ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟน และกลุ่ม NSAIDs ของกลุ่มวัยทำงาน ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ปัญญาพล มุ่งดี นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชนก
  • เจตนิพิฐ สมมาตย์ อาจารย์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชนก

คำสำคัญ:

วัยทำงาน, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟนและกลุ่ม NSAIDs ของกลุ่มวัยทำงาน ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยทำงานที่มีอาชีพเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 277 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนเมษายน 2566 โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเชิงพหุ

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.43 อายุเฉลี่ย 51.47±13.81 ปี พฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟนและกลุ่ม NSAIDs ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 75.81 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟนและกลุ่ม NSAIDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำการใช้ยาบรรเทาอาการปวด โดยกลุ่มที่มีการรับรู้ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติตัวจากคำแนะนำการใช้ยาบรรเทาอาการปวดระดับดี จะมีพฤติกรรมในการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟนและกลุ่ม NSAIDs ดีกว่า กลุ่มที่มีการรับรู้ในระดับปานกลางและระดับไม่ดี (ORadj=10.99, 95% CI=5.73-21.08) และปัจจัยเสริมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวด โดยกลุ่มที่มีปัจจัยเสริมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาบรรเทาอาการปวดระดับสูง จะมีพฤติกรรมในการใช้ยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอะเซตามีโนเฟนและกลุ่ม NSAIDs ดีกว่า กลุ่มที่มีปัจจัยเสริมในระดับปานกลางและระดับต่ำ (ORadj=3.18,95% CI=1.52-6.64)

References

บุปผา ศิริรัศมี. พฤติกรรมสุขภาพในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

วรัมพร ดอกเคน. การใช้ยาแก้ปวด ของประชาชนจากชุมชนจันทึก ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560; 5(3): 475-486.

พิสนธิ์ จงตระกูล. การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลใน Primary Care. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์; 2560. 163-72.

ชัยรัตน์ ฉายากุล, สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ, พาขวัญ ปุณณุปูรต, ผุสดี ปุจฉาการ, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, วินัย วนานุกูล และคณะ. การสร้างเสริมชุมชนเครือข่ายในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานข้อมูลการใช้ยาของสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2564.

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. รายงานข้อมูลประชากรที่อาศัยอยู่จริงสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์; 2565.

อัครเดช เลาหุไรกุล. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดเมื่อยของประชาชน ในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2561; 1(1): 1-11.

Green LW, Kreuter MW. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York: McGraw Hill; 2005.

ประนอม สังขวรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงในตำบลนาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

อณิษฐา ม่วงไหมทอง. การศึกษาปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของวัยแรงงานในอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2024