ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ธนเดช ธรรมแก้ว นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุพัฒน์ อาสนะ อาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปรัชญ์ อินทรศักดิ์สิทธิ์ อาจารย์ ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การถ่ายโอน, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย (อบจ.) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดเลย สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ 148 คน กลุ่มตัวอย่าง เชิงคุณภาพ 16 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยแบบสอบถามได้ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูลทั่วไปและการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัด อบจ. ประกอบไปด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด สถิติเชิงอนุมานใช้ สถิติพหุถดถอยพหุโลจิสติกในการประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอน นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR ที่ช่วงเชื่อมั่น 95%CI

ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ตัดสินใจถ่ายโอน ร้อยละ 25.68 (95% CI 19.21 to 33.40) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจถ่ายโอนไปปฏิบัติงานในสังกัด อบจ. ได้แก่ การจูงใจด้านการยอมรับนับถือ ในระดับสูง (AOR = 2.82 ; 95% CI 1.12 to 7.15 p-value =0.029) เมื่อเทียบกับการจูงใจด้านการยอมรับนับถือในระดับต่ำ และการจูงใจด้านความเจริญก้าวหน้าในอนาคตระดับสูง (AOR = 3.58 ; 95% CI 1.42 to 9.05 p-value = 0.007) เมื่อเทียบกับการจูงใจด้านความเจริญก้าวหน้าในอนาคตระดับต่ำ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ด้านการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้ อปท. ยังมีน้อยและไม่ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขต้องมีการสนับสนุนให้ขวัญกำลังใจบุคลากรอย่างเต็มที่ และ อบจ. ต้องวางระบบการบริหารจัดการกฎหมายและระเบียบให้ชัดเจน ร่วมกับหน่วยงานด้านการควบคุมมาตรฐานบริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ ข้อเสนอแนะ อบจ. ควรเสริมสร้างแรงจูงใจด้านการยอมรับนับถือและด้านความเจริญก้าวหน้า ด้านตำแหน่งหน้าที่ในอนาคตให้ชัดเจน

References

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี; 2565.

สำนักงานจังหวัด. อบจ.เลย รับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 31 แห่ง เข้าสังกัด. จังหวัดเลย; 2566.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ถ่ายโอน รพ.สต. ให้ อบจ. จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ “กระจายอำนาจด้านสุขภาพ” สู่ประโยชน์สูงสุดเพื่อประชาชน [Internet]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงจาก: https://wwwold.hsri.or.th/media/news/detail/13981

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998; 17(14):1 623-34.

นะชาวีร์ สมหวังพรเจริญ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการตัดสินใจถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 2565; 35(2): 33-50.

เอนก สุเตนันต์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับราชการในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาพนักงานส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ]. มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

วุฒิไกร แสนสีลา, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, สุพัฒน์ อาสนะ. การรับรู้และความคาดหวังของบุคลากรสาธารณสุขต่อความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เขตสุขภาพที่ 8. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 2566; 36(1): 67-84.

วราภรณ์ ผ่องอ่วย, ปาณิสรา นาเลิศ, โชติ บดีรัฐ. ช่องว่างและอุปสรรคในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2565; 2(4): 205-20.

ตุลยวดี หล่อตระ. ความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขต่อการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 2563; 12(1): 64-72.

ดุจเดือน ตั้งเสถียร, ศศิพร โลจายะ. ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2562; 3(6): 21-33.

พิชญาภา จันทร์วุฒิวงศ์. สาเหตุและแนวโน้มการโอนย้ายของข้าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษากลุ่มงานพิธีการ ส่วนบริหารกลาง สำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2562.

เฉลิมเกียรติ พลอยพานิชเจริญ. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการโอนย้ายของพนักงาน ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี. [ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี; 2556.

กรรณิการ์ เกตทอง. สาเหตุและแนวโน้มการลาออก/โอนย้ายของข้าราชการในหน่วยงานวิชาการกรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.). [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิตบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ) สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะรัฐศาสตร์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

พรนิภา ศรีวรมาศ. การตัดสินใจลาออก โอนย้ายของข้าราชการ ศึกษาเฉพาะข้าราชการ (ส่วนกลาง) กรมการค้าภายใน. สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

บุญมี แก้วจันทร์. การพัฒนารูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. เชียงรายเวชสาร. 2565; 14(1): 119-35.

เริงชาติ ศรีขจรวงศ์. ความพร้อมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับภารกิจรับถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 2565; 2(3): 315-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-12-2024