ผลกระทบและแนวทางการลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พฤติกรรมเกษตรกร, ผลกระทบ, แนวทางการลดผลกระทบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและแนวทางการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและลดผลกระทบทางด้านสุขภาพในเกษตรกร ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มเกษตรกร จำนวน 14 คน กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 12 คน และ กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานอื่น จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis)
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกษตรกรยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเนื่องจากต้องการความสะดวกสบาย ต้องการประสบความสำเร็จในระยะเวลาที่รวดเร็ว อีกทั้งประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในครัวเรือน ส่วนผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ เป็นด้านเดียวที่ให้ผลในเชิงบวก คือ ทำให้เกษตรกรมีผลประโยชน์โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลกระทบทางด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ให้ผลในเชิงลบ นอกจากนี้เกษตรกรก็ยังขาดความตระหนักรู้และยังปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง แรงจูงใจหลักที่จะทำให้เกษตรกรมีการลดใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้หลักๆ คือ ผลกระทบทางด้านสุขภาพทั้งที่เกิดกับตัวเกษตรกรเองและกับบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้แนวทางการลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรมีการสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การผลักดันนโยบายและแผนงานที่จริงจัง ชัดเจน และเป็นแนวทางเดียวกันทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายในการร่วมกันจัดการปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
References
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร. รายงานสรุปการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttps://www.doa.go.th/ard/?page_id=386
กลุ่มสารสนเทศการเกษตร, สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี. สรุปข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี; 2563.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. เตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipbs.or.th/news/content/285654
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่. สภาพและข้อมูลพื้นฐาน [อินเตอร์เน็ต]. อุดรธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565]
เข้าถึงได้จาก: https://www.talee-ud.go.th/?p=3551
ชานุวัฒน์ เสธา. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
ยลดา เข็มศรีรัตน์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาขาม ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร [งานวิจัย R2R]. สกลนคร: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองสกลนคร; 2562.
วธัญณ์ชนก จงสมัคร, ชัยธัช จันทร์สมุด, ธันวา ใจเที่ยง. ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่เทศบาลตำบลลำพันชาด อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(1):262–267.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. ISBN (E-Book): 978-616-11-4491-3 [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th
จุฑามาศ ไทยใจดี, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. กระบวนการพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของเกษตรกรเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.
จริยา ฮ่อบุตร, มุกดา โบบทอง. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับโคลีนเอสเตอเรสของพนักงานฝ่ายสวน ในบริษัทปาล์มน้ำมัน จ.กระบี่. วารสารกระบี่เวชสาร. 2561;1(1):23–34.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2560.
วันปิติ ธรรมศรี. ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 2563; 39(4): 329-336.
จันทร์เพ็ญ วรรณารักษ์, วัชรี เพ็ชรวงษ์, ปฏิพล หอมยามเย็น, พิมพ์พรรณ อําพันธ์ทอง. รูปแบบแรงจูงใจในการลดการใช้สารเคมีในนาแห้วของเกษตรกรในอําเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 2564; 7(1): 221–232.
พันทิพย์ อินทฤทธิ์. ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการใช้สารชีวภาพของเกษตรกรในตำบลกกแรต อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว