ระบาดวิทยาสุขภาพจิตคนไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙

ผู้แต่ง

  • Nattakorn Jampathong โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
  • Nopporn Tantirangsee โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • Worawan Chutha สำนักบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

เข้าถึงบริการ, ความชุก, ชายแดนใต้, โรคจิตเวช, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต และการเข้ารับบริการทางจิตเวชในพื้นที่ชายแดนใต้

                วัสดุและวิธีการ  กลุ่มตัวอย่างคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ จังหวัดสงขลา 4 อำเภอ ได้แก่ จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย และเทพา สุ่มตัวอย่างแบบชั้น เครื่องมือ คือWorld Mental Health - Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0) เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมาณสัดส่วนโดยการคำนวณค่าถ่วงน้ำหนัก (weighted proportion estimates) ประมาณการค่าความชุกเป็นร้อยละ และ standard error (SE)

                 ผล   กลุ่มตัวอย่าง 1,716 คน คิดเป็นอัตราการตอบรับร้อยละ 88.5 เป็นเพศชายร้อยละ 48.6 อายุเฉลี่ย 46.4 ปี (SD=16.8) นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 78.8 พบความชุกชั่วชีวิตของโรคจิตเวชหรือปัญหาสุขภาพจิตใด ๆ เท่ากับร้อยละ 9.6 พบสูงที่สุดในกลุ่มความผิดปกติของพฤติกรรมเสพสารใด ๆ ร้อยละ 7.1 โดยผู้ที่มีภาวะติดบุหรี่สูงสุดที่ร้อยละ 5.2 ในขณะที่ความชุกของโรคจิตเวชหรือปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 12 เดือนเท่ากับร้อยละ 3.4 การเข้ารับบริการสำหรับผู้ที่มีโรคจิตเวชหรือปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเท่ากับร้อยละ 18.7 โดยมีการใช้การบำบัดทางเลือกร่วมด้วยร้อยละ 18.1 และเข้ารับบริการกับบุคลากรในระบบสุขภาพร้อยละ 8.3

                 สรุป     ความชุกของโรคทางจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตต่ำกว่าการศึกษาระดับชาติในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งความชุกชั่วชีวิตและความชุกในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา การเข้ารับบริการในระบบสุขภาพน้อย จำเป็นที่จะต้องมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตในระบบสุขภาพให้มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ