การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • Yokfa Penglia ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2
  • Sukserm Tippunya โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • Kannika Puksorn ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2
  • Wichai Likasitdamrongkul โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • Sanguan Thanee คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาอุบลราชธานี
  • Somjit Luprasong คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชุมชน, การฆ่าตัวตาย, การแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ พัฒนารูปแบบแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อลดอุบัติการณ์การฆ่าตัวตายในประชากรกลุ่มเสี่ยง

          วัสดุและวิธีการ ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ศึกษาในพื้นที่ 8 หมู่บ้านของตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแกนนำครอบครัวกลุ่มเสี่ยง แกนนำชุมชน บุคลากรสาธารณสุข ครูในโรงเรียนประถมศึกษา และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตั้งแต่ธันวาคม พ.ศ. 2557 – มีนาคม พ.ศ. 2559 ประเมินผลด้วยการตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย paired smple t-test และ Wilcoxon sign-rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผล ได้รูปแบบการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วมประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมครอบครัวมีสุข แกนนำสดใส ใส่ใจชุมชน กิจกรรมดูแลด้วยใจ ทุกวัยเป็นสุข และกิจกรรมสุขสร้างได้ในโรงเรียน ประเมินผลหลังการนำไปใช้พบว่าทุกกลุ่มมีความรู้สุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มขึ้น กลุ่มแกนนำครอบครัว กลุ่มเสี่ยง แกนนำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีการร่วมกันจัดทำแผนเฝ้าระวังและป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชนและเกิดเครือข่ายการดูแลส่งต่อผู้ป่วยในชุมชน บุคลากรสาธารณสุขมีทักษะด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเพิ่มขึ้นและมีระบบการดูแลส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ครูสามารถสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายตนเอง ให้การดูแลช่วยเหลือทางจิตใจเบื้องต้นแก่นักเรียนและใช้สื่อการสอนทักษะชีวิตในนักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 หลังดำเนินกิจกรรม 3 และ 6 เดือนไม่พบผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่

          สรุป รูปแบบการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. World Health Organization. Suicide data. [Internet]. Geneva:World Health Organization; 2015. [cited 2015 Feb 20]. Available from: http://www.who.int/mental_health/prevention/suicide/suicideprevent/en/.
2. Turecki G, Brent AD. Suicide and suicidal behavior.The Lancet 2016;387:1227-39. doi: 10.1016/S0140-6736(15)00234-2.
3. Department of Mental Health. Suicide report 2013. [Internet]. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2014. [cited 2016 Feb 15]. Available from: http://www.dmh.go.th/report/suicide. (in Thai)
4. Sriruenthong W, Kongsuk T, Pengchuntr W, Kittirattanapaiboon P, Kenbubbpha K, Yingyeun R, et al. The suicidality in Thai population: a national survey. Journal of Psychiatric Association Thailand 2011;56:413-24. (in Thai)
5. Mental Health Center 9. Annual Report 2014. Nakornsawan:Mental Health Center 9; 2014. (in Thai)
6. Mongkol A, Tunkseree T, Pimsane S, Katesomboon P, Katesomboon N. The epidemiology of suicide attempted and suicide in 2002. Khonkaen: Khonkaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital; 2003. (in Thai)
7. Singhutsatid M, Silakate A, Kumkom S, Nuttarangsee J. The community participation for prevention suicide in the high risk group. Journal of Mental Health Thailand 2007;8:17-25. (in Thai)
8. Nitirat P, Tataku G, Pongsittitawon K, Kadudom P. Participatory action research: building community-based mental health care communities at Baan Khao Daeng, Moo 9, Soi Dao District, Chanthaburi province. [Thesis]. Chanthaburi: Phrapokklao Nursing College Chanthaburi; 2011. (in Thai)
9. Thomanoi R. Development of suicide prevention in both hospitals and communities in Li Distric, Lamphum Province. The 8th Suicide Prevention Conference. 2008 Jul 7-8, 2008; Chiang Rai, Thailand.
10. Pattanavanichanan N, Budsee S, Niljoy J, krajangyal A. eople’s involvement in suicidal prevention: case study of Ngam-Pat-Toop, Wangnoi district, Ayutthaya province. Journal of Nursing 2005;23:67-75. (in Thai)
11. Department of Mental Health. Mental health research and development manual. Nonthaburi: Department of Mental Health; 2012. (in Thai)
12. Hinthou B. The action research and participatory to develop the media to promote health and prevent health problems of the elderly lbun The Sak district, Phetchabun province. [Research Report]. Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University; 2015. (in Thai)
13. Konta K. Community empowerment in the care of stressed people: depression and risk of suicide. [Research Report]. Uthaitane: Banrai Hospital; 2008. (in Thai)
14. Singnang J, Ratchaboot N. Evaluation of suicide prevention project, Department of Mental Health, 2004 [Research Report]. Khonkaen: Khonkaen Rajanagarindra Psychiatric Hospital; 2004. (in Thai)
15. Boonyawongviroj P, Mongkol A, Tangseree T, Huttapanom W, Sriviset S, Kanachai V. The promoting and preventon model for mental health problems in community. Journal of Mental Health Thailand 2006;14:114–23. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-09-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ