ความตรงของ Brief Community Screening Instrument for Dementia (CSI-D) ฉบับภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • Orawan Silpakit โรงพยาบาลศรีธัญญา
  • Paritat Silpakit โรงพยาบาลสวนปรุง
  • Somsri Kittipongpisarn โรงพยาบาลศรีธัญญา
  • Rossukon Chomcheun โรงพยาบาลศรีธัญญา

คำสำคัญ:

ความตรง, แบบคัดกรอง, สมองเสื่อม

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความตรงในระดับคลินิกของ Brief Community  Screening Instrument for Dementia (CSI-D) ฉบับภาษาไทย โดยเปรียบเทียบกับแบบคัดกรองอื่นๆ และแบบประเมินมาตรฐานทางจิตวิทยา เช่น ADAS-COG, Trail Making Test (TM) ในผู้ป่วยสมองเสื่อม

          วัสดุและวิธีการ  แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนแรก แปล CSI-D เป็นภาษาไทย ขั้นตอนที่สองเตรียมแบบประเมินมาตรฐาน การเรียกชื่อภาพ Boston Naming ฉบับภาษาไทย (BT) และบัญชีคำศัพท์ (word list: WL) ขั้นตอนที่สาม ดำเนินการทางคลินิกและทดสอบทางจิตวิทยา ณ โรงพยาบาลสวนปรุงและศรีธัญญา ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ถึง กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบพื้นที่ใต้กราฟ (area under curve: AUC) ด้วย  receiver operating analysis curve และจุดตัดของแบบประเมิน

          ผล   กลุ่มตัวอย่างจำนวน 147 คน จำแนกเป็นกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น ระยะไม่รุนแรง ระยะปานกลางขึ้นไปคือ 54, 33, 37 และ 23 คนตามลำดับ AUC ของ CSI-D ของกลุ่มตัวอย่างมีค่าระหว่าง 0.59-0.83 จุดตัดของคะแนนที่ 7 คะแนนขึ้นไป มีความตรงค่อนข้างต่ำ (ร้อยละความไวและความจำเพาะ 59.6, 68.5) ส่วน ADAS-COG, BT, WL TM มีในรายละเอียด

          สรุป  แบบประเมิน CSI-D มีความตรงในกลุ่มสมองเสื่อมและความแม่นยำใกล้เคียงกับแบบคัดกรองอื่นๆ อย่างไรก็ตามควรพัฒนาแบบคัดกรองให้เหมาะสมกับระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิต่อไป

Downloads

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

How to Cite

1.
Silpakit O, Silpakit P, Kittipongpisarn S, Chomcheun R. ความตรงของ Brief Community Screening Instrument for Dementia (CSI-D) ฉบับภาษาไทย. J Ment Health Thai [อินเทอร์เน็ต]. 31 มกราคม 2017 [อ้างถึง 14 เมษายน 2025];25(1):32-46. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmht/article/view/129516

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ