ผลของการฝึกทักษะด้านสังคมและการสื่อสารร่วมกับการใช้เบี้ยอรรถกรของผู้ป่วยจิตเภท

ผู้แต่ง

  • จิดารัตน์ พิมพ์ดีด, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • ณัฏฐาภรณ์ เบ้าเรือง, พย.ม. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • สุนละมัย ทาคำใจ, พย.บ. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การฝึกทักษะด้านสังคมและสื่อสาร, ผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกทักษะด้านสังคมและการสื่อสารร่วมกับการใช้เบี้ยอรรถกรต่อทักษะด้านสังคมและการสื่อสารของผู้ป่วยจิตเภท

วิธีการ: เป็นการวิจัยแบบทดลองในผู้ป่วยจิตเภทที่อยู่ในระยะคงสภาพการรักษา โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกทักษะด้านสังคมและการสื่อสาร และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดการจัดการกับอาการหูแว่ว กลุ่มละ 24 คน ดำเนินการในระหว่างเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2560 ใช้เครื่องมือแบบประเมินเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนเฉพาะทักษะด้านสังคมและการสื่อสาร ฉบับสั้น 5 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.84 ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และหลังติดตามผล 1 เดือน ใช้สถิติวิเคราะห์ Independent – samples t – test และ Paired – samples t - test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผล: ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะด้านสังคมและการสื่อสารของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (17.04, 17.08 คะแนน) ก่อนการทดลองไม่แตกต่างกัน และหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ ค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (18.83, 17.46 คะแนน) ส่วนในกลุ่มทดลองเอง ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (18.83, 17.04 คะแนน) และหลังติดตามผล 1 เดือน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (18.83, 17.04 คะแนน) เช่นกัน

สรุป: การฝึกทักษะด้านสังคมและการสื่อสารร่วมกับการใช้เบี้ยอรรถกร สามารถทำให้ทักษะด้านสังคมและการสื่อสารของผู้ป่วยจิตเภทดีขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจิตเภทควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการฝึกทักษะด้านสังคมและสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์ [Psychiatry]. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2556.

กนกวรรณ ลิ้มศรีเจริญ. โรคจิตเภทและโรคจิตชนิดอื่น [Schizophrenia spectrum and other psychotic disorders]. ใน: นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สุพร อภินันทเวช, พนม เกตุมาน. บรรณาธิการ. จิตเวชศิริราช DSM-5. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์; 2558. น. 365-72.

มาโนช หล่อตระกูล. โรคจิตเภทและโรคจิตอื่นๆ [Schizophrenia and other psychosis]. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555. น. 124-47.

Sadock BJ, Sadock VA, Ruiz P. editors. Kaplan & Sadock’s synopsis of psychiatry behavioral sciences / clinical psychiatry. 11th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Willkins; 2015.

ปัทมา ศิริเวช. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม [Psychosocial rehabilitation]. ใน: พิเชฐ อุดมรัตน์, สรยุทธ วาสิกนานนท์. บรรณาธิการ. ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2552. น. 305-16.

Malone Cole JA. Schizophrenia and other psychotic disorders. In: Fortinash KM & Holiday Worret PA. editors. Psychiatric mental health nursing. 5th ed. ST Louis: Mosby; 2012. p. 259-97.

จิดารัตน์ พิมพ์ดีด, เยาวภา ไตรพฤกษชาติ, สาคร บุบผาเฮ้า, อำไพร จันโทริ, บัวเงิน วงษ์คำพันธ์, ณัฐิกา ราชบุตร. ผลการฝึกทักษะด้านสังคมและการสื่อสาร ต่อพฤติกรรมด้านสังคมและการสื่อสารของ ผู้ป่วยจิตเภทชาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ [effects of social and communication skills training on social and communication behaviors of male schizophrenic patients jitavej khon kaen rajanagarindra hospital]. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง; 2552.

Swartz MS, Frohberg NR, Drake RE, Lauriello J. Psychosocial therapies. In: Lieberman JA, Stroup TS, Perkins DO, editors. Essential of schizophrenia. USA: American psychiatric publishing; 2012. p. 207-24.

จีรพันธ์ เอิบกมล. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกทักษะทางสังคมในผู้ป่วยจิตเภท [A Synthesis of research on social skills training programs for schizophrenia] [สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Barzegar S, Ahadi M, Barzegar Z, Ghahari Sh. The Effectiveness of social skills training on reducing negative symptoms of chronic schizophrenia. International Journal of Medical Research & Health Sciences. 2016;5(7S):323-7. Available from: https://www.ijmrhs.com/abstract/the-effectiveness-of-social-skills-training-on-reducing-negative-symptoms-of-chronic-schizophrenia-5243.html

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders 4th Text Revision. Washington DC: Donnelley & Sons; 2000.

Pinkham AE, Mueser KT, Penn DL, Glynn SM, Mc Gurk SR, Addington J. Social and Functional impairments. In: Lieberman JA, Stroup TS, Perkins DO, editors. Essential of schizophrenia. USA: American psychiatric publishing; 2012. p. 93-130.

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต, พิทักษ์พล บุณยมาลิก, สุพัฒนา สุขสว่าง, ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน. แบบประเมินเพื่อ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน [Psychiatric patient’s rehabilitation screening test]. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550.

Polit DF, Beck CT. editors. Nursing research: principles and methods. 7 th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

Padmavathi N, Lalitha K, Parthasarathy R. Effectiveness of conversational skill training of patients with schizophrenia. Journal of Krishna Institute of Medical Sciences University. 2013;2(2):42-7. Available from: http://www.jkimsu.com/jkimsu-vol2no2/jkimsu%20vol%202%20no%202%20july%20-%20dec%202013%2042-47.pdf

Koujalgi SR, Patil SR, Nayak RB, Chate SS, Patil NM. Efficacy of social skill training in patient with chronic schizophrenia: an interventional study. Journal of the Scientific Society. 2014;41(3):156-61.

Perry K, Antai-Otong D. The client with schizophrenia and other psychotic disorders. In: Antai-Otong D, editor. Psychiatric nursing biological & behavioral concepts. 2nd ed. Canada: Delmar; 2008. p. 385-410.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม [Participatory training manual]. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วงศ์กมลโปรดักชั่น. 2544.

Kang R, Wu Y, Li Z, Jiang J, Gao Q, Yu Y, et al. Effect of community-based social skills training and Tai-Chi exercise on outcomes in patients with chronic schizophrenia: a randomized, one-year study. Psychopathology. 2016;49:345-55. doi:10.1159/000448195.

เสริมศรี ไชยศร. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านจิตพิสัย [Teaching to develop character traits]. สำหรับนักศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2551.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม [Theory and techniques of behavior modification]. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ