ผลของกลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐานต่อระดับความรุนแรงของการฆ่าตัวตายในผู้ต้องขัง

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มุ่งพานิช, วท.ม. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • กิติยา กุดกุง, ศศ.ม. เรือนจำกลางขอนแก่น

คำสำคัญ:

กลุ่มบำบัดที่มีสติเป็นพื้นฐาน, ความเสี่ยงฆ่าตัวตาย, ผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐานต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ต้องขัง

วิธีการ: เลือกกลุ่มตัวอย่างจากอาสาสมัครในเรือนจำ และตามเกณฑ์การคัดเลือก (n=24) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน เข้าร่วมกลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐาน 1 ครั้ง/สัปดาห์ 8 ครั้งๆ ละ 90-120 นาที กลุ่มควบคุม 12 คน เข้ากิจกรรมปกติ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเครียด ภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย สติ เมตตาต่อตนเองและเมตตาต่อผู้อื่น ประเมินก่อน/หลังการทดลอง และติดตามผล 1 เดือน ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Mann–Whitney U test และ Wilcoxon signed-rank test

ผล: ผู้ต้องขังที่เข้ากลุ่มบำบัดมีคะแนนเฉลี่ยการฆ่าตัวตายลดลงภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีภาวะซึมเศร้าลดลงและเมตตาต่อตนเองสูงขึ้นหลังการทดลองในระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยไม่พบความแตกต่างของคะแนนทั้ง 6 ตัวแปรระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง แต่พบกลุ่มทดลองมีภาวะซึมเศร้าลดลง และเมตตาต่อผู้อื่นสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

สรุป: การศึกษาครั้งนี้ไม่สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐานสามารถลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตายได้โดยตรง แต่สามารถลดภาวะซึมเศร้า และเพิ่มความเมตตาต่อผู้อื่นได้ โดยต้องใช้เวลาในการฝึกฝนระยะหนึ่ง

Downloads

Download data is not yet available.

References

รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด. ส่องไฟหลังลูกกรง-สภาพจิตผู้ต้องขังไทย ฆ่าตัวตายปีละ 20 ป่วยทางจิตกว่า 3พันคน [Shining lights behind prison-the mental health of Thai inmates 20 suicide each year, over 3,000 mental illnesses] [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ); 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561]. จาก: https://www.tcijthai.com/news/2015/06/scoop/5623

ผู้ต้องขังมีปัญหาสุขภาพจิตสูงถึงร้อยละ 36 [36% of the inmates had mental health problems] [อินเตอร์เน็ต]. คมชัดลึกออนไลน์. 30 ก.ค. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563]. จาก: https://www.komchadluek.net/news/edu-health/289893

Favril L, Vander Laenen F, Vandeviver C, Audenaert K. Suicidal ideation while incarcerated: prevalence and correlates in a large sample of male prisoners in Flanders, Belgium. Int J Law Psychiatry. 2017;55:19–28. doi:10.1016/j.ijlp.2017.10.005.

Fazel S, Hayes AJ, Bartellas K, Clerici M, Trestman R. The mental health of prisoners: a review of prevalence, adverse outcomes and interventions. Lancet Psychiatry. 2016;3:871–81.doi:10.1016/S2215-0366(16)30142-0.

Rivlin A, Hawton K, Marzano L, Fazel S. Psychosocial characteristics and social networks of suicidal prisoners: towards a model of suicidal behaviour in detention. PLoS ONE.2013;8:e68944. doi:10.1371/journal.pone.0068944.

Ferszt GG, Miller RJ, Hickey JE, Maull F, Crisp K. The impact of a mindfulness based program on perceived stress, anxiety, depression and sleep of incarcerated women. Int J Environ Res Public Health. 2015;12:11594–607. doi:10.3390/ijerph120911594.

Yoon IA, Slade K, Fazel S. Outcomes of psychological therapies for prisoners with mental health problems: a systematic review and meta-analysis. J Consult Clin Psychol. 2017;85:783–802. doi:10.1037/ccp0000214.

Luoma JB, Villatte JL. Mindfulness in the treatment of suicidal Individuals. CognBehavPract. 2012;19:265–76. doi:10.1016/j.cbpra.2010.12.003.

Zbizek-Nulph L, Walton M, Cunningham R, Chermack S, Ngo Q. 148 Mindfulness as a protective factor against suicidal ideation in emerging adults. Inj Prev. 2017;23:A55–A55.

DeCou CR, Comtois KA, Landes SJ. Dialectical behavior therapy Is effective for the treatment of suicidal behavior: A meta-analysis. BehavTher. 2019;50:60–72. doi:10.1016/j.beth.2018.03.009.

กระทรวงยุติธรรม ร่วมมือสถาบันพลังจิตตานุภาพ สอนหลักสูตรสมาธิให้กับผู้ที่ก้าวพลาดกระทำความผิด เพื่อยกระดับจิตใจให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ [Ministry of Justice collaboration of Willpower institute. Teach meditation courses to those who make mistakes, to raise the mind to be able to return to society with quality] [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2561]. จาก: https://www.moj.go.th/view/10989

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. คู่มือสติบำบัด [Mindfulness-based therapy and counseling (MBTC) manual]. นนทบุรี: กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale: Lawrence Erlbaun;1988.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห และจินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการ ซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับปรับปรุงภาษากลาง [Criterion-related validity of the 9 questions depression rating scale revised for Thai central dialect]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63:321-34.

ทวี ตั้งเสรี. การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย [Development for depression and suicidal risk screening test]. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์; 2551.

สมชาย จักรพันธุ์. การพัฒนาแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองสำหรับประชาชนไทยด้วยคอมพิวเตอร์: รายงานการวิจัย [Development of Thai computerized self-analysis stress test]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต; 2542.

อรวรรณ ศิลปกิจ. การสร้างแบบประเมินสติ [The invention of the mindfulness assessment scale]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2559;23:72–90.

Neff K. Self-compassion scales [Internet]. Self-compassion. Texas: Kristin Neff is co-founder of the center for mindful self-compassion; [cited 2018 Jun 24]. Available from: http://self-compassion.org/self-compassion-scales-for-researchers/.

Neff KD, Pommier E. The relationship between self-compassion and other-focused concern among college undergraduates, community adults, and practicing meditators. Self Identity. 2013;12:160-76. doi:10.1080/15298868.2011.649546.

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. จิตบำบัดด้วยสติในผู้ป่วยซึมเศร้า [Mindfulness psychotherapy in depression]. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2558;9:47-56.

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ปริยา ปราณีตพลกรัง, ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, ญาดา ธงธรรมรัตน์, ปราณีต ชุ่มพุทรา. กลุ่มบำบัดความคิดบนพื้นฐานการฝึกสติเพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น:การศึกษานำร่อง [The efficacy of group mindfulness-based cognitive therapy in prevention of youth depression: a pilot study]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2558;23:143–53.

รินทร์ เชื้อบ้านเกาะ. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว [The effect of mindfulness - based cognitive therapy program on depression of bipolar disorder patients] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563]. จาก: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55530

กันต์ฤทัย ปานทอง, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ. ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจที่เน้นการฝึกสติต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า [The effective of resilience quotient emphasizing mindfulness-based program on depression in older persons with major depressive disorder]. วารสารเกื้อการุณย์. 2561;25:106-18.

Shapiro SL, Schwartz GE, Bonner G. Effects of mindfulness-based stress reduction on medical and premedical students. J Behav Med. 1998;21:581-99. doi:10.1023/a:1018700829825.

Perelman AM, Miller SL, Clements CB, Rodriguez A, Allen K, Cavanaugh R. Meditation in a deep south prison: a longitudinal study of the effects of vipassana. Journal of Offender Rehabilitation. 2012;51:176-98. doi:10.1080/10509674.2011.632814.

อารี นุ้ยบ้านด่าน, ประนอม หนูเพชร, จินตนา คำเกลี้ยง, เนตรนภา พรหมเทพ. ผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบการเจริญสติโดยการเคลื่อนไหวมือต่อความเครียดและระดับสติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [Effect of mindfulness by hand movement on stress and sati level of Nurse Students of Prince of Songkla university]. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2561]. จาก: http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/7263/1/321056.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ