การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย
คำสำคัญ:
เด็กปฐมวัย, การส่งเสริมสุขภาพเด็ก, สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 518 คน ประกอบด้วย บุคลากรสาธารณสุข ครู และผู้ปกครอง ดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการแก้ไขปัญหา 2) การสร้างรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 3) การทดลองใช้และ 4) ประเมินรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Paired sample t-test
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) การแปลงปัจจัยนำเข้า 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม ผลการพัฒนาภายหลังการใช้รูปแบบฯ พบว่าครูกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพเด็กมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยด้านพัฒนาการเด็กและมีภาวะโภชนาการมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมจัดรายการอาหาร (School lunch program) และมีการบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Kid diary program) เพิ่มขึ้นเป็นระดับดีมากทุกแห่ง และมีการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนการประเมินเพิ่มขึ้นทุกแห่ง โดยภาพรวมผลการประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (x ̅=4.33, S.D.=0.36) เพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ควรส่งเสริมให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีการจัดการสภาพแวดล้อม เพื่อความปลอดภัย รวมถึงมีการใช้โปรแกรมบันทึกข้อมูลเพื่อช่วยประเมินพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการ ควบคู่กับการพัฒนา ครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง อันจะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัยและภาวะโภชนาการได้ดียิ่งขึ้น
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่; 2566.
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบาย การพัฒนาเด็กปฐมวัย สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา; 2563.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประทศไทย. คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยอนุบาล 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2562.
กรมอนามัย. แนวทางการพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ “ด้านสุขภาพช่องปาก” ภายใต้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักทันตสาธารณสุข; 2565.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการดำเนินงานด้านส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
รัตนะ บัวสนธิ์. วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Bardo JW, Hartman JJ. Urban Sociology: A Systematic Introduction. New York: F.E. Peacock Publishers; 1982.
ธิราภรณ์ มากมี, นงลักษณ์ ใจฉลาด. การศึกษาปัญหาการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย. วารสารครุพิบูล. 2563; 7(2): 284-94.
ชลันพร สังข์สิงห์, ญาณิศา บุญจิตร์, บรรจง เจริญสุข. การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี [สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี; 2563.
อัมพร สัจจวีรวรรณ, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทโมลี. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาสงสัยล่าช้า จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 2566; 7(5): 274-93.
พจนา โพธิ์จันดี, ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพชุมชน: ด้านการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กในพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2565; 15(1): 11-28.
วัชรินทร์ แสงสัมฤทธิ์ผล, ทับทิม ศรีวิไล, ปทุมรัตน์ สามารถ, ธวัชชัย ทองบ่อ, เศวต เซี่ยงลี่, กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา. การพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียนไทย : บริบทครัวเรือนและสถานพัฒนา เด็กปฐมวัย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2566; 46(2): 53-68.
นิยะดา บุญอภัย, ธฤฏวัน อุเทศ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า โรงพยาบาลสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20221104154717_1052505020.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว