อุบัติการณ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และแนวทางการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเภสัชกร โรงพยาบาลบางละมุง

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา สวัสดิ์พานิช โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, วัคซีนโควิด-19, แนวทางการเฝ้าระวัง AEFI

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) ในผู้ป่วยที่มารับการฉีดวัคซีน ณ จุดฉีดวัคซีน โรงพยาบาลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยและแนวทางการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยทำการเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโปรแกรม Hos-xp ที่บันทึกข้อมูล AEFI จำนวน 1,453 ราย และเก็บข้อมูลจากการสรุปแนวทางในการดำเนินงานในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในช่วงการให้บริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยทำการศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน 2566 ถึง เดือน ธันวาคม 2566 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ เชิงพรรณนาและใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square และ Multivariate logistic regression และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการทบทวนแนวทางการดำเนินงานและการสังเกตจากการปฏิบัติงานในหน้างาน

ผลการวิจัย พบว่า อุบัติการณ์ AEFI-Covid-19 ร้อยละ 45.40 โดยเป็นแบบไม่รุนแรง ร้อยละ 97.28 ประวัติการมีโรคประจำตัวเกิดอาการไม่พึงประสงค์ฯเป็น 0.14 เท่าเมื่อเทียบกับการไม่มีโรคประจำตัว (Adjusted OR=014, 95%Cl: 0.09-0.24) ประวัติการป่วยเป็นโควิด-19 เกิดอาการไม่พึงประสงค์เป็น 0.18 เท่าตัวเมื่อเทียบกับการไม่เคยเป็นโรคโควิด-19 (Adjusted OR=0.18, 95%Cl: 0.089-0.44) และลำดับเข็มของวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และ 2 เกิดอาการไม่พึงประสงค์เป็น 2.11 เท่าเมื่อเทียบกับลำดับเข็มที่ 3 (Adjusted OR=2.11, 95%Cl: 1.26-3.53) ส่วนอายุของผู้รับบริการ เพศ ประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีน และชนิดของวัคซีนที่ได้รับ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิด AEFI-Covid-19 แนวทางเฝ้าระวังการเกิด AEFI มีการดำเนินงานเชิงรุกและเชิงรับ โดยเภสัชกรจะมีการวางระบบในการประเมินและค้นหาการเกิด AEFI ร่วมกับ การดำเนินงานกับสหวิชาชีพ สรุปได้ว่า การดำเนินงานเฝ้าระวังการเกิด AEFI โดยเภสัชกร ควรมีการเฝ้าระวังการเกิด AEFI โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาหรือวัคซีน ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคโควิด-19 ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนในเข็มต่าง ๆ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 [อินเทอร์เน็ต].

นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8750

องค์การอนามัยโลก. แดชบอร์ดข้อมูลการติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.who.int/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine- covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและตอบโต้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=11449

พิมผกา อินทวงศ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่หน่วยบริการโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565; 2(1): 28-40.

Md M, Sultan M, Ashraf UM, Prottay H, Abdul M, Md Taif A, et al. Side effects of Covid-19 vaccines and perceptions about Covid-19 and its vaccines in Bangladesh : A cross-sectional study. ELSEVIER 2022; 12: 1-12.

Yousif A M H, Mohammad DA, Rawan RA, Fatimah AA, Zainab EA, Ayaz A, et al. A retrospective evaluation of side-effects associated with the booster dose of Pfizer-BioNtech/BNT62b2 Covid-19 vaccine among females in Eastern Province, Saudi Arabia. ELSEVIER. 2022; 40: 7087-7096.

Subhashini G, Latifa Mohammad Baynouna AK, Nawal AK, Mohammed AM, Noura Nasser AM, Mariam Saif AS, et al. Vaccine side effects following Covid-19 vaccination among the residents of the UAE-an observational study. Journal of Frontiers in Public Health. 2022; 10: 1-9.

สุภาพร จิรมหาศาล. ผลการติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด 19 (AEFI) ของผู้มารับบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย

อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2565; 7(2): 11-21.

Haya O, Angam N, Sayer AA, Nada T, Amer AH, Neebal AG, et al. Reported Covid-19 vaccines side effects among Jordanian population: a cross sectional study. Journal of Human Vaccines & Immunotherapeutics. 2022; 18: 1-8.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติสำหรับอาการไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรค กรณีมีปฏิกิริยาที่สัมพันธ์กับความเครียดจากการฉีดวัคซีนกลุ่มอาการคล้ายภาวะหลอดเลือดสมอง. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/14/1628584558328.pdf

Cristina M, Kerstin K, Anna M, Lorenzo P, Joan C, Panayiotis L, et al. Vaccine side-effects and SARS-CoV-2 infection after vaccination in users of the Covid symptom study app in the UK: a prospective observational study. Journal of Lancet Infect Dis. 2021; 21: 939-949.

Centers for Disease Control and Prevention of USA. Reactions and adverse events of the Pfizer-BioNTech Covid-19 vaccine [Internet]. 2020 [cited 2023 Feb 1]. Available from: https://www.cdc.gov/vaccines/covid-19/info-by-product/pfizer/reactogenicity.html

Voysey M, Clemens S, Madhi S, Weckx L, Folegatti P, Aley P, et al. Safety and efficacy of the ChAdOx1 nCoV-19 vaccine (AZD1222X against SARS-CoV-2: an interim analysis of four randomized controlled trials in Brazil, South Africa, and the UK. Journal of Lancet. 2021; 397(10269): 99-111.

Sepehr S, Emad M, Kimia G. Common side effects of Covid-19 vaccine used in Iran: A review. Journal of Ann Mil Health Sci Res. 2021; 19: 1-8.

Hai Z, Yongtuan L, Zhiyuan W. Adverse event fo Sinovac coronavirus vaccine: Deafness. Journal of ELSEVIER. 2022; 40: 521-523.

Balsam QS, Rula AS, Shaikha SA, Zainab MA, Ahmed OA. Side effects and perceptions following Sinopharm Covid-19 vaccination. Journal of International of Infection Diseases. 2021; 111: 219-226.

Qutaiba A, Waseem H, Tagreed H, Kawthar F, Yazan B, Abdullah T, et al. Safety of Covid-19 vaccine. Journal of Medical Virology. 2021; 93: 6588-6594.

Abdallah DA, Sireen SS, Raya RA, Ni meh AS, Hani AN, Abdullah R. Side effect of Pfizer/BioNtech (BNT162b2) Covid-19 vaccine reported by the Birzeit university community. Journal of BMC Infectious Diseases. 2023; 23(5): 1-15.

Manisha K, Kumari AK, Alka RN, Santosh KS, Anit K. Factors associated with development of adverse events after taking Covid-19 vaccine in a tribal state of India : regression analysis. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2022; 11(10): 6260-6267.

Alexis LB, Noah DP, Xochitl EB, Jenifer MC, Feng LJ, Jeffrey E, et al. Analysis of Covid-19 vaccine type and adverse effect following vaccination. Journal of JAMA Network Open. 2021; 4(12): 1-13.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://apps- doe.moph.go.th/boe/software/file/Guideline_AEFI_COVID19vaccine_DOE_17062021.pdf

ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนายา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เภสัชกรและการบริหารจัดการระบบริการสุขภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidrugwatch.org/download/series/series48.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-05-2024