คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
คุณลักษณะส่วนบุคคล, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ คำนวณขนาดตัวอย่างได้ 113 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากประชากร 668 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.5 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.95 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงอนุมาน โดยการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ และภาพรวมระดับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.72 (S.D.=0.25) และ 2.71 (S.D.=0.22) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.788, p-value <0.001) และ พบว่าตัวแปรอิสระ ทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการลงมือปฏิบัติในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม และด้านความเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีการจัดแผนงานสนับสนุน ด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ สามารถร่วมกันในการพยากรณ์และมีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ได้ร้อยละ 67.9 (R2=0.679, p-value <0.001)
ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดการสนับสนุนและการประสานงานระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อส่งเสริมการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้ชุมชนร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
References
World Health Organization. Comprehensive guidelines for prevention and control of dengue and dengue haemorrhagic fever. Geneva: WHO; 2018.
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและ โรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายในปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/65-situation-49.pdf
โรงพยาบาลพนมดงรัก เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. สุรินทร์: โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา; 2565.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม. การเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรค นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ลักษณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวาอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 22(2): 189-200.
Schermerhorn JR, Richard N, Osborn RN, Uhl-Bien M, Hunt JG. Organizational behavior. 12th ed. New York: John Wiley & Sons; 2011.
ภคอร โจทย์กิ่ง, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24(2): 29-37.
ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิ ชากร, เกษม เวชสุทธานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
สมหมาย คำพิชิต, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการคำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2556; 6(1): 21-29.
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว