ความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางกายกับความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
กิจกรรมทางกาย, ความรุนแรง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนักของกิจกรรมทางกายก่อนการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019 กับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อาชีพ ระดับการศึกษา โรคประจำตัวและการได้รับวัคซีนป้องกันโรค กับความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรประมาณค่าสัดส่วนหรือค่าเฉลี่ยโดยใช้โปรแกรม G*power ด้วยวิธีการการสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic random sampling) ได้จำนวน 186 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ ทะเบียนประวัติการรักษาของผู้ป่วยและแบบสอบถาม มีค่าความตรงของเนื้อหา (Content validity) เท่ากับ 0.67-1 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคร์สแควร์ (Chi-square test)
ผลการวิจัย พบว่า ระดับความหนักของกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) และปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อาชีพและระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05)
ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ในการมีกิจกรรมทางกายให้แก่ประชาชนเพื่อช่วย ลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้อีกด้วย
References
รังสรรค์ โฉมยา, กรรณิกา พันธ์ศรี. ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2563; 39(6): 71-82.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. โคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19): องค์ความรู้ด้านงานวิจัยไวรัสวิทยา การศึกษาข้อมูลด้านการตรวจวินิจฉัย การรักษาและการพัฒนาวัคซีน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5350
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
WHO. World Health Organization: Coronavirus Disease (Covid-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-answers-hub/coronavirus-disease-covid-19
Ahn DG, Shin HJ, Kim MH, Lee S, Kim HS, Myoung J, et al. Current status of epidemiology, diagnosis, therapeutics, and vaccines for novel coronavirus disease 2019 (COVID-19). Journal of Microbiology and Biotechnology. 2020; 30(3): 313-24.
Centers for Disease Control and Prevention. Coronavirus (CoVid-19). Atlanta, Georgia. [Internet]. 2020 [Cited 2021 Aug 12]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/index.html
สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดศรีสะเกษ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ssko.moph.go.th/av/
Tavakol Z, Ghannadi S, Tabesh MR, Halabchi F, Noormohammadpour P, Akbarpour S, et al. Relationship between physical activity, healthy lifestyle and COVID-19 disease severity; a cross-sectional study. Z Gesundh Wiss = J public health. 2023; 31(2): 267-75.
Reiner M, Niermann C, Jekauc, D, Woll A. Long-term health benefits of physical activity - a systematic review of longitudinal studies. BMC Public Health. 2013; 13(813): 1-9.
DESA. UN. World Population Prospects: The 2010 Revision, Highlights and Advance Tables: Working Paper No ES/P/WP. 220. New York: United Nations. Department of Economic and Social Affairs. Population Division; 2011.
Grande AJ, Keogh J, Silva V, Scott AM. Exercise versus no exercise for the occurrence, severity, and duration of acute respiratory infections. Cochrane Database Syst Rev. 2020; 4(4): CD010596.
National Institutes of Health. Clinical Spectrum of SARS-CoV-2 Infection [Internet]. 2021 [Cited 2021 Aug 18]. Available from: https://www.covid19treatmentguidelines.nih.gov/overview/clinical-spectrum/
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-91.
ปวีณ์ภัสร เศรษฐสิริโชติ. ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
Sallis R, Young DR, Tartof SY, Sallis JF, Sall J, Li Q. et al. Physical inactivity is associated with a higher risk for severe COVID-19 outcomes: a study in 48 440 adult patients. British journal of sports medicine. 2024; 55(19): 1099-1105.
ปวีณ์ภัสร เศรษฐสิริโชติ. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่วง การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและ การสาธารณสุขชุมชน. 2565; 5(1): 102-15.
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPACK). ข้อมูลการสำรวจโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทยปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://tpak.or.th
ธนสรณ์ ศรีใช้ประวัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2566; 19(1): 47-60.
ชมพูนุช อินทศรี, ภัคจิรา สาระวงษ์, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, ดวงใจ เอี่ยมจ้อย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในชุมชนบ้านคลองบางนา ตำบลศีรษะ จระเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 2560; 3(1): 43-51.
คมเลนส์ สุนทร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาล ห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2560; 38(1): 21-31.
พิชญามณฑ์ วรรณโก, อรุณรัตน์ สู่หนองบัว. ความสัมพันธ์ของวัคซีน โควิด-19 และความรุนแรงของการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี 2564-2565. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(3): 1057-69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว