ทัศนคติ การรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาลของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้ว ในจังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
ทัศนคติต่อการมีบุตรเชิงบวก, การตัดสินใจมีบุตรในอนาคต, สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้วบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ การรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาลของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรสแล้ว ในจังหวัดบึงกาฬกลุ่มตัวอย่างจำนวน 298 คน ที่่ถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ ตอบแบบสอบถามมีโครงสร้างที่ได้รับ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านและทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาช (Cronbach’s alpha) เทากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA นำเสนอด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.81 ต้องการมีบุตรในอนาคต มีอายุเฉลี่ย 37 ปี (S.D.=8.24) อายุสูงสุด 49 ปี อายุต่ำสุด 20 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. คิดเป็นร้อยละ 36.91 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 59.06 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 18,158 บาท สูงสุด 90,000 บาท ต่ำสุด 5,000 บาท รายจ่ายเฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน 14,531 บาท สูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 4,000 บาท ระดับการรับรู้นโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาล พบว่าอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 34.32 ส่วนใหญ่มีการเข้าถึงบริการด้านการดูแลเด็ก/สถานดูแลเด็ก ในระดับมากร้อยละ 71.81 มีระดับทัศนคติต่อการมีบุตรอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.91
ข้อเสนอแนะ ควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการโยบายและการสนับสนุนการมีบุตรจากรัฐบาล เช่น สิทธิในการลดหย่อนภาษี สิทธิในการให้สินเชื่อซื้อหรือซ่อมแซมบ้าน เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้มากขึ้น
References
World Health Organization. The global health observatory, explore a world of health data [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2022 [cited 2024 May 16]. Available from: https://www.who.int/
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติอัตราเกิด อัตราตาย และอัตราเพิ่มของประชากร พ.ศ. 2558-2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานลักษณะของประชากร การสำรวจการเปลี่ยนแปลง ของประชากร พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2559.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร พ.ศ. 2549-2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติการเกิดจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2555-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ระดับจังหวัด. บึงกาฬ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ; 2566.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานโครงสร้างประชากรและพีระมิดประชากรจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานสถานการณ์ประชากรและโครงสร้างสังคม พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2564.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิจัยประชากรและสุขภาพ. รายงานการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีบุตรในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิจัยประชากรและสุขภาพ; 2564.
กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2569. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานสถานการณ์อัตราการเกิดและมาตรการสนับสนุนการมีบุตร ในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2564.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการดำเนินงานโครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2564.
กนกวรา พวงประยงค์. แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในการศึกษาด้านภาวะเจริญพันธุ์และความต้องการมีบุตรในยุคเกิดน้อย: สารัตถะและบทสังเคราะห์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2562; 45(1): 77-118.
จุฬาวรรณ สุขอนันต์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์สุธรรม, สุธรรม นันทมงคลชัย, ศุภชัย ปิติกุลตัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ มีบุตรของสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่สมรส จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขศึกษา. 2563; 43(2): 66-77.
Bowley A. Allocation of samples: the proportional method. In: Sampling theory and its application. New York: John Wiley & Sons; 1960. p. 75-85.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, Inc.; 1977.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย; 2566.
Moeeni M, Rashidian A, Aghajanian A. Women’s relative status and childbearing intentions: empirical evidence from Iran. PLOS ONE. 2018; 13. doi:10.1371/journal.pone.0195428.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว