ระดับสติปัญานักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
เด็กไทย, ประถมศึกษาปีที่ 1, ระดับสติปัญญาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ ศึกษาค่าเฉลี่ย และการกระจายของระดับสติปัญญาในนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี พ.ศ. 2559
วัสดุและวิธีการ สำรวจระดับสติปัญญาในนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากตัวแทนทุกจังหวัด ทุกสังกัดการศึกษาของประเทศไทยยกเว้นสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มเชิงชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 23,641 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่ พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง มกราคม พ.ศ. 2559 ประเมินระดับสติปัญญาด้วยแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices โดยนักจิตวิทยาคลินิกในจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และประมาณค่าความชุก ค่าสัดส่วนด้วยการถ่วงน้ำหนักให้สอดคล้องกับข้อมูลจำนวนนักเรียนในพื้นที่
ผล นักเรียนไทยประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าระดับสติปัญญาเฉลี่ยเท่ากับ 98.2 เมื่อแยกวิเคราะห์ในรายจังหวัด พบจังหวัดที่ระดับสติปัญญาเฉลี่ยมากกว่า 100 จำนวน 12 จังหวัด (ร้อยละ 15.6) ระดับสติปัญญาเฉลี่ยประมาณ 100 จำนวน 30 จังหวัด (ร้อยละ 39.0) และ ระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่า 100 จำนวน 35 จังหวัด (ร้อยละ 45.4) เมื่อพิจารณาตามการจัดกลุ่มระดับสติปัญญาของ Wechsler นักเรียนมีระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ (IQ < 90) ร้อยละ 31.8 ระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่อง (IQ < 70) ร้อยละ 5.8 ในขณะที่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ฉลาดมาก (IQ ≥ 130) สูงถึงร้อยละ 7.9
สรุป ระดับสติปัญญาเฉลี่ยของนักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยใกล้เคียงกับค่ามาตรฐานสากล (IQ=100) แต่นักเรียนที่มีระดับสติปัญญาเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติพบมากกว่ามาตรฐานสากล
Downloads
References
2. Grohol HM. IQ Test. [cited 2016 July 17]. Available from:https://psychcentral.com/encyclopedia/what-is-an-iq-test/.
3. Lyn R, Vanhanen T. IQ and the wealth of nations. London:Praeger Publishers;2002.
4. Lyn R, Vanhanen T. IQ and global inequality. London:Praeger Publishers;2006.
5. Heiner R. Relevance of education and intelligence at the national level for the economic welfare of people. Intelligence 2008;36:127-142.
6. H afer RW. New estimates on the relationship between IQ, economic growth and welfare. Intelligence 2017;61:92-101.
7. Pollitt E, Hathirut P, Kotchabhakdi NJ, Missell L. Valyasevi A. Iron defi ciency and educational achievement in Thailand. Am J Clin Nutr 1989;50:687-97.
8. Visanuyothin T, Arunruang P. Review Article: Intelligence quotient survey of Thai children in two decades. Journal of Mental Health of Thailand 2012;20:67-78. (in Thai)
9. Mongkol A, Visanuyothin T, Chanarong P, Pavasuthiapaisit C, Watcharadilok P. National intelligence quotient survey of Thai students in 2011. Journal of Mental Health of Thailand 2012;20:79-89. (in Thai)
10. Mongkol A, Visanuyothin T, Chanarong P, Pavasuthiapaisit C, Panyawong W. IQ distribution of Thai students. Journal of Mental Health of Thailand 2012;20:90-102. (in Thai)
11. Offi ce of the National Economic and Social Development Board. The eleventh national economic and social development plan (2012-2016). Bangkok: Office of the Prime Minister; 2012. (in Thai)
12. Jensen AR. How much can we boost IQ and scholastic achievement? Harvard Educational Review 1969;39:1-139.
13. Raven J. Manual for Raven’s progressive matrices and vocabulary scales. Research supplement No. 1: the 1979 British standardization of the standard progressive matrices and mill hill vocabulary scales, together with comparative data from earlier studies in the UK, US, Canada, Germany and Ireland. San Antonio, TX: Harcourt Assessment;1981.
14. Raven J, Raven JC, Court JH. Manual for Raven’s progressive matrices and vocabulary scales. section 3 standard progressive matrices (including the parallel and plus versions). 2000 edition. Oxford: OPP Ltd; 2000.
15. Walker SP, Wachs TD, Gardner JM, Lozoff B, Wasserman GA, Pollitt E, et al. Child development: risk factors for adverse outcomes in developing countries. Lancet 2007;369:145-57.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย