ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ประทีป กาลเขว้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชนาภา จันสุระ นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัลวิกา สระทองบ้อง นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เบญญาภา กาลเขว้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 122 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ค่าแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.78 และ เท่ากับ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ
สเปียร์แมน

ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.44, S.D. = 0.47) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง (x̄ = 3.32, S.D. = 0.58) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.500 ; p-value < 0.001)

ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรทางสาธารณสุขและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมสุขภาพ ควรจัดอบรมให้ความรู้หรือให้สุขศึกษาแก้ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมอย่างต่อเนื่องและมีการส่งเสริมการปฏิบัติตัวและพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับผู้สูงอายุและสอดแทรกนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสมองที่ดีขึ้น ต่อไป

References

วิมลรัตน์ บุญเสถียร, อรทัย เหรียญทิพยะสกุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:สถานการณ์และ ผลกระทบต่อสุขภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2563; 2(1): 1-19.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. นครปฐม: พริ้นเทอรี่ จำกัด; 2560.

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในตำบล บางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2562.

ฤดีรัตน์ วัฒนวงศ์. โรคหลอดเลือดสมองภัยเงียบที่ทุกคนควรรู้จัก [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phyathai.com/article_detail/2697/th/

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สมองเสื่อมมีสาเหตุมาจาก โรคอัลไซเมอร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 29 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/?p=259757

ส้มป่อย แสนเตปิน, จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารแพทย์นาวี. 2562; 46(3): 621-39.

ศิริรัตน์ รัชนี. การศึกษาผลกระทบของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน. 2562; วารสารสุขภาพผู้สูงอายุ. 8(2), 57-65.

สุภาวดี จันทร์ศรี. การศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารสุขภาพจิต. 2561; 25(1): 33-41.

วิชระ เพ็งจันทร์, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้าน สุขภาพ. สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน; 2560.

คุณัสปกรณ์ มัคคัปผลานนท์, วรพนิต ศุกระแพทย์, จิราภรณ์ เพียรประสิทธิ์, ปุณฑรี พิกุลณี, ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโรงเรียนผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2563; 31(2): 127-141.

Pender NJ. Health Promotion in Nursing Practice. 3rd ed. Connecticut: Appleton and Lange; 1987.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. India. New Delhi: Prentice Hall, Inc.; 1978.

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จิริยา อินทนา, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, เพ็ญจมาศ คำธนะ, นงณภัทร รุ่งเนย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัด ราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562; 6(ฉบับพิเศษ): 129-14.

ยุทธการ ประพากรณ์, โรจนี จินตนาวัฒน์, และเดชา ทำดี. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกะเหรี่ยง. พยาบาลสาร. 2562; 48(1): 67-79. 16. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008; 67(12): 2072-8.

ภุชงค์ อินทร์ชัย, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, สมชาย ดุรงค์เดช, ปุณยนุช สนธิโพธิ์, จุฑารัตน์ บรรดิจ, ชนาภัทร เอี่ยมสะอาด. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารกรมการแพทย์.2561; 43(4): 100-4.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. 2562. รามาธิบดีพยาบาลสาร; 25(3): 280-95.

Zhang Y, Li X, Liu, Q. The role of health literacy in improving health-promoting behaviors among elderly with chronic illness. International Journal of Public Health. 2018; 45(3): 205-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

กาลเขว้า ป., จันสุระ ช., สระทองบ้อง ว., & กาลเขว้า เ. (2024). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 7(2), 81–90. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273985