ชีวิตของคนอื่น : ประสบการณ์ชีวิตผู้หญิงม้งที่มีภาวะซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • Panpimol Sukwong คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ม้ง

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาชีวิตของผู้หญิงม้งที่เคยมีประสบการณ์ภาวะซึมเศร้าภายใต้บริบทสังคมวัฒนธรรมชนเผ่าม้งในภาคเหนือของประเทศไทย

          วัสดุและวิธีการ   เป็นการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา  (phenomenology)  ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – ธันวาคม ๒๕๕๙   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการบันทึกภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น จำนวน  31 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผ่านมุมมองเชิงเพศภาวะและวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง

          ผล   พบประเด็นและสาระสำคัญของชีวิตผู้หญิงม้งที่มีสถานภาพหลากหลายภายใต้ความคาดหวังและเงื่อนไขของบริบทสังคมวัฒนธรรมชนเผ่าที่มีความเฉพาะ เข้มแข็ง กำกับวิธีคิดและการปฏิบัติต่อผู้หญิง  “ชีวิตของผู้หญิงม้ง คือ ชีวิตที่เป็นของคนอื่น” ได้สะท้อนถึงบทบาทและภาระที่ผู้หญิงม้งต้องแบกรับในทุกช่วงชีวิตส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตของผู้หญิงโดยเฉพาะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มนี้ ดังนี้ 1) ชีวิตผู้หญิงมีคู่ (คอปู้) 2) ชีวิตแม่หม้าย (ปู้จั่วะ) 3) ชีวิตแม่ร้าง (ปู้จ้าว) 4) ชีวิตลูกสาว (หมีไฉ) และ 5) ชีวิตคนโสด (หลั่วเก้า)

           สรุป    ข้อค้นพบชี้นำว่าจารีตประเพณีดั้งเดิมที่เข้มงวด บทบาทและสถานะที่จำกัดส่งผลทำให้ผู้หญิงม้งเกิดความคับข้องใจและนำสู่ภาวะซึมเศร้า การทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนเผ่าม้งสามารถนำสู่การพัฒนารูปแบบการให้บริการและการช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าที่มีความละเอียดอ่อนเชิงวัฒนธรรมมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Leepreecha P. Kinship and Identity among Hmong in Thailand. [Ph.D.thesis]. Seattle: University of Washington;
2001.
2. Pongsapit A. Culture and Ethnic. Bangkok:Chulalongkorn University; 2004.
3. Sperstad RA, Werner JS. Coming to the cultural inbetween: nursing insights from a Hmong birth case study. J of Obs Gyn and Neonatal Nurs. 2005;34:682-88.
4. Sherly L, Jennifer C, McCluer M. Reproductive in Hmong women in Northern Thailand. J Public Health Nurs 2006;16:110-19.
5. Fang DM, Lee S, Stewart S, Chen MS. Factors associated with pap testing among Hmong women. JHCPU 2010;21:839-50.
6. Pinzon-Perez H. Health issues for the Hmong population in the U.S.: implications for health educators. Int J Health
Educ 2006;9:122-33.
7. Department of Mental Health, Ministry of Public Health. Annual report 2013. Nonthaburi: Department of Mental
Health; 2013.Retrieved from http:// www.dmh.go.th/report/report1.asp [10 March 2016].
8. Sukwong P, Juwa S. Life experiences about Hmong’s mental health care. Phayao: University of Phayao; 2016.
9. Chirawatkul S. Qualitative study in nursing. Bangkok: Witthayaphat; 2012.
10. Oumtanee A. Qualitative research in nursing. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2010.
11. Duffy J, Harmon R, Ranard D, Thao B, & Yang K. The Hmong: An introduction to their history and culture.
Center for Applied Linguistics. 2004. Retrieved from http://www.cal.org/co/hmong/hmong_FIN.pdf. [10 January
2017].
12. Chirawatkul S. Ethnic Traditions: a study of women’s wellbeing in 4 Ethnic groups of Northern Thailand. J
Nurs Sci Health 2011;34:80-91.
13. Lee, G. The religious presentation of social relationships: Hmong world view and social structure. Lao Studies
Review 1994;2:44-60.
14. Chuamsakul S. Education and Hmong culture changes: A study of two Hmong village in Thailand. [Ph.D.thesis].
Canada: Trent University; 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ