ผลของการนวดออกซิโตซินต่อปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • สุมาลี จุลพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลพิจิตร
  • สิริยาภรณ์ เจนสาริกา อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • จันทิมา นวะมะวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

Oxytocin massage program, Stimulate milk flow, Postnatal care

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดออกซิโตซินต่อปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด รูปแบบการวิจัย (Quasi experimental with control group design) และวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest and posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องในแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลพิจิตร ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 34 คน บันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูล
ทางสูติศาสตร์ ข้อมูลทารกและแบบประเมินความเครียดของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ เปรียบเทียบปริมาณน้ำนมตามระยะเวลาหลังคลอด ความพอเพียงของปริมาณน้ำนมเทียบกับน้ำหนักทารกหลังคลอด จำนวนปัสสาวะและจำนวนอุจจาระของทารกหลังคลอด ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณน้ำนมในระยะ 2-3 ชม.แรกไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมใน ระยะ 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงหลังคลอด ของมารดากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 00.000 และ 00.000 ขณะที่น้ำหนักของทารกหลังคลอดใน 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมง ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบความพอเพียงของน้ำนมกับจำนวนปัสสาวะในระยะ 24 ชั่วโมง.และ 48 ชั่วโมง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.002 และ 00.001 จำนวนอุจจาระใน 24 ชั่วโมงแรก และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.021 และ 00.000 จะเห็นได้ว่าการนวดออกซิโตซินมีผลให้มีการหลั่งน้ำนมเร็วและมีปริมาณเพิ่มขึ้น ควรเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นได้นำไปใช้ และเป็นทางเลือกของมารดาหลังคลอดในการกระตุ้นการหลั่งและเพิ่มปริมาณน้ำนม

References

World Health Organization. Breastfeeding [Internet]. 2019. [cited 2022 Jan 20]. Available from: http:// www.who.int/topics/breastfeeding/en

UNICEF. Infant and young child feeding [Internet]. [cited 2022 Jan20]. Available from: https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.

Hauck YL, Fenwick J, Dhaliwal SS, Butt J, Schmied V. The association between women's perceptions of professional support and problems experienced on breastfeeding cessation: a Western Australian study. J Hum Lact. 2011; 27(1): 49-57.

Philippa PG. No Breast Milk After Delivery [Internet]. 2021. Available from: https://breastfeeding.support/no-breast-milk-after-delivery/

Kharisma M, Sulastri S. The effectiveness of oxytocin massage on breast milk production: A literature review. MINH. 2024; 7(2): 214-23.

Triansyah A, Stang, Indar, Indarty A, Tahir M, Sabir M, et al. The effect of oxytocin massage and breast care on the increased production of breast milk of breastfeeding mothers in the working area of the public health center of Lawanga of Poso District. Gac Sanit. 2021; 2: S168-S170.

Niu W, Xu X, Zhang H, Zhang Y, Ni S, Liu T, et al. Breastfeeding improves dynamic reorganization of functional connectivity in preterm infants: a temporal brain network study. Med Biol Eng Comput. 2020; 58(11): 2805-819.

วนิดา ทองแท้, เกศกัญญา ไชยวงศา, พุทธิดา จันทร์สว่าง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อส่งเสริมการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่าง แดนดิน. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2567; 7(1): 64-75.

ชุติมาพร ไตรนภากุล, มณฑา ไชยะวัฒน, วิวัฒน คณาวิฑูรย์, รัชกร เทียมเท่าเกิด, สุวรรณี นาคะ, วิมล มิตรนิโยดม และคณะ. ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวด-ประคบ เต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2553; 3(3): 75-91.

Lydia H, Stephanie PB. Loss of Blood = Loss of Breast Milk? The Effect of Postpartum Hemorrhage on Breastfeeding Success. JOGNN. 2013; 42(1): S100.

โภชนาการแรกของชีวิต. กระบวนการเกิดน้ำนมแม่ ที่มาของรักแท้จากแม่สู่ลูก [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2567] เข้าถึงได้จาก: https://eln.theasianparent.com/how-breast-milk- is-produced/2/

Ike AY, Neneng SL, Via MA, Anggraini. Oxytocin Massage Effects Increasing Breast Milk Production in Postpartum Mothers. JKM. 2022; 8(2): 371-77.

Eka MS, Juli SY. The Effectiveness of Massage Rolling (back) on Increasing Breast Production in Postpartum Mothers. Journal of Midwifery and Nursing. 2021; 3(1): 34-37.

Siti Farida, Etik Sulistyorini, Radettya Bella Retnaning Pangestu. Oxytocin Massage Increase Milk Production During Breastfeeding. ICOHETECH. 2021; 2: 80-82.

Resmana R. and Hadianti D. Oxytocin Massage Can Expedite the Time of Colostrum Discharge in the Post Section Caesarian. Open Journal of Nursing. 2019; 9(7): 757-64.

ภาวิน พัวพรพงษ์, คมกฤช เอี่ยมจิรกุล, ศิรินุช ชมโท, อรพร ดำรงวงศ์ศิริ. เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2021.

Valentine GC, Umoren RA, Perez KM. Early inadequate or excessive weight loss: A potential contributor to mortality in premature newborns in resource-scarce settings? Pediatr Neonatol. 2021; 62(3): 237-39.

Gallardo López M, Gallardo Cadenasso E, Gallardo Cadenasso L. Weight decrease in full-term newborns in the first 48 hours post natal. Rev Chil Pediatr. 2018; 89(3): 325-31.

Joshi R, John BM, Negi V. Pattern of Weight Loss in Breastfed Neonates in Initial 72 h of Life. Journal of Clinical Neonatology. 2017; 6(2): 85-9.

Murray D. Breastfeeding Schedule for Your Newborn [Internet]. 2020. [cite 2024 Jul 24] Available from: https://www.verywellfamily.com/how-often-should-you-breastfeed-your-baby-431620

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

จุลพันธ์ ส., เจนสาริกา ส., & นวะมะวัฒน์ จ. (2024). ผลของการนวดออกซิโตซินต่อปริมาณการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 7(2), 117–130. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/273253