รูปแบบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสูงอายุ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พรภัทรา แสนเหลา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สุวารี ทวนวิเศษกุล อาจารย์, ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ศรีงามลักษณ์ ศรีปวริศร อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, รูปแบบ, ปัจจัย, คุณภาพชีวิตของสูงอายุ

บทคัดย่อ

รูปแบบงานวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง อายุ 60 ปี ขั้นไป ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 720 คน เครื่องมือวิจัย 1) แบบสอบคุณภาพชีวิตของ องค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 2) แบบสัมภาษณ์ เกี่ยวกับรูปแบบและการดำเนินงาน ผู้ดูแล โรงเรียนผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติ Pearson chi-square ผลการวิจัยพบว่า อาชีพและผู้ดูแลหลักมีความสัมพันธ์กับระดับกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) รายได้ การอยู่อาศัย โรคประจำตัว ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ADL index) และการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ส่วนเพศ อายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับระดับกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในทุกด้าน แต่มีการดำเนินงาน 2 ตำบล ซึ่ง 1 ตำบล เป็นการดำเนินการระยะเริ่มต้น การเบิกจ่ายงบประมาณยังไม่ชัดเจน ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ส่วนบทบาทหน้าที่ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุและครอบครัว

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการนโยบายส่งเสริมด้านสัมพันธภาพทางสังคมและทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการสนับสนุนการทำงานของผู้ดูแล มีโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจนและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. นโยบายของกรมกิจการผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/main/law_list.php?id=33

อาริสา ป้านภูมิ, ศรัญยา สุขนิรันดร, สาธิกา จันทะพินิจ, อินทุอร นิลบรรพต, กีรติ ภูมิผักแว่น. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบ้านตูบโกบ ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 1 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชน”. 20 เมษายน 2562. ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุภาภรณ์ ตันตินันทตระกูล, จิรกุล ครบสอน, นงลักษณ์ วิชัยรัม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชนบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยา เชิงพุทธ. 2562; 7(11): 352-73.

จุฑามาศ วงนทร์, สุวรรณา วุฒิรณฤทธ์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6 ราชาวดีสาร. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2565; 12(1): 32-49.

กิตติวงศ์ สาสวด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย. 2560; 11(2): 20-38.

วาสนา หลวงพิทักษ์, จิตติมา ดวงแก้ว. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2562; 20(38): 67-81.

สนธยา สวัสดิ์. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนบ้านร้องเม็ง ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1334

พวงนรินทร์ คำปุก. ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย [การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2557; หน้า 139-50.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1580199450-276_0.docx

พวงชมนาถ จริยะจินดา. บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุตามหลักอิทธิบาท 4 บทบาทของผู้ดูแลผู้สูงอายุตามหลักอิทธิบาท 4. วารสารวิชาการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 2561; 1(2): 18-28.

พาวุฒิ เมฆวิชัย, สุรินทร์ แซ่ตัง. ผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556; 58(1): 101-10.

สุดาสินี สุทธิฤทธิ์, อรณัส ยวงทอง, วราภา จันทร์เอียด, สุวรรณี นิยมจิตร์, ณิชชยาภรณ์ บัวแสง, ศิรันยา รอดเจริญ. ความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2564; 35(2): 1-12.

สุมณฑา มั่งมี, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ ระหว่างความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล ความพร้อมในการดูแล และความสามารถในการคาดการณ์การดูแลกับความเครียดจากกิจกรรมการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารสภาการพยาบาล. 2564; 36(3): 151-64.

สุพิตรา เศลวัตนะกุล. เมื่อฉันต้องเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย (Caregiver). ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 2557; 4(1): 44-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

แสนเหลา พ., ทวนวิเศษกุล ส., หอยรัตน์ ป., & ศรีปวริศร ศ. (2024). รูปแบบและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสูงอายุ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 7(2), 91–102. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/article/view/271736