่ในเขตสุขภาพที่ 5 สิทธิการรักษาชำระเงินเอง ได้รับการวินิจฉัยกลุ่มโรค F20 - F29 (โรคจิตเภท พฤติกรรมแบบจิตเภท และความหลงผิด) โดยรหัส F20 (โรคจิตเภท) พบมากที่สุด วิธีการพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสมคือ Exponential Smoothing แบบ Winters' Additive โดยมีค่า MAPE = 3.775 ในการนำมาพยากรณ์แนวโน้มผู้ป่วยจิตเวช ผลการพยากรณ์พบว่าผู้ป่วยนอกจิตเวชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี คาดว่าน่าจะมีผู้ป่วยในปี 2562 – 2563 ประมาณ 40,695 คน และ 43,806 คน ตามลำดับ โดยจะมีผู้มารับบริการสูงสุดในเดือนสิงหาคม จำนวน 3,582 คน และ 3,841 คน ส่วนกลุ่มโรคที่พบมากที่สุด คือ F20 - F29 จำนวน 3,890 คน และ 3,920 คน ทั้งนี้ภายใต้สภาวะทางภูมิศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาก
สรุป : ควรมีการวางแผนพัฒนาระบบบริการ บริหารจัดการงบประมาณ เวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นจากผลการพยากรณ์สถานการณ์ผู้ป่วย
Downloads
References
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย; 2560;25(1):1-19.
คงกฤช ปิ่นทอง. การพยากรณ์การผลิตชิ้นส่วนยางในรถยนต์: กรณีศึกษา อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) [Production forecasting of automobile rubber part: case study of Inoue Rubber (Thailand) Public Company Limited] [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ [Business quantitative analysis]. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์; 2545.
อังคณา จัตตามาศ, พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. การพยากรณ์สถานการณ์การพบผู้ป่วยทางด้านจิตเวชในผู้สูงอายุเขตพื้นที่เฝ้าระวังผู้ป่วยของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [Prediction of situation in the elderly psychiatric patients of monitoring zone in Hua Hin district, Prachaubkirikhan]. วารสารสังคมศาสตร์. 2558;4:92-100.
อุไรวรรณ แย้มนิยม. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางการตลาด [Quantitative marketing analysis].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2544.
Gaither N,Frazier G. Operation Management. Boston: McGraw-Hill; 2003.
Render B, Stair RM, Hanna ME. Quantitative analysis for management. 9th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2006.
สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. รายงานประจำปีสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ปีงบประมาณ 2561 [Annual report 2018, Galya rajanagarindra institute]. กรุงเทพฯ: สถาบัน; 2561.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2557 DPC 11 [Report of dengue fever forecast in 2014 DPC11] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักระบาดวิทยา; 2557 [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2563]. จาก: http://www.interfetpthailand.net/forecast/index.php
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย