ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงในอำเภอเมืองสงขลา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยง, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิด โรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในอำเภอเมืองสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 201 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไค-สแควร์
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงระดับปานกลาง ร้อยละ 47.26 รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงระดับสูง ร้อยละ 27.86 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ โรคประจำตัว ประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ส่วนเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ อาชีพและความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
ดังนั้น ควรเน้นการสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัวอื่นๆร่วมด้วย และผู้ที่มีครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองได้
References
World Health Organization (WHO). World Stroke Day 2022 [Internet]. Ganeva: World Health Organization (WHO); 2022 [cited 2023 April 15]. Available from: https://www.who.int/srilanka/news/detail/29-10-2022-world-stroke-day-2022
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2566] เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/Content/50430
ณฐกร นิลเนตร. ปัจจัยเสี่ยงและ การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(2): 51-57.
นิตยา พันธุเวทย์ และลินดา จำปาแก้ว. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี พ.ศ. 2557 (ปีงบประมาณ 2558). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 เม.ย. 2566] เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุรรณเวลา, วราณี สัมฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในเขต อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(2): 94-107.
สุทัสสา ทิจะยัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกนโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.
ชูชาติ กลิ่นสาคร, สุ่ยถิน แซ่ตัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ อำเภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภา การสาธารณสุขชุมชน. 2563; 2(2): 62-77.
ปรารถนา วัชรานุรักษ์ และอัจฉรา กลับกลาย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือด จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(1): 217-33.
ปวีณา วงษ์ชะอุ่ม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนิสิตภาคปกติ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2565;17(3): 36-44.
นพดล คำภิโล. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2566] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 เม.ย. 2566] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=3092c3c3250ae67155f7e134680c4152
Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. (2nd ed). New York: Academic Press; 1977.
ปุญญาพัฒน์ ไชยเมล์. วิธีการวิจัย ทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา จำกัด; 2562.
Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1986.
Best JW. Research in education. New Jersey: Prentice-Hall; 1981.
สายสุนี เจริญศิลป์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
นัชชา ยันติ, ฉัตรประภา ศิริรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 2561; 11(2): 23-32.
วิไลพร พุทธวงศ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2557; 44(1): 30-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว